ผลของกิจกรรมแนะแนวทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก เพื่อพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสตรีวัดระฆัง

Main Article Content

วิสนี อาแว
มนัสนันท์ หัตถศักดิ์

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมแนะแนวทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก            เพื่อพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสตรีวัดระฆัง งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research)  ประชากรคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสตรีวัดระฆัง ปีการศึกษา 2563 จำนวน 286 คน ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) จากห้องเรียน 2 ห้อง ที่มีการเห็นคุณค่าในตัวเองไม่แตกต่างกัน จากนั้นใช้การสุ่มเข้ากลุ่ม (Random Assignment) เป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้อง จำนวน 39 คน และกลุ่มควบคุม 1 ห้อง จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) กิจกรรมแนะแนวทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก เพื่อพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเอง 2) แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสถิติ Parametric t – test  ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีการเห็นคุณค่า ในตนเองหลังการทดลองสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเอง สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01   คำสำคัญ : กิจกรรมแนะแนว, ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก, การเห็นคุณค่าในตนเอง  ABSTRACT The purpose of this research was to study the Effects of Guidance Activities Based on Positive Psychological Capital to Increase Self-Esteem for students in Mattayomsuksa three of Satri Wat Rakhang School. This research was a Quasi Experimental Research. The populations were 286 students in Mattayomsuksa three, academic year of 2020, Satri Wat Rakhang School. The sample group was selected by a Cluster Sampling from two classes that the Self-esteem test results were not much different. Then, the Random Assignment was used; 39 students for an experimental group and 40 students for a control group. The instruments used in this research were 1) Guidance Activities Based on Positive Psychological Capital to Increase Self-Esteem 2) Self-Esteem Test. The data was collected by using Mean, Standard Deviation, and Parametric t-test. The results indicated that 1) after experiment, the students in experimental group have more Self-esteem significantly at 0.01 level. 2)The Self-esteem test result of students in experimental group were higher than the students in control group significantly at 0.01 level.   Keywords:  Guidance Activity, Positive Psychological Capital, Self-Esteem 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
อาแว ว., & หัตถศักดิ์ ม. (2022). ผลของกิจกรรมแนะแนวทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก เพื่อพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสตรีวัดระฆัง. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 23(1), 66–80. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/13653
Section
บทความวิจัย (Research Articles)