การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านวิเคราะห์บทอ่านร้อยแก้ว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการ 5 ขั้น ร่วมกับกลวิธีแผนภูมิความหมาย

Main Article Content

กิตติพงษ์ แบสิ่ว
บุษบา บัวสมบูรณ์
กิ่งกาญจน์ บูรณสินวัฒนกูล
สรัญญา จันทร์ชูสกุล

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านวิเคราะห์บทอ่านร้อยแก้วของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กระบวนการ 5 ขั้นร่วมกับกลวิธีแผนภูมิความหมาย และ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ 5 ขั้นร่วมกับกลวิธีแผนภูมิความหมาย กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/6 มีจำนวน 33 คน กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม ดำเนินการทดลอง โดยใช้เวลาในการทดลองการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 คาบ รวม 12 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ 5 ขั้น ร่วมกับกลวิธีแผนภูมิความหมาย 2) แบบวัดความสามารถด้านการอ่านวิเคราะห์บทอ่านร้อยแก้ว และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ 5 ขั้นร่วมกับกลวิธีแผนภูมิความหมาย และนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติวิเคราะห์คำนวณค่าเฉลี่ย (M) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) โดยทดสอบค่า t แบบกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent sample t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถด้านการอ่านวิเคราะห์บทอ่านร้อยแก้วของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ 5 ขั้นร่วมกับกลวิธีแผนภูมิความหมายหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ 5 ขั้นร่วมกับกลวิธีแผนภูมิความหมายอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก (M = 4.49, SD = 0.36) คำสำคัญ : ความสามารถด้านการอ่านวิเคราะห์บทอ่านร้อยแก้ว กระบวนการ 5 ขั้น กลวิธีแผนภูมิความหมาย ABSTRACT The purposes of the research were 1) to compare student’s analytical reading abilities on prose works before and after learning through 5-Step Process and Semantic Mapping Strategy and 2) to study students’ opinions toward learning through 5-Step Process and Semantic Mapping Strategy. The number of sample were 33 Mathayomsuksa 3/6 students of The Demonstration School of Ramkhamhaeng University, Bangkok, who were studying in the second semester of 2018. The cluster random sampling technique was employed for selecting the sample group and classroom was random unit. The researcher spent four weeks for teaching, three periods per week, 50 minutes each, totaling 12 periods. In addition, the research tools were; lesson plans through 5-Step Process and Semantic Mapping Strategy, a pre and post-test of analytical reading abilities on prose works and a questionnaire survey of student’s opinions toward learning through 5-Step together with Process and Semantic Mapping Strategy. The data was analysed by using the statistic for calculating mean (M), standard deviation (SD) and dependent t-test. The findings were as follows: 1) The students’ analytical reading abilities on prose works after learning through 5-Step Process and Semantic Mapping Strategy were significantly higher than those before studying at the level of .05. 2) The students’ opinions toward the learning through 5-Step Process and Semantic Mapping Strategy were positive at a good level. Keywords: Analytical Reading Abilities on Prose Works, 5-Step Process, Semantic Mapping Strategy

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
แบสิ่ว ก., บัวสมบูรณ์ บ., บูรณสินวัฒนกูล ก., & จันทร์ชูสกุล ส. (2019). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านวิเคราะห์บทอ่านร้อยแก้ว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการ 5 ขั้น ร่วมกับกลวิธีแผนภูมิความหมาย. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 20(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/11840
Section
บทความวิจัย (Research Articles)