การประเมินหลักสูตรเพื่อการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

Main Article Content

รุจิรา คงนุ้ย
เอกชัย เนาวนิช
กัญญลักษณ์ ทรัพย์กระจ่าง

Abstract

บทคัดย่อ การประเมินหลักสูตร : เพื่อการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร 4 ด้าน คือ ด้านบริบทของหลักสูตร ด้านปัจจัยนำเข้าของหลักสูตร ด้านกระบวนการของหลักสูตร และด้านผลผลิตของหลักสูตร โดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร จำนวน278 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง จำแนกเป็นกลุ่มนักศึกษาปัจจุบันในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์  จำนวน 216 คน กลุ่มบัณฑิตที่สําเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2558 ตามหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554 จํานวน 31 คน  กลุ่มอาจารย์ผู้เกี่ยวข้องกับหลักสูตร จํานวน 24 คน และกลุ่มสถานประกอบการหรือผู้ใช้บัณฑิต จํานวน 7 องค์กร  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับนักศึกษาปัจจุบันที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์  2) แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับบัณฑิตที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร 3) แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับกลุ่มอาจารย์ผู้เกี่ยวข้องกับหลักสูตร และ 4) แบบสอบถามสำหรับผู้ใช้บัณฑิต  ซึ่งแบบสอบถามทุกฉบับตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างรายการคำถามกับวัตถุประสงค์การประเมินหลักสูตร เท่ากับ 0.88,  0.91, 0.93 และ 0.96 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การประเมินความต้องการจำเป็นและการทดสอบค่าทีผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านบริบทของหลักสูตร ซึ่งเกี่ยวข้องกับโครงสร้างของหลักสูตรและเนื้อหาสาระของหลักสูตร มีความเหมาะสมระดับมาก (  = 3.79  SD = .59) 2. ด้านปัจจัยนำเข้าของหลักสูตร ซึ่งเกี่ยวข้องกับอาจารย์ผู้สอนมีความเหมาะสมระดับมาก (  = 4.06  SD = .59)  ปัจจัยสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ มีความเหมาะสมระดับมาก (  = 3.67 SD = .76) 3. ด้านกระบวนการของหลักสูตร ซึ่งเกี่ยวข้องกับด้านวิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอนมีความเหมาะสมระดับมาก (  = 3.82  SD = .55) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน มีความเหมาะสมระดับมาก (  = 3.83   SD = .55) 4. ด้านผลผลิตของหลักสูตร ซึ่งเกี่ยวข้องกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐาน คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติมีความเหมาะสมระดับมาก (  = 3.88           SD = .58) คำสำคัญ : การประเมินหลักสูตร,บริบทของหลักสูตร,ปัจจัยนำเข้าของหลักสูตร,กระบวนการของหลักสูตร, ผลผลิตของหลักสูตร   ABSTRACT The curriculum evaluation for curriculum development a bachelor of science program in computer science (revised in 2011), Faculty of Science and Techmology, Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi aimed to evaluate a bachelor of science program in computer science (revised in 2011) in 4 aspects such as the contexts of curriculum, the input factors of curriculum, the processes of curriculum and the products of curriculum. The sample comprised of 278 subjects who associated with the curriculum included 216 undergraduates in the bachelor of science program in computer science, 31 graduates, 24 instructors who involved  the curriculum and 7 employers of graduates. The instruments were 1) the questionnaire for undergraduates 2) the questionnaire for graduates 3) the questionnaire for instructors who involved the curriculum and 4) the questionnaire for employers. Content validities of all instruments were verified by 5 experts and the index of item objective congruence (IOC) were equal to 0.88, 0.91, 0.93 and 0.96, respectively. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, needs assessment and t-test. The results of the research were as follows: 1. The contexts of curriculum which concerned the content of curriculum was appropriate  at  high level (  = 3.79  SD = .59). 2. The input factors concerning the instructors was appropriate  at high level (  =4.06 SD= .59) and the learning resources was mostly at highly satisfied (  = 3.67  SD = .76).  3. The process of curriculum aspect concerning the process of instructions was appropriate in high level (  = 3.82  SD = .55)  and the evaluation precesses was appropriate in high level (  = 3.83 SD= .55). 4. The product of curriculum  concerning the graduates by the National Qualifications. Framework for Higher Education was appropriate at a high level (  = 3.88 SD = .58) . Keywords : Evaluation Curriculum, Contexts of Curriculum ,Input Factors of Curriculum, Process of Curriculum,Product of Curriculum

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
คงนุ้ย ร., เนาวนิช เ., & ทรัพย์กระจ่าง ก. (2017). การประเมินหลักสูตรเพื่อการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/9162
Section
บทความวิจัย (Research Articles)