การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา THE DEVELOPMENT OF GRADE 5 STUDENT’S INTEGRATED SCIENCE PROCESS SKILLS THROUGH STEM EDUCATION

Main Article Content

ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ
ฮานิสา วาฮะ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง แหล่งน้ำเพื่อชีวิต ก่อน ระหว่าง และหลังการเรียนรู้แบบสะเต็ม 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้สะเต็ม โดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และวิธีการตรวจน้ำของ GLOBE ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง แหล่งน้ำเพื่อชีวิต และ 3)เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มกับการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง แหล่งน้ำเพื่อชีวิต ครูทำหน้าที่เป็นนักวิจัย โดยมีกลุ่มวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 35 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง การศึกษาครั้งนี้ดำเนินการตามกรอบระเบียบวิธีวิจัยการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน  ข้อมูลวิจัยได้มีการจัดเก็บระหว่างการดำเนินการพัฒนาโดยใช้เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้สะเต็ม แบบวัดทักษะกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ อนุทินการเรียนรู้ของนักเรียน การประชุมกลุ่มย่อย และบันทึกหลังการสอนของครู ผลการวิจัย พบว่าการเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนก่อนเรียนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา จากการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่า คะแนนทดสอบหลังใช้แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ .01 การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการหลังการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มมีค่าเฉลี่ยในระดับดีทุกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ฉัตรมณีรุ่งเจริญ ศ., & วาฮะ ฮ. . (2024). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา: THE DEVELOPMENT OF GRADE 5 STUDENT’S INTEGRATED SCIENCE PROCESS SKILLS THROUGH STEM EDUCATION. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 25(1), 135–154. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/16040
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กฤษฎา ปัญญาวัน. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาในรายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิจัยเพื่อปฎิรูปการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 1(2), 9-16.

จิราวรรณ เทพสุคนธ์ และชำนาญ ปาณาวงษ์. (2565). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.) มหาวิทยาลัยนเรศวร, 28(1), 161-173.

ณัฐธิดา นาคเสน และคณะ. (2563). ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 43(2), 31-42

พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Educationกับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21.วารสารนักบริหาร, 33(2), 49-56.

นิตยา ภูผาบาง. (2559). การใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษา เรื่อง พลาสติกชีวภาพจากแป้งมันสําปะหลัง เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการสําหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ วท.ม.ชลบุรี). มหาวิทยาลัยบูรพา,ชลบุรี.

วรรณภา อ่างทอง, บังอร แถวโนนงิ้ว และประสาท เนืองเฉลิม. (2563). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนวทางสะเต็มศึกษา. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม,14(1), 91-103.

ศิริลักษณ์ ชาวลุ่มบัว และสุนีย์ เหมะประสิทธิ์. (2558). การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการแบบ STEM รายวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง อ้อย สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(1), 224-236

สมฤทัย แปลงศรี. (2556). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ เรื่อง สารและสมบัติของสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสืบเสาะหาความรู้. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต): มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ

Kijgeukul, S. (2013). Nature of Science and Learning Indicators. Journal of Education and Innovation, 14(3), 119–124. Retrieved from https://so06.tci- thaijo.org/index.php/ edujournal_nu/article/view/9359