การลดความขัดแย้งในองค์กรโดยใช้หลักภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 และหลักมนุษยสัมพันธ์ตามหลักสังคหวัตถุ 4 เปรียบเทียบ ระหว่างพนักงานกลุ่มบริษัทเอเชียและกลุ่มบริษัทยุโรป-อเมริกา ในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จังหวัดปทุมธานีและพระนครศรีอยุธยา

Authors

  • เนาวรัตน์ ชุง Rajamangala University of Technology Thanyaburi

Keywords:

ภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 มนุษยสัมพันธ์ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ความขัดแย้งในองค์กรด้านงาน ด้านความสัมพันธ์ ด้านกระบวนการ

Abstract

การพัฒนาองค์กรเพื่อความยั่งยืนในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับคุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินงานมากขึ้น งานวิจัยนี้จึงได้นำหลักพระพุทธธรรมของพระพุทธเจ้าด้านภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ธรรมของคนดี และมนุษยสัมพันธ์ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ธรรมที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวบุคคลให้มีความรัก ความสามัคคี มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาองค์กรโดยเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ท่ามกลางการอยู่ร่วมกันในองค์กรโดยมีการจัดการความขัดแย้งในระดับที่เหมาะสม และการให้ความสำคัญกับภาคอุตสาหกรรมของไทย เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ทำการศึกษาโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างในภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มบริษัทเอเชีย จำนวน  230 คน และกลุ่มบริษัทยุโรป-อเมริกา 230 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 มนุษยสัมพันธ์ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ระดับความขัดแย้งภายในองค์กรด้านงาน ด้านความสัมพันธ์ และด้านกระบวนการ และอิทธิพลของภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 และ มนุษยสัมพันธ์ตามหลักสังคหวัตถุธรรม 4 ที่ส่งผลต่อการลดความขัดแย้งในองค์กรทั้งด้านงาน ด้านความสัมพันธ์ และด้านกระบวนการ โดยเปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงานกลุ่มบริษัทเอเชีย และกลุ่มบริษัทยุโรป-อเมริกาในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จังหวัดปทุมธานี และพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีวัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่างกัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า พนักงานกลุ่มบริษัทเอเชียและกลุ่มบริษัทยุโรป-อเมริกา มีระดับภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 และมนุษยสัมพันธ์ตามหลักสังคหวัตถุ 4 อยู่ในระดับมาก และมีระดับความขัดแย้งในองค์กร ด้านงาน ด้านความสัมพันธ์ และด้านกระบวนการอยู่ในระดับไม่บ่อยเช่นเดียวกัน และเมื่อพิจารณาตัวแปรด้านภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม และตัวแปรด้านมนุษยสัมพันธ์ตามหลักสังคหวัตถุที่มีอิทธิพลต่อความขัดแย้งในองค์กรพบว่า ภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรมที่มีอิทธิพลทางตรงในเชิงลบต่อความขัดแย้งในองค์กรในกลุ่มพนักงานบริษัทเอเชีย เท่ากับ -0.061 และในกลุ่มพนักงานบริษัทยุโรป-อเมริกา เท่ากับ -0.332 และตัวแปรด้านมนุษยสัมพันธ์ตามหลักสังคหวัตถุ มีอิทธิพลทางตรงในเชิงลบต่อความขัดแย้งในองค์กร ในกลุ่มพนักงานบริษัทเอเชีย เท่ากับ -0.241 และในกลุ่มพนักงานบริษัทยุโรป-อเมริกา เท่ากับ -0.100

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

เนาวรัตน์ ชุง, Rajamangala University of Technology Thanyaburi

Graduate Student, Master of Business Administration (General Management)

Downloads

Published

04-11-2016

How to Cite

ชุง เ. (2016). การลดความขัดแย้งในองค์กรโดยใช้หลักภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 และหลักมนุษยสัมพันธ์ตามหลักสังคหวัตถุ 4 เปรียบเทียบ ระหว่างพนักงานกลุ่มบริษัทเอเชียและกลุ่มบริษัทยุโรป-อเมริกา ในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จังหวัดปทุมธานีและพระนครศรีอยุธยา. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ: Srinakharinwirot Business Journal, 7(2), 60–85. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/8109