การศึกษาและพัฒนาการรับรู้ความสามารถในการให้คำปรึกษาของครูแนะแนว

Main Article Content

พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการรับรู้ความสามารถในการให้คำปรึกษาของ    ครูแนะแนวและเปรียบเทียบการรับรู้ความสามารถในการให้คำปรึกษาของครูแนะแนวก่อนการฝึกอบรม  หลังการฝึกอบรม  และหลังการติดตามผล วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของการรับรู้ความสามารถในการให้คำปรึกษาของครูแนะแนว กลุ่มตัวอย่างเป็นครูแนะแนวในโรงเรียนเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลกลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก คือ ครูแนะแนวจำนวน 217 คน ได้มาจากการกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดการรับรู้ความสามารถในการให้คำปรึกษา มีค่าความเที่ยงตรงทั้งฉบับเท่ากับ  0.85  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน   ส่วนในระยะที่ 2 การพัฒนาการรับรู้ความสามารถในการให้คำปรึกษาโดยการฝึกอบรม  กลุ่มตัวอย่างเป็นครูแนะแนวที่มีคะแนนการรับรู้ความสามารถในการให้คำปรึกษาตั้งแต่ 25 เปอร์เซ็นไทล์ลงมาและสมัครใจเข้าร่วมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาการรับรู้ความสามารถในการให้คำปรึกษา จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดการรับรู้ความสามารถในการให้คำปรึกษาและโปรแกรมการฝึกอบรม                เพื่อพัฒนาการรับรู้ความสามารถในการให้คำปรึกษาของครูแนะแนว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ One Way ANOVA Repeated Measures ผลการวิจัย พบว่า 1) การศึกษาองค์ประกอบของการรับรู้ความสามารถในการให้คำปรึกษาของครูแนะแนว ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ทักษะเบื้องต้น กระบวนการให้คำปรึกษา ความเข้าใจในพฤติกรรมของผู้รับคำปรึกษาและค่านิยมของผู้ให้คำปรึกษา  ซึ่งมีความเหมาะสมพอดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์  มีน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ในเกณฑ์สูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถวัดองค์ประกอบของการรับรู้ความสามารถ ในการให้คำปรึกษาของครูแนะแนวได้  2) การรับรู้ความสามารถในการให้คำปรึกษาของกลุ่มทดลอง ก่อนการฝึกอบรม หลังการฝึกอบรมและหลังการติดตามผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.01แสดงว่าการฝึกอบรมมีผลทำให้การรับรู้ความสามารถในการให้คำปรึกษาของครูแนะแนวเปลี่ยนแปลงในทางที่สูงขึ้น คำสำคัญ : การรับรู้ความสามารถในการให้คำปรึกษา  การฝึกอบรม ABSTRACT The research objectives were to 1) investigate counseling self-efficacy factors, and 2) compare counseling skills perception results before after the participated period and follow up participated in training. The research procedures were divided into 2 phases; Phase 1: investigate counseling self – efficacy factors and Phase 2: Development on counseling self-efficacy through trainings. The subjects were guidance teachers from schools in Bangkok and surrounding provinces. They divided into two group. The first group consisted of 217 guidance teachers . This group was multi-stage sampling selected from population and was a representative for counseling self-efficacy study.The second group included 14 guidance teachers whose counseling self – efficacy scores were lower than twenty-fifth percentile andvolunteered for attendingtraining program. The research instruments were counseling self- efficacy scale (validity = 0.85) and counseling           self – efficacy training program. The data were analyzed by Confirmatory Factor Analysis and One Way ANOVA Repeated Measures. The research findings were as follows; 1) The confirmatory factors analysis significantly confirmed that the model of counseling self – efficacy functioning could be characterized into four factors : micro skills, counseling process, understanding counselee’ behaviors  and counselor values. This four factors were high, loading at the 0.01 level and could be able to measure the counseling self – efficacy functioning factors. 2) Statistically  significant  differences at  the 0.01 level  of  the  counseling self – efficacy of  the  experimental  group  existed  before and after the participated period  and  follow upperiod. The result of this study indicated that training program for developing counseling self efficacy was key factor in increasing positive change in counseling self – efficacy of guidance teachers. Keywords : counseling self – efficacy, training

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ศรีสวัสดิ์ พ. (2018). การศึกษาและพัฒนาการรับรู้ความสามารถในการให้คำปรึกษาของครูแนะแนว. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 19(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/10380
Section
บทความวิจัย (Research Articles)

Most read articles by the same author(s)