การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานกับการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ การปฎิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการปฏิรูปประเทศไทยตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาวิเคราะห์และทำความเข้าในประเด็นสำคัญอย่างลึกซึ้ง โดยการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นปรับโครงสร้างการบริหารจัดการของหน่วยงาน การกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการ เป็นการตัดสินใจและสั่งการจากส่วนกลาง การกระจายอำนาจไปสู่พื้นที่และโรงเรียนยังมีน้อย ในขณะที่แต่ละพื้นที่มีความหลากหลายและมีโจทย์ของการจัดการศึกษาที่แตกต่างกัน ผลที่เกิดขึ้นจึงทำให้คุณภาพของผู้เรียนต่ำกว่าเป้าหมายและไม่ตอบสนองต่อความต้องการของพื้นที่ การปฏิรูปการศึกษาของหลายประเทศและในหลายจังหวัดของประเทศไทย ได้นำแนวคิดการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่มาใช้ โดยการเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มีอำนาจในตัดสินใจ ออกแบบการจัดการศึกษาที่มุ่งแก้โจทย์ปัญหาของพื้นที่ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงความรับผิดชอบต่อผลของการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ สามารถผลิตผู้เรียนที่มีคุณภาพ เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของบริบทพื้นที่ การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทย ควรนำแนวคิดการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่มาประยุกต์ใช้โดยเริ่มต้นจากการปรับกระบวนทัศน์ของการศึกษาให้เป็นการเรียนรู้ชีวิต ใช้พื้นที่หรือจังหวัดเป็นหน่วยสำคัญของการปฏิรูปแนวทางการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาด้วยการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ อันจะนำไปสู่ความสำเร็จ ควรมี 6 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1) กระจายอำนาจ ให้ความอิสระและเพิ่มอำนาจการตัดสินใจให้กับผู้รับผิดชอบหลักในพื้นที่ 2) เสริมสร้างวัฒนธรมการเรียนรู้และจิตสำนึกรับผิดชอบของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 3) พัฒนาระบบความรับผิดชอบต่อการศึกษา ทั้งด้านปัจจัย กระบวนการและผลผลิตที่มีความสัมพันธ์กัน 4) พัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศ แหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ให้พร้อมใช้ 5) ปรับระบบการพัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา เสริมสร้างวัฒนธรรมการทำงานเชิงรุก และ 6) เปิดพื้นที่ร่วมพัฒนา เสริมสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน แนวคิดนี้จะสัมฤทธิ์ผลได้ ต้องเริ่มจากการปรับชุดความคิดของคนไทยทุกคน ให้ตระหนักถึงความสำคัญและร่วมกันรับผิดชอบ โดยการวางแผนให้ชัดเจนและเริ่มกระบวนการเปลี่ยนแปลงให้เร็วที่สุด เพื่อให้การศึกษาเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน คำสำคัญ : ปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน, การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ ABSTRACT Basic Education Reform is an important tool in human resource development for the reform of Thailand according to the 20-year national strategy; therefore, it is necessary to study, analyze and understand deeply into key issues. Most of the past educational reforms are to restructure the management of the Ministry of Education. Policy and management are the decision-making and centralized management. Decentralization to the area and school is also less while each area is diverse and had different educational management propositions. Consequently, the results reflect to the quality of the learner that is lower than the goals and did not respond the need in the area. Educational reforms in many countries and in many provinces of Thailand have led to the concept of Area Based Education by allowing all sectors in the province or area to participate in education management. Moreover, they also have power in decision, design of educational management to solve the problem of resource use in the area effectively and responsible for the results of education management. The results of Area Based education can produce quality learners appropriately and be consistent with the needs of the area context. Thailand's basic education reform should apply the concept of Area Based Education starting from the paradigm of education to learning life, using area or province as an important unit of reform. The guidelines driving to basic education reform with Area Based Education that will lead to success should include sixkey areas: 1) Decentralizing, providing freedom and increasing decision making power, 2) Strengthening the learning culture and sense of responsibility of all relevant sectors, 3) Developing a system of educational responsibility for the factors, process and output relatively, 4) Developing information system and technology system, and learning resources in the area to be ready, 5) Adjusting the management development system for administrators, strengthening proactive working culture, and 6) providing the joint development area and strengthening participation from all sectors. This concept will be effective must start with the adjustment of all Thai people to be aware of the importance and joint responsibility. They need to have clear planning and start the change process as quickly as possible for education being as an important force in driving change in Thailand to the stability, prosperity and sustainability. Keywords : Basic Educational Reform, Area Based Education
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
มโนการณ์ ม. (2018). การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานกับการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, 19(1). Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/10367
Section
บทความวิชาการ (Academic Articles)