การรณรงค์ผลิตภัณฑ์ฉลากเขียวเพื่อการตัดสินใจซื้อ
Keywords:
การรณรงค์ ผลิตภัณฑ์ฉลากเขียว การตัดสินใจซื้อ การรับรู้ ความคิดเห็นAbstract
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความรู้ความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อการรณรงค์ผลิตภัณฑ์ฉลากเขียวและการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ฉลากเขียว เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบสอบถาม ผลการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ t-test Independent, One-Way ANOVA, Chi-Square และค่าสหสัมพันธ์แบบอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1. การใช้ผลิตภัณฑ์ฉลากเขียวกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่แก้ปัญหามลภาวะ คือ ใช้น้ำมัน ไร้สารตะกั่วมากที่สุด กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทำลายสภาวะของน้ำและประหยัดน้ำ คือ ใช้สุขภัณฑ์ประหยัดน้ำมากที่สุด กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่แก้ปัญหาปริมาณขยะ คือ ใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดเติมหรือสินค้ารีฟิลมากที่สุด กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ลดการทำลายป่าไม้ คือ ใช้กระดาษรีไซเคิล และกระดาษชำระรีไซเคิลมากที่สุด กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากสารพิษตกค้าง คือ ใช้ผักผลไม้ปลอดสารพิษมากที่สุด กลุ่มผลิตภัณฑ์ประหยัดพลังงาน คือใช้ตู้เย็นประหยัดไฟมากที่สุด 2. ค่าคะแนนเฉลี่ยความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ฉลากเขียว พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.16) 3. การรับรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ฉลากเขียว พบว่า สื่อประชาสัมพันธ์ยังมีไม่เพียงพอ ร้อยละ 79.20 สื่อที่ให้ข้อมูลกับผู้ตอบแบบสอบถามมากที่สุดคือ สื่อโทรทัศน์ ร้อยละ 57.30 และผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นว่าต้องการให้ภาครัฐรณรงค์เพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 88.00 ระดับความรู้ความเข้าใจของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ฉลากเขียว มีความรู้ระดับปานกลาง ร้อยละ 53.80 4. ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นว่าภาครัฐควรออกกฎหมายบังคับใช้ ร้อยละ 84.00 5. ส่วนเหตุผลในการตัดสินใจซื้อ เพราะต้องการดูแลสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 27.82 รองลงมาคือรู้สึกมั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์และรู้สึกปลอดภัยต่อสุขภาพ ร้อยละ 26.89 ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1. เพศที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ฉลากเขียวไม่แตกต่างกัน 2. อายุที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ฉลากเขียวไม่แตกต่างกัน 3. การศึกษาที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ฉลากเขียวแตกต่างกัน 4. อาชีพที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ฉลากเขียวแตกต่างกัน 5. ประเภทของสื่อในการรณรงค์ที่แตกต่างกันไม่มีผลให้ความคิดเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ฉลากเขียว 6. ประเภทของสื่อในการรณรงค์ที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ฉลากเขียวแตกต่างกัน 7. ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ฉลากเขียวที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ฉลากเขียวไม่แตกต่างกัน 8. ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ฉลากเขียวไม่มีความสัมพันธ์กับประเภทของสื่อที่ใช้ในการรณรงค์Downloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ ยินดีรับบทความวิจัยและบทความทางวิชาการด้านบริหารธุรกิจ เพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ซึ่งทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารฯ ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ประสงค์จะนำบทความหรือบทวิจารณ์ใดๆ ไปเผยแพร่ จะต้องได้รับการอนุญาตจากวารสารเป็นลายลักษณ์อักษร ลิขสิทธิ์บทความที่เผยแพร่ทั้งหมดเป็นของวารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ