วิกฤตและการรับมือกับความเครียดของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

จิตตินันท์ บุญสถิรกุล

Abstract

บทคัดย่อ จากสถานการณ์โรคระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี การเผชิญการเปลี่ยนแปลงภายในตนเอง และการเตรียมตัวสู่อนาคต ปัญหาดังกล่าวทำให้นักเรียน ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายปลายเกิดความเครียด จึงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจความเครียด และหาแนวทางการแก้ไข ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบไปด้วยการมุ่งเน้นการเผชิญปัญหาโดยการแก้ปัญหา เป็นการลงมือจัดการแก้ไขกับความเครียดนั้น และมุ่งเน้นการใช้อารมณ์ในการแก้ไขปัญหา เป็นการหลีกเลี่ยงปัญหา ซึ่งจากทั้งสองกลุ่มนี้สามารถนำมาใช้เป็นวิธีรับมือกับความเครียดได้ดังนี้ 1) การออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายเกิดสมดุล บรรเทาการเจ็บปวด และสามารถต้านทานความเครียดได้ 2) การทำสมาธิ โดยการฝึกหายใจ ทำให้หัวใจเต้นช้าลง และสมองแจ่มใสมากขึ้น 3) การตีความหมายใหม่ในทางบวก เป็นการทำให้สถานการณ์นั้น  ดีขึ้นด้วยการตีความต่อสถานการณ์นั้นในแง่ดี และ 4) การค้นหาความช่วยเหลือจากการสนับสนุนทางสังคม เป็นการหาความช่วยเหลือจากสังคม ซึ่งจะมีประสิทธิภาพถ้าหาความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น จิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยา   คำสำคัญ: ความเครียด, นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย, วิธีการแก้ไขความเครียด  ABSTRACT Nowadays senior high school students are likely to confront with numerous emerging stresses. For example, The extensive emergence of coronavirus (COVID-19) pandemic, a dymanic transformation of the cutting-edge technology, physical and mental adjustment in themselves, and preparation for an uncontrollable future. It is paramount to understand the cause of ongoing stresses, and to prioritize coping strategy. Coping strategies were divided into two categories; problem-focused coping and emotion-focused coping. These two categories consisted of 1) Physical activity and exercise which strengthens both physical and psychological health benefits, 2) Meditation, one of the stress treatment, is  well-known as a combination of breathing practice   while releasing internal stresses and unpleasant experiences (i.e. emotions, thoughts) without judgment  and  disengaging with external distractions, 3) Positive thinking  by replacing constructive attitude and perspective into deteriorating appraisals, is a potential approach to manage with uncontrollable conditions tolerantly, 4) Utilizing social support by consulting to professional experts and provided consulting channels such as psychologist, psychiatrist, consulting hotline, and so on, is one of an effective psychological treatment to cope with stressful circumstances.   Keywords: Stress, Senior High School Students, Coping

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
บุญสถิรกุล จ. (2022). วิกฤตและการรับมือกับความเครียดของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 22(2), 204–219. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/13559
Section
บทความวิชาการ (Academic Articles)