ผลของการใช้โปรแกรมการคิดแบบหมวก 6 ใบ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนแสงหิรัญวิทยา สำนักงานเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นิศารัตน์ แจ่มจันทร์
มนัสนันท์ หัตถศักดิ์

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังได้เข้าร่วมโปรแกรมการคิดแบบหมวกหกใบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนแสงหิรัญวิทยา สำนักงานเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่ายจำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมการคิดแบบหมวกหกใบเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  2) แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) แบบบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีต่อชุดโปรแกรมการคิดแบบหมวกหกใบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสถิติโดยใช้สถิติพาราเมตริก และการสรุปเนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกิจกรรมมีคะแนนจากแบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณในระยะหลังการทดลองสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่เข้าร่วมโปรแกรมการสอนคิดแบบหมวกหกใบเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความคิดเห็นต่อโปรแกรมการสอนคิดแบบหมวกหกใบช่วยให้นักเรียนตัดสินใจได้รวดเร็วและมีเหตุผล สามารถคิดอย่างเป็นขั้นตอนตามองค์ประกอบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ส่งผลให้นักเรียนสามารถแยกแยะข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงได้โดยปราศจากอารมณ์และความรู้สึกส่วนตัว กล้าแสดงความคิดเห็นและโต้ตอบกับเพื่อน รวมทั้งยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น นักเรียนสามารถหาแนวทางแก้ปัญหา ข้อสรุปของสถานการณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสม โดยคิดอย่างมีวิจารณญาณในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้  คำสำคัญ: หมวกหกใบ,  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ,  นักเรียน,  การคิด  ABSTRACT The purposes of this study was to compare the students’ critical thinking ability before and after being taught by six thinking hats Program of mathayomsuksa 2 students. The sample consists of 39 students from mathayomsuksa 2 students at Sanghirunwittaya School in Ladkrabang Area, Bangkok. Using simple random sampling method. The instruments for study this research were used: 1) Six Thinking Hats activities to promote critical thinking. 2) Critical Thinking ability test, and 3) Student’s Self-Report in each session and the Researcher. Data were analyzed by Mean, standard deviation, and content analysis. Results indicated that: 1) Critical Thinking posttest score of the experimental group were higher than the pretest score at .05 level of significance. 2) The student revealed their opinions toward the Six thinking hats activities to promote critical thinking. They perceived that six thinking hat activities could improve fast decision making and think step by step based on critical thinking elements. As a result students are able to distinguish factual information without personal feelings, they are able to express opinions and respond to their friends, as well as respect opinions of others. They were able to find the best solution and critical thinking in difference circumstances and could apply their knowledge to their everyday life.   Keywords:  Six Thinking Hats, Critical Thinking, Student, Thinking Skill 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
แจ่มจันทร์ น., & หัตถศักดิ์ ม. (2022). ผลของการใช้โปรแกรมการคิดแบบหมวก 6 ใบ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนแสงหิรัญวิทยา สำนักงานเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 23(1), 81–92. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/13624
Section
บทความวิจัย (Research Articles)