ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน โรงเรียนวิทยาศาสตร์ จุฬาภรณราชวิทยาลัย ACHIEVEMENT OF THE LEARNING MANAGEMENT MODEL TO DEVELOP GIFTED STUDENTS IN SECONDARY EDUCATION THROUGH THE STANDARDS OF PRINCESS CHULABHORN SCIENCE HIGH SCHOOL

Main Article Content

ภูริวรรษ คำอ้ายกาวิน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย 2) ขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มีขั้นตอนการวิจัย  2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีขอบเขตเนื้อหา คือ ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) 4 รายวิชา ได้แก่ วิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์  โรงเรียนที่ทำการทดลอง ได้แก่ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ คุณภาพของผู้เรียนประกอบด้วย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ผลงานนวัตกรรมของนักเรียน ความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระยะที่ 2 การขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษในโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จำนวน 11 แห่ง
              ผลการวิจัย มีดังนี้ ระยะที่ 1 ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี ร้อยละ 94.79  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยรวมทุกรายวิชาตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ตัวชี้วัดตามมติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดให้นักเรียนร้อยละ 80 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยรวมทุกรายวิชาตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป ผลการทดสอบระดับชาติของนักเรียนมีร้อยละของคะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียน สูงกว่าระดับประเทศทุกวิชา และนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ที่นักเรียนได้รับรางวัล ระดับนานาชาติ ได้แก่ Color Change Sticker, Color Blindness Assessment Applications for Children Ages 3-7 years in Android และ Automatic Medical Masks Dispenser ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี  ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  ระยะที่ 2 ผลการขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยทุกแห่งมีร้อยละของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 ร้อยละ 91.29 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยรวมทุกรายวิชาตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป สูงกว่าเกณฑ์ตัวชี้วัดตามมติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดให้นักเรียนร้อยละ 80 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยรวมทุกรายวิชาตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป โดยภาพรวมสูงกว่าร้อยละ 11.29 ผลการทดสอบระดับชาติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทุกโรงเรียนมีคะแนนเฉลี่ยวิชาภาษาไทย วิชาภาษาอังกฤษ วิชาคณิตศาสตร์ และวิชาวิทยาศาสตร์สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยทุกแห่ง มีนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ ที่ได้รับรางวัลระดับชาติและระดับนานาชาติเป็นจำนวนมาก ตลอดจนการขอจดอนุสิทธิบัตร/สิทธิบัตร และรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยมีความเหมาะสม มีความเป็นประโยชน์  และมีความเป็นไปได้ 
 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
คำอ้ายกาวิน ภ. . (2024). ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน โรงเรียนวิทยาศาสตร์ จุฬาภรณราชวิทยาลัย : ACHIEVEMENT OF THE LEARNING MANAGEMENT MODEL TO DEVELOP GIFTED STUDENTS IN SECONDARY EDUCATION THROUGH THE STANDARDS OF PRINCESS CHULABHORN SCIENCE HIGH SCHOOL. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 24(2), 148–161. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/15721
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กาญจนา ภัทราวิวัฒน์. (2559). การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ ด้านวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีประยุกต์ใช้เทคนิคการวิจัยอนาคต. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, สถาบันพฤติกรรมศาสตร์ มศว.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2541). รายงานการวิจัยรูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับผู้มี ความสามารถพิเศษ.กรุงเทพฯ: รัตนพรโย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545 – 2559). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา. (2562). โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย.

http://www.eseb.obec.go.th/?page_id=1431.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2549). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาพันธ์ชนิต เจนจิต. (2546). กิจกรรมการเรียนการสอนเรขาคณิตโดยใช้การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญดุษฎีบัณฑิต), บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Eisner, E. (1976). Education Connoisseiship and Criticism: Their Form and Function in Education Evaluation. Journal of Aesthetic Education.

Stufflebeam (1999). Program evaluations meta-evaluation checklist (based on the program evaluation standards) The Evaluation Center, Western Michigan University. Retrieved August 18, 2009, from http://www.wmich.edu