การพัฒนากระบวนการตัดสินใจเลือกแผนการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) โดยใช้กิจกรรมแนะแนว

Main Article Content

สมคิด กอมณี

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยเรื่อง การพัฒนากระบวนการตัดสินใจเลือกแผนการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) โดยใช้กิจกรรมแนะแนว มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษากระบวนการตัดสินใจเลือกแผนการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 3 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมแนะแนว เพื่อพัฒนากระบวนตัดสินใจเลือกแผนการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) และ3) เพื่อประเมินผลการใช้กิจกรรมแนะแนว เพื่อพัฒนากระบวนการตัดสินใจเลือกแผนการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประชากรที่ใช้ในการศึกษากระบวนการตัดสินใจเลือกแผนการเรียนเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) จำนวน 289 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการทดลองเป็นนักเรียนที่ได้มาจากนักเรียนที่เป็นกลุ่มประชากร จำนวน 24 คน ที่มีคะแนนกระบวนการตัดสินใจเลือกแผนการเรียนตั้งแต่เปอร์เช็นไทล์ที่ 50 ลงมา และสมัครใจเข้าร่วมการทดลอง แล้วสุ่มอย่างง่ายเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 12 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับการใช้กิจกรรมแนะแนวกับกลุ่มทดลอง ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการใช้กิจกรรมแนะแนว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบวัดกระบวนการตัดสินใจเลือกแผนการเรียนมีค่าความเชื่อมั่น (liability) เท่ากับ .89 และ2) กิจกรรมแนะแนว มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .66-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Wilcoxon Matched Pairs Signed Ranks Test และMann -Whitney U Test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ค่าเฉลี่ยกระบวนการตัดสินใจเลือกแผนการเรียนโดยรวมและรายด้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) จำนวน 289 คน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย และกระบวนการตัดสินใจเลือกแผนการเรียนรายด้าน ประกอบด้วย 5 ขั้น คือ 1) ระบุปัญหาในการตัดสินใจ 2) รวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ 3) รู้จักทางเลือกที่มีอยู่ 4) พิจารณาข้อดี และข้อเสียของแต่ละทางเลือก และ 5) ตัดสินใจจะเลือกทางเลือกที่เหมาะสม 2) กิจกรรมแนะแนวที่ใช้ในการพัฒนากระบวนการตัดสินใจเลือกแผนการเรียนพัฒนาเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนานักเรียนในการเลือกแผนการเรียน ประกอบด้วย กิจกรรมที่เกี่ยวกับ1) การรู้จักและเข้าใจตนเอง 2) การทำความเข้าใจข้อมูลของแต่ละคณะวิชา 3) การประเมินตนเอง 4) การทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพ และ 5)กระบวนการตัดสินใจในการเลือกแผนการเรียน โดยมีขั้นตอนในการพัฒนา 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเริ่มต้น ขั้นดำเนินกิจกรรม ขั้นสรุป และประเมินผล 3) กระบวนการตัดสินใจเลือกแผนการเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองโดยรวมและรายด้าน ระหว่างหลังการทดลอง-ก่อนการทดลอง ระหว่างหลังการติดตามผล-ก่อนการทดลอง และระหว่างหลังการติดตามผลและหลังการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ.01 โดยมีค่าเฉลี่ยของกระบวนการตัดสินใจเลือกแผนการเรียนโดยรวมหลังการทดลองและหลังการติดตามผลเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง 4) ก่อนการทดลองกระบวนการตัดสินใจเลือกแผนการเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน ส่วนกระบวนการตัดสินใจเลือกแผนการเรียนโดยรวมและรายด้านของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ระหว่างหลังการทดลองและระหว่างหลังการติดตามผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 โดยค่าเฉลี่ยของกระบวนการตัดสินใจเลือกแผนการเรียน หลังการทดลองและหลังการติดตามผล สูงกว่ากระบวนการตัดสินใจเลือกแผนการเรียนของนักเรียนกลุ่มควบคุม 5) ผลการสนทนากลุ่มเฉพาะ พบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมแนะแนว เพื่อพัฒนากระบวนการตัดสินใจเลือกแผนการเรียน เนื่องจากนักเรียนมีโอกาสได้แสดงความคิด ความรู้สึกได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรม ได้รับความรู้และประสบการณ์จากการเรียนรู้ตลอดจนได้รับการฝึกปฏิบัติกระบวนการตัดสินใจเลือกแผนการเรียน คำสำคัญ : กิจกรรมแนะแนว, กระบวนการตัดสินใจเลือกแผนการเรียน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
กอมณี ส. (2017). การพัฒนากระบวนการตัดสินใจเลือกแผนการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) โดยใช้กิจกรรมแนะแนว. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 18(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/9865
Section
บทความวิจัย (Research Articles)