การเสริมสร้างการตระหนักรู้ทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยกิจกรรมแนะแนว THE ENHANCEMENT OF SOCIAL AWARENESS OF GRADE 6 STUDENTS THROUGH GUIDANCE ACTIVITIES

Main Article Content

จิดาพัฒน์ เลิศอริยกฤตย์
สกล วรเจริญศรี
ครรชิต แสนอุบล

Abstract

การวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย (1) เพื่อศึกษาการตระหนักรู้ทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) เพื่อเปรียบเทียบการตระหนักรู้ทางสังคมของนักเรียนกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนว และ (3) เพื่อเปรียบเทียบการตระหนักรู้ทางสังคมระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกิจกรรมแนะแนว และนักเรียนกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดการตระหนักรู้ทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษา มีค่าความเชื่อมั่น .98 และกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการตระหนักรู้ทางสังคม ประกอบด้วยเทคนิคเชิงสร้างสรรค์ บทบาทสมมติ การใช้สถานการณ์จำลอง เกม และเทคนิคตัวแบบ โดยผ่านการพิจารณาคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกันและเป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีระดับการตระหนักรู้ทางสังคมโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง (2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการตระหนักรู้ทางสังคม มีระดับการตระหนักรู้ทางสังคมสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวมีระดับการตระหนักรู้ทางสังคมสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
เลิศอริยกฤตย์ จ., วรเจริญศรี ส. ., & แสนอุบล ค. (2024). การเสริมสร้างการตระหนักรู้ทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยกิจกรรมแนะแนว: THE ENHANCEMENT OF SOCIAL AWARENESS OF GRADE 6 STUDENTS THROUGH GUIDANCE ACTIVITIES. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 25(2), 20–34. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/16179
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

จินตนา ณ สงขลา. (2537). จิตวิทยาการแนะแนวเด็กประถม. กรุงเทพฯ : ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว วิทยาลัยครูพระนคร.

จิราภรณ์ ตั้งกิตติภาภรณ์. (2557). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

เจษฎา บุญมาโฮม. (2558). หลักการแนะแนวและการพัฒนาผู้เรียน: นครปฐม : สไมล์ พริ้นติ้ง & กราฟิ ดีไซน์.

ดวงกมลชนก ตั้งวิฑูรย์. (2559). ผลของการใช้โปรแกรมพัฒนาความเห็นอกเห็นใจ โดยใช้บทบาทสมมติของเด็กปฐมวัย. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ทิศนา แขมมณี. (2560). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 13, [ฉบับพิมพ์ซ้ำ].). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. (2563). คู่มือสำหรับพ่อแม่เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก ตอนวัยเด็กวัยเรียน 6-12 ปี. สืบค้นจาก https://www.brainten10.com/blogs/article/item/117-brain.

ปุรินทร์ นิติธรรมานุสรณ์. (2562) การพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติก โดยการใช้เกมกระดานร่วมกับการชี้แนะ.(ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

วัฒนพงศ์ ล้วนเส้ง. (2564). การเสริมสร้างการเสริมสร้างชุดความคิดแบบเติบโตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโดยใช้กิจกรรมแนะแนว. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2540). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สกล วรเจริญศรี. (2558). การแนะแนวเพื่อการพัฒนาคุณค่าแห่งตน = Guidance for self – esteem development: จากแนวคิด ทฤษฎีสู่การปฏิบัติเพื่อการพัฒนาผู้เรียน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ส. วรเจริญศรี.

สกล วรเจริญศรี. (2560). เทคนิคเชิงสร้างสรรค์และกิจกรรมสำหรับการให้คำปรึกษาวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: โปรเท็กซ์.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2559). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 12, (ฉบับปรับปรุงแก้ไข) ed.): กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัชรา เอิบสุขสิริ. (2561). จิตวิทยาสำหรับครู. (พิมพ์ครั้งที่ 4, [ฉบับพิมพ์ซ้ำ]. ed.): กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Banat, S., Al-Taj, H., Alshoubaki, N., & Younes, W. (2020). The effectiveness of a group counseling program in enhancing the ability to form friendship among academically talented students. Journal for the Education of Gifted Young Scientists, 8(2), 701–710. https://doi.org/10.17478/jegys.679131

Causton J. and MacLeod K. (2024). The Paraprofessional’s Handbook for Effective Support in Inclusive Classrooms. Paul H. Brookes Publishing Co., Inc.

Charles, G. Morris, & Albert, A. Maisto. (2005). Psychology an introduction. Texas, US: Pearson College Div.

Clikeman, S.M., (1995). Child and Adolescent Therapy. Allyn & Bacon Collaborative for Academic Social and Emotional Learning. (2018). Social awareness. Retrieved from https://casel.org/fundamentals-of-sel/what-is-the-casel-framework/#social-awareness

Daigle, J. (2016). School Counseling Classroom Guidance. SAGE Publications, Inc.

Dewi, Pratisti & Prasetyaningrum. (2019). The Effect of Roleplay to Increase Empathy Toward Students with Disruptive Classroom Behavior. Retrieved from https://proceedings.ums.ac.id/index.php/iseth/article/view/1334

Geldard Kathryn and Geldard David. (1999). Counseling Adolescents. SAGE Publications.

Jamila & Rahmawati, H. (2022). The effect of emotion bingo board to improve the ability to recognize emotional expression of children aged 4-6 years. Journal for the Child Development, Exceptionality and Education, 3(2), 87-94.

Jacobs, E. E., Harvill, R. L., & Masson, R. L. (2008). Group counseling: Strategies and skills (6th ed.). Wadsworth Publishing.

Landreth, G.L. (2012). Play therapy: The art of the relationship. Routledge.

Son, Van Huynh, (2018). Social awareness and responsible decision making of students in grade 4 and 5 in Vietnam. Journal of Education and Human Development, 7(4). https://doi.org/10.15640/jehd.v7n4a2

Vlaicu, C., Valahia University, Targoviste, & Romania. (2014). The importance of role play for children’s development of Socio-emotional competencies. Logos Universality Mentality Education Novelty SOCIAL SCIENCES, III(1), 157–167. https://doi.org/10.18662/lumenss.2014.0301.14

Yalom, I. D., & Leszcz, M. (2008). The theory and practice of group psychotherapy (5th ed.). Basic Books.