“โครงการจิตอาสาทำความดีเพื่อสังคม” การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ให้กับผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา

Main Article Content

กมลวรรณ คารมปราชญ์ คล้ายแก้ว
พิชชาดา ประสิทธิโชค

Abstract

บทคัดย่อ โครงการจิตอาสาทำความดีเพื่อสังคม เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา มศว 353 การคิดอย่างมีเหตุผลและจริยธรรม ซึ่งเป็นรายวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โครงการจิตอาสาทำความดีเพื่อสังคมใช้วิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐานที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาบุคคลในเรื่องการคิดอย่างมีเหตุผลและคุณธรรมจริยธรรมในการดำเนินชีวิต รวมถึงพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน ในโครงการจิตอาสาทำความดีเพื่อสังคมนั้นผู้เรียนจะเป็นผู้ดำเนินการทุกขั้นตอน โดยผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มตามความสมัครใจ แต่ละกลุ่มจะมีสมาชิกประมาณ 10 -12 คน จะร่วมกันทำหน้าที่ในการสำรวจประเด็นปัญหา กำหนดหัวข้อที่จะพัฒนากลุ่มเป้าหมาย ศึกษาข้อมูลทางวิชาการเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนากลุ่มเป้าหมาย การจัดทำและนำเสนอแผน การดำเนินกิจกรรมตามแผนที่กำหนดไว้ และการนำเสนอผลการดำเนินโครงการในรูปแบบรายงานและคลิปวีดิโอ โดยมีผู้สอนเป็นให้คำปรึกษาและกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ ทั้งนี้หลังจากที่นิสิตได้ทำโครงการทำ ความดีเพื่อสังคมเรียบร้อยแล้ว อาจารย์ผู้สอนได้ทำการสะท้อนการเรียนรู้ (Learning reflection) เพื่อให้ผู้เรียนรายงานว่าเกิดการเรียนรู้ในเรื่องใดบ้าง สามารถสรุปได้ว่าผลลัพธ์ของการจัดการเรียนรู้ที่สำคัญจากการดำเนินโครงการจิตอาสาทำความดีเพื่อสังคมที่ผู้เรียนได้สะท้อนออกมา คือ ทักษะชีวิตในด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย การทำงานเป็นทีม ทักษะการสื่อสาร การแก้ปัญหา การเข้าใจผู้อื่น และจิตสำนึกสาธารณะ ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญอย่างมากในการดำเนินชีวิตการเรียน และการทำงาน คำสำคัญ : โครงการจิตอาสาทำความดีเพื่อสังคม  การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน  ทักษะชีวิต   ABSTRACTS The social volunteer project is a part of SWU 353: Logical Thinking and Ethics which is a general education subject taught at Srinakharinwirot University. The social volunteer project is project-based education mainly aimed at developing students’ ability to enhance individuals’ logical thinking and ethics in everyday life and developing students’ life skills. In this project, students were assigned to take charge of every stage and choose their own groups consisting of 10-12 members. Students worked together as a group to explore issues, determine what needs to be developed for target groups, study academic work to determine how to develop target groups, prepare and present activity plans and present the project results through reports and video clips. Instructors acted as advisors and encouraged students to learn at their fullest potential. After the project was completed, instructors had students reflect on their learning and report what they had learned (Learning reflection). The important results of the social volunteer project reflected in students are life skills in different areas consisting of team working skills, communication skills, problem-solving skills, the ability to understand other people and social consciousness which are extremely necessary for life, education and work. Keywords: Social Volunteer Project, Project-based Learning, Life Skills

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
คารมปราชญ์ คล้ายแก้ว ก., & ประสิทธิโชค พ. (2019). “โครงการจิตอาสาทำความดีเพื่อสังคม” การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ให้กับผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 20(2). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/12167
Section
บทความวิชาการ (Academic Articles)