การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับการคิดอภิมานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1
Main Article Content
Abstract
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และค่าน้ำหนักความสำคัญที่ส่งผลของตัวแปรปัจจัยได้แก่ การควบคุมตนเอง ความเชื่ออำนาจภายในตน สมรรถภาพทางสมองด้านภาษา และด้านเหตุผล การรับรู้ความคาดหวังของผู้ปกครองด้านการศึกษา และการจัดการเรียน การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กับการคิดอภิมานในภาพรวมและในรายด้านได้แก่ การตระหนักรู้ การวางแผน ยุทธวิธีทางความคิด และการตรวจสอบตนเอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วยแบบสอบถามการคิดอภิมาน การควบคุมตนเอง ความเชื่ออำนาจภายในตน การรับรู้ความคาดหวังของผู้ปกครองด้านการศึกษา การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แบบทดสอบสมรรถภาพทางสมองด้านภาษา และแบบทดสอบสมรรถภาพทางสมองด้านเหตุผล โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95, 0.88, 0.87, 0.82, 0.85, 0.91 และ 0.86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการถดถอยพหุคูณแบบตัวแปรพหุนาม (MMR) และ ตัวแปรเอกนาม (MR)
ผลการศึกษาพบว่าตัวแปรปัจจัย กับการคิดอภิมานในภาพรวม มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .696 และทุกตัวแปรปัจจัยส่งผลทางบวกต่อการคิดอภิมานในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาการคิดอภิมานในรายด้าน พบว่า ตัวแปรปัจจัยมีความสัมพันธ์กับการคิดอภิมานทั้ง 4 ด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ( Λ =.468) โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างตัวแปรปัจจัยกับการคิดอภิมานในด้านการตระหนักรู้ การวางแผนยุทธวิธีทางความคิด และการตรวจสอบตนเอง มีค่าเท่ากับ .538, .573, .652 และ .573 ตามลำดับ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าน้ำหนักความสำคัญของตัวแปรปัจจัยที่ส่งผลต่อการคิดอภิมานในรายด้าน พบว่า ด้านการตระหนักรู้ ตัวแปรปัจจัยที่ส่งผล ได้แก่ สมรรถภาพทางสมองด้านภาษา สมรรถภาพทางสมองด้านเหตุผล การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และ ความเชื่ออำนาจภายในตน ด้าน การวางแผน ตัวแปรปัจจัยที่ส่งผลได้แก่ สมรรถภาพทางสมองด้านภาษา การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสมรรถภาพทางสมองด้านเหตุผล การควบคุมตนเอง และความเชื่ออำนาจภายในตน ด้านยุทธวิธีทางความคิด ตัวแปรปัจจัยที่ส่งผล ได้แก่ สมรรถภาพทางสมองด้านภาษา การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สมรรถภาพทางสมองด้านเหตุผล และการรับรู้ความคาดหวังของผู้ปกครองด้านการศึกษาและด้านการตรวจสอบตนเอง ตัวแปรปัจจัยที่ส่งผล ได้แก่สมรรถภาพทางสมองด้านภาษา การควบคุมตนเอง สมรรถภาพทางสมองด้านเหตุผล ความเชื่ออำนาจภายในตน การรับรู้ความคาดหวังของผู้ปกครองด้านการศึกษา และการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ผลการศึกษาพบว่าตัวแปรปัจจัย กับการคิดอภิมานในภาพรวม มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .696 และทุกตัวแปรปัจจัยส่งผลทางบวกต่อการคิดอภิมานในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาการคิดอภิมานในรายด้าน พบว่า ตัวแปรปัจจัยมีความสัมพันธ์กับการคิดอภิมานทั้ง 4 ด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ( Λ =.468) โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างตัวแปรปัจจัยกับการคิดอภิมานในด้านการตระหนักรู้ การวางแผนยุทธวิธีทางความคิด และการตรวจสอบตนเอง มีค่าเท่ากับ .538, .573, .652 และ .573 ตามลำดับ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าน้ำหนักความสำคัญของตัวแปรปัจจัยที่ส่งผลต่อการคิดอภิมานในรายด้าน พบว่า ด้านการตระหนักรู้ ตัวแปรปัจจัยที่ส่งผล ได้แก่ สมรรถภาพทางสมองด้านภาษา สมรรถภาพทางสมองด้านเหตุผล การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และ ความเชื่ออำนาจภายในตน ด้าน การวางแผน ตัวแปรปัจจัยที่ส่งผลได้แก่ สมรรถภาพทางสมองด้านภาษา การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสมรรถภาพทางสมองด้านเหตุผล การควบคุมตนเอง และความเชื่ออำนาจภายในตน ด้านยุทธวิธีทางความคิด ตัวแปรปัจจัยที่ส่งผล ได้แก่ สมรรถภาพทางสมองด้านภาษา การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สมรรถภาพทางสมองด้านเหตุผล และการรับรู้ความคาดหวังของผู้ปกครองด้านการศึกษาและด้านการตรวจสอบตนเอง ตัวแปรปัจจัยที่ส่งผล ได้แก่สมรรถภาพทางสมองด้านภาษา การควบคุมตนเอง สมรรถภาพทางสมองด้านเหตุผล ความเชื่ออำนาจภายในตน การรับรู้ความคาดหวังของผู้ปกครองด้านการศึกษา และการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
ทองดอนอ่ำ ว., ศรีไพโรจน์ น., & ภิญโญอนันตพงษ์ ด. บ. (2009). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับการคิดอภิมานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 9(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/814
Section
บทความวิจัย (Research Articles)