การศึกษาศักยภาพผู้ประกอบการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กรณีศึกษาผู้ประกอบการการแพทย์ทางเลือกในเขตกรุงเทพมหานคร
Keywords:
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การแพทย์ทางเลือก ผู้ประกอบการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพและการจัดการห่วงโซ่คุณค่าของผู้ประกอบการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพด้านการบริการการแพทย์ทางเลือก รวมถึงการวิเคราะห์สภาวะการแข่งขัน เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เพื่อเก็บข้อมูลคือ การสัมภาษณ์เชิงลึก ตัวอย่างสำหรับการศึกษา คือ ผู้ประกอบการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพด้านการบริการการแพทย์ทางเลือกในเขตกรุงเทพมหานคร หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และสมาคมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า จุดแข็งในการดำเนินงานของผู้ประกอบการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ได้แก่ การสร้างนวัตกรรม ความเชี่ยวชาญของแพทย์หรือผู้ให้การบำบัดรักษา มาตรฐานการให้บริการ เป็นต้น 1 จุดอ่อน ได้แก่ ราคาค่าบริการและระยะเวลาการรักษา การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ เป็นต้น โอกาส เช่น การสนับสนุนจากภาครัฐ แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ เป็นต้น และอุปสรรคต่อการดำเนินงาน เช่น ความต่อเนื่องของการสนับสนุนจากภาครัฐ สถานการณ์บ้านเมือง เป็นต้น การประเมินสภาพการณ์ของการแข่งขันในธุรกิจสุขภาพด้านการแพทย์ทางเลือก ผู้วิจัยพบว่าในปัจจุบันธุรกิจสุขภาพ โดยเฉพาะการนวดเพื่อการบำบัดรักษาและสปาเป็นธุรกิจสุขภาพที่มีการแข่งขันสูง สำหรับอำนาจการต่อรองของผู้ผลิตพบว่า เนื่องจากมีผู้ผลิตจำนวนมากให้เลือกใช้ จึงไม่มีการผูกขาด ส่วนอำนาจการต่อรองของผู้บริโภคหรือนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมีมากขึ้นเพราะมีการเปิดดำเนินการของธุรกิจสุขภาพ มากขึ้น การวิเคราะห์การจัดการห่วงโซ่คุณค่าประเด็นแรกคือ การคัดเลือกผู้ผลิต ในงานวิจัยนี้พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เลือกใช้ผู้ผลิตภายในประเทศเป็นหลัก สำหรับการส่งเสริมการตลาดพบว่า การประชาสัมพันธ์เป็นเครื่องมือสำหรับการส่งเสริมการตลาดที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เลือกใช้ โดยเฉพาะการประชาสัมพันธ์ด้วยการบอกต่อและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะเฟซบุ๊ก ในส่วนของการจัดการการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพนับว่าเป็นกิจกรรมสำคัญในการสร้างคุณค่าให้ธุรกิจ และสำหรับงานวิจัยนี้ผู้ประกอบการต่างให้ความสำคัญกับการให้บริการลูกค้าDownloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ ยินดีรับบทความวิจัยและบทความทางวิชาการด้านบริหารธุรกิจ เพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ซึ่งทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารฯ ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ประสงค์จะนำบทความหรือบทวิจารณ์ใดๆ ไปเผยแพร่ จะต้องได้รับการอนุญาตจากวารสารเป็นลายลักษณ์อักษร ลิขสิทธิ์บทความที่เผยแพร่ทั้งหมดเป็นของวารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ