การวิเคราะห์การใช้เฟซบุ๊กของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

Main Article Content

วงศกร ชัยรัตนะถาวร
แววตา เตชาทวีวรรณ
สมชาย วรัญญานุไกร

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเนื้อหาที่นำเสนอ รูปแบบการนำเสนอ ลักษณะการใช้เฟซบุ๊ก การตอบสนองของสมาชิกเฟซบุ๊ก นโยบายและกลยุทธ์การใช้เฟซบุ๊กของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย เพื่อเปรียบเทียบการตอบสนองของสมาชิกเฟซบุ๊กจำแนกตามตัวแปรเนื้อหาที่นำเสนอและรูปแบบการนำเสนอ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะการใช้เฟซบุ๊กกับการตอบสนองของสมาชิกเฟซบุ๊ก กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาที่ใช้เฟซบุ๊กอย่างเป็นทางการ จำนวน 80 แห่ง และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ผู้รับผิดชอบเฟซบุ๊กห้องสมุดที่มีการตอบสนองสูงสุด จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ F-test และสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1) เนื้อหาที่นำเสนอบนเฟซบุ๊กมากที่สุด คือ ข่าวสารและกิจกรรมห้องสมุด รูปแบบการนำเสนอที่ใช้มากที่สุด คือ ข้อความและรูปภาพ และสมาชิกตอบสนองด้วยการกดไลค์มากที่สุด 2) ลักษณะการใช้เฟซบุ๊กของห้องสมุดส่วนใหญ่ คือ ระยะเวลาที่ใช้เฟซบุ๊กอยู่ระหว่าง 2-3 ปี มีจำนวนสมาชิกเฟซบุ๊กน้อยกว่า 1,000 คน มีการใช้แท็บพื้นฐานเพียงอย่างเดียว และมีความถี่ในการโพสต์น้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์3) เนื้อหาที่นำเสนอบนเฟซบุ๊กที่แตกต่างกัน ทำให้การตอบสนองของสมาชิกแตกต่างกัน ส่วนรูปแบบการนำเสนอบนเฟซบุ๊กของห้องสมุดที่แตกต่างกัน ทำให้การตอบสนองของสมาชิกไม่แตกต่างกัน 4) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะการใช้เฟซบุ๊กของห้องสมุดกับการตอบสนองของสมาชิก พบว่า จำนวนสมาชิกและความถี่ในการโพสต์มีความสัมพันธ์กับการตอบสนองของสมาชิกในทางบวก 5) นโยบายการใช้เฟซบุ๊กของห้องสมุด พบว่า ห้องสมุดไม่มีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการใช้เฟซบุ๊กโดยตรง แต่แฝงอยู่ในนโยบายการประชาสัมพันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มช่องทางสื่อสารกับผู้ใช้ห้องสมุดและประชาสัมพันธ์กิจกรรมและข่าวสารห้องสมุด ส่วนกลยุทธ์การใช้เฟซบุ๊ก พบว่า ห้องสมุดมีกลยุทธ์ในการเลือกใช้ภาพประจำเพจและภาพปก การคัดเลือกเนื้อหาที่นำเสนอ การสร้างแท็บเฟซบุ๊กขึ้นมาใหม่เพื่อเพิ่มช่องทางบริการห้องสมุด การใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางรับความคิดเห็นจากสมาชิกเฟซบุ๊ก และมีการประเมินการใช้  เฟซบุ๊กจากสถิติของเฟซบุ๊กและเว็บไซต์วิเคราะห์สถิติ ปัญหาและอุปสรรคในการใช้เฟซบุ๊ก ได้แก่ การขาดทักษะคอมพิวเตอร์และทักษะการประชาสัมพันธ์ของผู้รับผิดชอบเฟซบุ๊ก การขาดการบริหารจัดการที่ดี และการขาดการประชาสัมพันธ์เฟซบุ๊กของห้องสมุด Abstract The purposes of this research are to study the content, presentation style, facebook use characteristic, facebook users’ response, and library policy and strategy of employing facebook in Thailand, to compare the facebook users’ response by content and presentation style, and to study the relationship between characteristic of facebook use and facebook users’ response.  The sampling group of quantitative research is 80 academic libraries in Thailand which use official facebook sites and the sampling group of qualitative research is 13 academic librarians as facebook page administrator.  The research was conducted through a data record form and a semi-structured interview form.  The data was tested for percentage, mean, standard deviation, F-test and Pearson product-moment correlation coefficient.  The research findings were as follow: 1) The most content posted on facebook was “Library news and activities”, the most presentation style posted on facebook was “Text and photo”, and the most facebook users’ response was “Like”. 2) The characteristic of facebook use revealed that most academic libraries have used facebook for 2 to 3 years, have less than 1,000 facebook members, have used only default tab on facebook, and have less than 1 post per week. 3) The varieties of content posted on facebook had different response from facebook users.  Besides, the varieties of presentation style posted on facebook had no different to facebook users’ response. 4) The relationship between characteristic of facebook use and users’ response found that the number of facebook members and frequency of facebook posts were positive correlation to the users’ response. 5) The library policy of employing facebook revealed that most academic libraries do not have a facebook policy and all of academic libraries but conceal in public relations policy as a mean of increasing communication channel and publicizing library news and activities. The strategy of libraries employing facebook revealed that most academic libraries have strategies for profile and cover pictures, selection of contents, custom tab creation for the additional library services, providing channels for users’ opinion sharing, and evaluation facebook use from facebook page insights and other analytical websites.  In terms of problems, it was found that library facebook page administrators lacked computer and public relations skills, academic libraries managed facebook page inefficiently, and lacked publicizing their facebook page.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ชัยรัตนะถาวร ว., เตชาทวีวรรณ แ., & วรัญญานุไกร ส. (2014). การวิเคราะห์การใช้เฟซบุ๊กของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. บรรณศาสตร์ มศว, 7(1), 65–81. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jlis/article/view/4420
Section
Research Articles

Most read articles by the same author(s)

1 2 3 > >>