ผลลัพธ์การปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร : ศึกษาเปรียบเทียบการบริหารรัฐกิจแบบเดิมกับ

Main Article Content

พงศธร ชั้นไพศาลศิลป์
รองศาสตราจารย์ ดร.วรพิทย์ มีมาก
อาจารย์ชีวินทร์ ฉายาชวลิต

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบการ
ให้บริการของกรุงเทพมหานครเพื่อตอบสนองความต้องการของ
ประชาชนภายใต้การบริหารราชการแบบเดิมกับการให้บริการ
ของกรุงเทพมหานครเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน
ในปัจจุบันที่มีการนำ New Public Management มาใช้ปฏิรูป
ระบบการบริหารราชการของกรุงเทพมหานครแล้ว
กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ภายใน
พื้นที่ของกรุงเทพมหานครและมีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป จำนวน
400 คน ได้มาจากการสุ่มแบบชั้นภูมิสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ใน
การศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
ข้อมูลคือ t-Test, one way ANOVA และ Chi-squareผลการศึกษา พบว่า
1. ปัจจัยส่วนบุคคลส่วนใหญ่ ได้แก่ เพศ, อายุ,
รายได้ และบริการที่ใช้ไม่มีผลต่อทัศนคติของประชาชนที่มี
ต่อการพัฒนาการบริหารงานของกรุงเทพมหานคร ส่วน
ระดับการศึกษา และสถานที่ที่ใช้บริการมีผลต่อทัศนคติของ
ประชาชนที่มีต่อการพัฒนาการบริหารงานของกรุงเทพมหานคร
2. ผลลัพธ์การพัฒนาการบริหารงานของ
กรุงเทพมหานคร ในด้านการพัฒนาองค์กร สูงที่สุด
รองลงมา คือ ด้านคุณภาพการให้บริการ และในด้าน
ประสิทธิผลตามพันธกิจ ต่ำที่สุด
3. ข้อมูลทุติยภูมิ พบว่า
ประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ และการ
พัฒนาองค์กรของกรุงเทพมหานครมีแนวโน้มลดลง ส่วน
ประสิทธิผลตามพันธกิจ และคุณภาพการให้บริการของ
กรุงเทพมหานครมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
4. การเปรียบเทียบข้อมูลที่เก็บจากแบบสอบถาม
กับข้อมูลทุติยภูมิ
ประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ และการ
พัฒนาองค์กร นั้นไม่สามารถจะสรุปได้ว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลง
ส่วนประสิทธิผลตามพันธกิจ และคุณภาพการให้บริการนั้น
สามารถจะสรุปได้ว่าเพิ่มขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ชั้นไพศาลศิลป์ พ., มีมาก ร. ด., & ฉายาชวลิต อ. (2009). ผลลัพธ์การปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร : ศึกษาเปรียบเทียบการบริหารรัฐกิจแบบเดิมกับ. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 8(3). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/463
Section
บทความวิจัย (Research Articles)