แนวทางพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวคิดการบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงที่เสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนในโลกพลิกผัน APPROACHES FOR DEVELOPING THE BASIC EDUCATIONAL QUALITY ASSURANCE BASED ON THE CONCEPT OF SCHOOL ADMINISTRATION TOWARD HIGH PERFORMANCE ORGANIZATION FOR ENHANCING STUDENT COMPETENCIES IN VUCA WORLD

Main Article Content

จุฬาลักษณ์ โสระพันธ์

Abstract

       งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบแนวทางพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวคิดการบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงที่เสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนในโลกพลิกผัน กลุ่มตัวอย่าง คือ  สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 380 โรงเรียน ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน และครู จำนวน 1 คน ในแต่ละโรงเรียน รวมทั้งสิ้น 760 คน และผู้ให้ข้อมูลในการสนทนากลุ่ม คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบประเมินความเป็นไปได้และความเหมาะสม และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดลำดับความต้องการจำเป็นด้วยเทคนิค Modified Priority Needs Index (PNIModified) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า แนวทางพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวคิดการบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงที่เสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนในโลกพลิกผัน ประกอบด้วย (1) การพัฒนาศักยภาพในการกำหนดมาตรฐานการศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียน (2) การเสริมสร้างประสิทธิภาพการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาที่มุ่งพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน (3) การสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียน (4) การพัฒนาคุณภาพการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน (5) การเพิ่มขีดความสามารถในการติดตามผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน และ (6) การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียน และผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวคิดการบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงที่เสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนในโลกพลิกผัน พบว่า ทุกข้อมีผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
โสระพันธ์ จ. . (2024). แนวทางพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวคิดการบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูงที่เสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนในโลกพลิกผัน: APPROACHES FOR DEVELOPING THE BASIC EDUCATIONAL QUALITY ASSURANCE BASED ON THE CONCEPT OF SCHOOL ADMINISTRATION TOWARD HIGH PERFORMANCE ORGANIZATION FOR ENHANCING STUDENT COMPETENCIES IN VUCA WORLD. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 25(1), 61–80. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/15872
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กัลยาณี พรมทอง. (2560). การประกันคุณภาพการศึกษา. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 29, 2564 .จาก http://www.ipebk.ac.th/bep/wp-content/uploads/2017/11/Kanlayanee-B3L11.pdf.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). หลักสูตรสถานศึกษาเน้นพัฒนาสมรรถนะ 6 ด้าน. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 25, 2567. จาก https://cbethailand.com/.

ชัชชญา พีระธรณิศร์. (2563). ความท้าทายการจัดการศึกษาในยุค Disruptive Change ของผู้บริหารสถานศึกษา. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 4(2). 126-139.

ชลธิชา บุนนท์, วัลลภา อารีรัตน์ และเกื้อจิตต์ ฉิมทิม. (2564). การศึกษาองค์ประกอบขององค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลการวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 22 ประจำปี 2564. (น.894-901). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ดนุพล มหิพันธุ์, อมร มะลาศรี และชัยยนต์ เพาพาน. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. 3(2). 73-88.

ธนู นวลเป้า. (2557). แนวคิดการประกันคุณภาพภายใน เพื่อยกระดับคุณภาพสถานศึกษา: ความสำเร็จหรือความล้มเหลว. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. 374-386. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, กำแพงเพชร.

ธงชัย สมบูรณ์. (2563). สถานศึกษา: การสร้างค่าองค์กรสมรรถนะสูง. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 13, 2564 .จาก https://www.matichon.co.th/article/news_2284048.

นเรศ สถิตยพงศ์. (2561). การประกันคุณภาพโรงเรียนยุคการศึกษาประเทศไทย 4.0 และศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 46(3). 345-364.

เพ็ญศิริ ฤทธิกรณ์. (2559). ทักษะการบริหารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

มยุรี วรวรรณ. (2563). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของ โรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม. (การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2563). สมรรถนะเด็กไทยในยุคโลกพลิกผัน (VUCA World). คุรุสภาวิทยาจารย์ JOURNAL OF TEACHER PROFESSIONAL DEVELOPMENT. 1(1). 8-18.

ศศิมา สุขสว่าง. (2562). VUCA World ความท้าทายสำหรับผู้นำยุคใหม่. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 19, 2564 .จาก https://www.sasimasuk.com/16768188/vuca-world.

เศกสรร ปัญญาแก้ว. (2563). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กแบบองค์กรสมรรถนะสูงเพื่อยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 9(33). 305-314.

สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ. (2559). รายงานของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เรื่อง แผนปฏิรูปเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 15, 2564 .จาก http://library2.parliament.go.th/giventake/content_nrsa2558/d031459-02.pdf.

สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2563). คู่มือการประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

อรุณกมล ศุขเอนก. (2561). กลยุทธ์การบริหารจัดการของธนาคารพาณิชย์เอกชนสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

Brown, T., & Wyatt, J. (2010). Design thinking for social innovation. Development Outreach. 12(1), 29-43.

Roijen, G.; Stoffers, J. and de Vries, R. (2017). Characteristics of High Performance Organization and Knowledge Productivity of Independent Professionals. International Journal of Management and Applied Research. 4(2). 90-104.