ปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเงินที่ส่งผลต่อความเสี่ยงของประเทศ กรณีศึกษากลุ่มประเทศอาเซียน (ECONOMIC FACTORS AND FINANCIAL FACTORS AFFECTING THE COUNTRY RISK: A CASE STUDY OF ASEAN)

Authors

  • Susana Phanseanthaveekul Applied Finance Program, Faculty of Business Administration, Kasetsart University, Bangkhen Campus
  • Panadda Intraprom Applied Finance Program, Faculty of Business Administration, Kasetsart University, Bangkhen Campus

Abstract

บทคัดย่อ ประเทศในกลุ่มอาเซียน ปัจจุบันมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว มีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในระดับที่สูง จึงดึงดูดนักลงทุนจากนานาประเทศเข้ามาลงทุนเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากทิศทางการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศส่วนใหญ่ในกลุ่มอาเซียนนั้นยังไม่มีการเติบโตที่แข็งแกร่ง รวมทั้งยังไม่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินที่มั่นคง นักลงทุนในกลุ่มประเทศเหล่านี้จึงต้องเผชิญความเสี่ยงในการลงทุนที่สูง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเสี่ยงของประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียน พร้อมทั้งการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเงินที่ส่งผลกระทบต่อความเสี่ยงของประเทศ ในกลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ ซึ่งได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม โดยปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเงินที่นำมาศึกษา ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อจำนวนประชากร อัตราเงินเฟ้อ สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ดุลบัญชีเดินสะพัด การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ทุนสำรองระหว่างประเทศ อัตราแลกเปลี่ยน และอัตราการเติบโตของการส่งออก โดยการศึกษาใช้ข้อมูลทุติยภูมิตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2549 ถึง พ.ศ. 2558 รวมเป็นระยะเวลา 10 ปี ด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณโดยการสร้างแบบจำลองทางเศรษฐมิติประมาณค่าสัมประสิทธิ์ในรูปแบบสมการความถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) ผลจากการศึกษาความเสี่ยงของประเทศ พบว่า ประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน คือ สิงคโปร์ ถัดมาเป็นกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงอยู่ในระดับความเสี่ยงต่ำจนถึงระดับความเสี่ยงปานกลาง ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย และกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ส่วนผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณสรุปได้ว่า ณ ระดับความเชื่อมั่นทางสถิติร้อยละ 95 ปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเงินที่ส่งผลต่อความเสี่ยงของประเทศ ในกลุ่มประเทศอาเซียน ได้แก่ สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ดุลบัญชีเดินสะพัด และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศและดุลบัญชีเดินสะพัด มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงของประเทศในทิศทางบวก ส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงของประเทศในทิศทางลบ การติดตามการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเงินเหล่านี้สามารถใช้พิจารณาการเปลี่ยนแปลงระดับความเสี่ยงของประเทศ รวมถึงการใช้ประกอบการตัดสินใจในการลงทุนหรือการทำธุรกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับประเทศนั้นๆ ได้ คำสำคัญ: ความเสี่ยงของประเทศ อาเซียน ปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเงิน Abstract Currently, 10 member countries of ASEAN have rapid economic growth. Because of a high level rate of return on investment, these countries attract a lot of foreign investors. However, the economic situation and the financial stability of ASEAN countries are not strong and stable. Hence, investors in these countries unavoidably face a high risk level on their investment. The objectives of this research are to study the country risk of each country in ASEAN and the effect of economic factors and financial factors on country risk. This research studies the country risk of 10 ASEAN countries (Brunei, Cambodia, Indonesia, Laos, Malaysia, Myanmar, Philippines, Singapore, Thailand and Vietnam) by analyzing economic factors and financial factors, namely GDP per capita, inflation rate, general government gross debt to GDP, current account balance, foreign direct investment, international reserves, exchange rate and export growth. This research is based on panel data of ten countries in ASEAN and ten years during 2006-2015 by applying one of econometric techniques called multiple regression analysis. The result from studying the country risk of each country in ASEAN shows that Singapore has the lowest country risk level. Brunei, Indonesia, Malaysia, Philippines and Thailand have medium country risk level. The remainder of ASEAN countries including Cambodia, Laos, Myanmar and Vietnam, have high country risk level. Furthermore the study also finds that at 95 percent confidence interval, three out of eight economic and financial factors are related to country risk. These factors are general government gross debt to GDP, current account and foreign direct investment. The general government gross debt to GDP and current account are positively correlated with the country risk whereas the foreign direct investment is negatively correlated with the country risk. As a result, monitoring the change of these financial and economic factors can be useful in forecasting the country risk level in each country and making financial decisions regarding investing in each country. Keywords: Country risk, ASEAN, Economic factors and financial factors

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

10-11-2017

How to Cite

Phanseanthaveekul, S., & Intraprom, P. (2017). ปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเงินที่ส่งผลต่อความเสี่ยงของประเทศ กรณีศึกษากลุ่มประเทศอาเซียน (ECONOMIC FACTORS AND FINANCIAL FACTORS AFFECTING THE COUNTRY RISK: A CASE STUDY OF ASEAN). วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ: Srinakharinwirot Business Journal, 8(1), 75–90. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/9397