การใช้เลิร์นนิ่งออบเจ็กต์เพื่อการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายเพื่อพัฒนา ทักษะการสร้างสื่อมัลติมีเดีย สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของการใช้เลิร์นนิ่งออบเจ็กต์เพื่อการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายเพื่อพัฒนาทักษะการสร้างสื่อมัลติมีเดีย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฏเลย ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินทักษะ แบบทดสอบ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า เลิร์นนิ่งออบเจ็กต์ แบ่งเป็น 3 เรื่อง คือ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมัลติมีเดีย หลักการสร้างสื่อมัลติมีเดีย และการนำสื่อมัลติมีเดียมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.66/82.00 ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.72 ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญต่อเลิร์นนิ่งออบเจ็กต์เพื่อการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่าย อยู่ในระดับ มากที่สุด (=4.50) ผลการประเมินทักษะการสร้างสื่อมัลติมีเดียของผู้เรียน อยู่ในระดับ มาก (=4.30) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนจากเลิร์นนิ่งออบเจ็กต์เพื่อการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนอยู่ในระดับ มาก (= 4.33) คำสำคัญ : เลิร์นนิ่งออบเจ็กต์ การเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่าย ทักษะในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย ABSTRACT The purpose of this research was to study the effect of learning objects usage via web–based instruction to develop multimedia construction skill. The sample groups of this research were 30 educational undergraduates from a simple random. The instruments used in the study included the quality assessment form, the learning achievement test, and the satisfaction test. The data were analyzed by using arithmetic mean, standard deviation, and dependent t-Test. The research findings showed that the learning objects which had been divided into 3 topics were introduction of multimedia, the principle of creating multimedia, and instructional multimedia which had an efficiency ratio of 82.66/82.00 and an effectiveness index of 0.72. The quality of learning objects via web–based instruction achieved the highest rate (=4.50). The result of multimedia construction skill overall quality was at a high level (= 4.30). Subsequent to the treatment, the post-learning achievement test scores were significantly higher than the pre- test scores (p< 0.01). The students who had learned with learning objects via web–based instruction were satisfied at the highest level (= 4.33). Keywords : learning objects, web–based instruction, and multimedia construction skill
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
ชมภูพันธ์ ช. (2018). การใช้เลิร์นนิ่งออบเจ็กต์เพื่อการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายเพื่อพัฒนา ทักษะการสร้างสื่อมัลติมีเดีย สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 19(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/10369
Section
บทความวิจัย (Research Articles)