ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง เพื่อเสริมสร้างทักษะวิถีแห่งการคิดเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

วนาลี วรรณสิน
อุทิศ บำรุงชีพ
อาจณรงค์ มโนสุทธิฤทธิ์

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกผ่านเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะวิถีการคิดเศรษฐกิจพอเพียง ของกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะวิถีการคิดเศรษฐกิจพอเพียงระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และ4) ศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มทดลองที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2/2563 โรงเรียนบ้านค่าย จังหวัดระยอง จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ได้แก่ กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม ประกอบด้วย 5I ได้แก่ ขั้นที่ 1  Introduction การแนะนำเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ ขั้นที่ 2  Inquiry การสืบสอบ ขั้นที่ 3  Integration การบูรณาการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นที่ 4  Interpretation การสื่อความหมาย และขั้นที่ 5 Implementation คือ ขั้นนำไปใช้ ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นว่ามีความเหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ 0.67-1.00  (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มทดลอง หลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ทักษะแห่งวิถีการคิดเศรษฐกิจพอเพียง ของกลุ่มทดลอง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4) กลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด คำสำคัญ : การเรียนรู้เชิงรุก, ปัญหาเป็นฐาน, เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง, ทักษะการคิดเศรษฐกิจพอเพียง  ABSTRACT The purpose of this study 1) to study and design active learning activity by using problem based via cloud computing technology 2) to compare learning achievement and sufficiency economy thinking skills of the experimental group. 3) To compare learning achievement and sufficiency economy thinking skills of the experimental group and control group. And 4) study students’ satisfaction with active learning activity. The sample of this study were twelfth grade students in the second semester, academic year 2563, Bankhai school, Rayong Province. Students were chosen from Multi – Stage Sampling. They were divided into two groups including, the experimental group (n=50) and control group (n=50). The data were analyzed by mean, standard deviation and t-test. The results showed that: (1) the appropriate process active learning activity by using problem based via cloud computing technology to enhance ways of sufficiency economy thinking skills includes five steps 5ls : Step 1 introduction , Step 2 Inquiry , Step 3 Integration , Step 4 Interpretation and Step 5 Implementation, which the experts considered appropriate and related to learning 0.67-1.00 (2) The students’ learning achievement of experimental group has the post- test which was significantly higher than pre – test at the .05 and (3) students’ sufficiency economy thinking skills before and after active learning activity the post test was significantly higher than pre-test at .05 and (4) The experimental group students were satisfied with the active learning activity at the highest level   Keywords: Active Learning, Problem Based, Cloud Computing Technology, Sufficiency Economy Thinking Skills

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
วรรณสิน ว., บำรุงชีพ อ., & มโนสุทธิฤทธิ์ อ. (2022). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง เพื่อเสริมสร้างทักษะวิถีแห่งการคิดเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 22(2), 132–151. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/13526
Section
บทความวิจัย (Research Articles)