แนวทางการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุบริเวณลานกางเต็นท์ในอุทยานแห่งชาติ
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการ สำรวจความเหมาะสมของสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ ศึกษาความพึงพอใจและพฤติกรรมนันทนาการของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุต่อสิ่งอำนวยความสะดวกในลานกางเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติ และเสนอแนวทางพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านอารยสถาปัตย์ตามช่วงชั้นโอกาสนันทนาการ พื้นที่ศึกษาได้แก่ ลานกางเต็นท์ 5 แห่งในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ใช้วิธีการจำแนกช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการ รวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจประเมินพื้นที่และแบบสอบถามนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ ประเมินความเหมาะสมสิ่งอำนวยความสะดวกตามแบบประเมินที่พัฒนาขึ้นตามหลักอารยสถาปัตย์ และสำรวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 630 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ผลการศึกษาพบว่าลานกางเต็นท์อ่างเก็บน้ำและลำตะคองอยู่ช่วงชั้นโอกาสด้านนันทนาการประเภทพัฒนาแล้ว (D) หนองแม่นาและบ้านกร่างประเภทค่อนข้างพัฒนา (SD) และสะพานสลิงประเภทกึ่งสันโดษ (SP) โดยมีความเหมาะสมของสิ่งอำนวยความสะดวกตามเกณฑ์อารยสถาปัตย์และความพึงพอใจของผู้สูงอายุของอ่างเก็บน้ำ แก่งกระจานในระดับค่อนข้างมาก ส่วนลำตะคองมีค่าความเหมาะสมและความพึงพอใจในระดับปานกลาง บ้านกร่างมีค่าความเหมาะสมในระดับค่อนข้างน้อยและความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง หนองแม่นามีค่าความเหมาะสมและความพึงพอใจในระดับปานกลาง ส่วนสะพานสลิง ค่าความเหมาะสมและความพึงพอใจอยู่ในระดับค่อนข้างน้อย แนวทางการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในลานกางเต็นท์ของอุทยานแห่งชาติต้องให้ความสำคัญต่อประสบการณ์ที่นักท่องเที่ยวควรได้รับหลากหลาย และเลือกได้ ควรให้ความสำคัญต่อการออกแบบเพื่อคนทุกกลุ่มตามหลักการอารยสถาปัตย์ ซึ่งควรมีอยู่ทั้งสามช่วงชั้น (D, SD, SP) แต่ปริมาณควรขึ้นอยู่กับปริมาณผู้ใช้ประโยชน์ และนโยบายDownloads
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ ยินดีรับบทความวิจัยและบทความทางวิชาการด้านบริหารธุรกิจ เพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ซึ่งทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารฯ ถือเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบใดๆ ของคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ประสงค์จะนำบทความหรือบทวิจารณ์ใดๆ ไปเผยแพร่ จะต้องได้รับการอนุญาตจากวารสารเป็นลายลักษณ์อักษร ลิขสิทธิ์บทความที่เผยแพร่ทั้งหมดเป็นของวารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ