การวิจัยเชิงปฏิบัติการในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 จำนวน 35 คน โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึก จำนวน 6 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบทดสอบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และขนาดของผล โดยผลการวิจัยพบว่านักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 70.37 3.21 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 ส่วนคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณมีค่าเฉลี่ยหลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์สูงขึ้นเช่นเดียวกันโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 69 1.41 แต่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 และมีขนาดของผลของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณเท่ากับ 3.79 และ 1.73 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่ามีพัฒนาการของคะแนนอยู่ในระดับมาก ผลการวิจัยครั้งนี้มีประโยชน์กับผู้สอนที่ต้องการใช้ประเด็นที่เกิดขึ้นในสังคมมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน , การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ABSTRACT This action research aimed to study Socio-scientific Issues based learning on learning achievement and critical thinking. The target group was 35 Mattayomsuksa 5/6 students at Piboonbumpen Demonstration School, Burapha University. The research instruments that were provided consist of six lesson plans, the learning achievement test, and the critical thinking abilities test. The data were analyzed by percentage, standard deviation, and effect size. Research results revealed that the student raised higher learning achievement after being treated with Socio-scientific Issues based learning. The average score was 70.37 3.21 percent, higher than 70 percent criterion. In the term of critical thinking the students also raised critical thinking after being treated with Socio-scientific Issues based learning. The average was 69 1.41, lower than 70 percent criterion. The effect sizes of learning achievement and critical thinking represent 3.79 and 1.73, respectively which indicate to high level of development. The findings benefit for teachers who intend to bring social issues in the science education for promoting learning achievement and critical thinking. Keywords: Socio-scientific Issues Based Learning, Learning Achievement, Critical Thinking
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
อินทร์ชัย ก., เชื้อวัชรินทร์ น., ศิริสวัสดิ์ เ., & เมฆิยานนท์ ม. (2022). การวิจัยเชิงปฏิบัติการในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 22(2), 1–18. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/13383
Section
บทความวิจัย (Research Articles)