ความสามารถในการแข่งขันการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของแหล่งน้ำพุร้อนธรรมชาติในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1

Authors

  • Tanomsak Srichantra Srinakharinwirot University
  • Nattapat Manirochana Srinakharinwirot University

Keywords:

ความสามารถในการแข่งขัน การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1

Abstract

การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยการแข่งขันและกำหนดแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของแหล่งน้ำพุร้อนธรรมชาติในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 โดยรวบรวมข้อมูลกับผู้ให้สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในพื้นที่ รวม 53 คน ประกอบด้วย บุคคลจากสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด สำนักงานจังหวัด กรมทรัพยากรธรณี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานกาญจนบุรี สโมสรน้ำพุร้อนไทย เจ้าของแหล่งท่องเที่ยว บุคลากรทางการท่องเที่ยวในพื้นที่ ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ผู้นำชุมชนในตำบลที่มีแหล่งน้ำพุร้อนธรรมชาติตั้งอยู่ ประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นการสัมภาษณ์ในรูปของการสนทนา การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสนทนากลุ่ม คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้วยวิธีเจาะจงและวิธีสโนว์บอลล์ควบคู่กันไปด้วย รวมถึงการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์ความได้เปรียบเชิงการแข่งขันตามแบบจำลองเพชรที่สมบูรณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1. แหล่งน้ำพุร้อนธรรมชาติของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 มีปริมาณน้ำพุร้อนในปริมาณมากและมีตลอดทั้งปี ซึ่งสามารถรองรับกิจกรรมท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและมีแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายในการอาบแช่และนำไปทำกิจกรรมต่างๆ ในเชิงสุขภาพและแร่ธาตุในน้ำพุร้อนทั้ง 11 แห่งมีสรรพคุณในเชิงสุขภาพที่แตกต่างกัน พื้นที่ส่วนใหญ่มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ป่าไม้ น้ำตก พื้นที่คุ้มครองและแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียง 2. แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะสั้น คือ 1) สร้างอัตลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวน้ำพุร้อนโดยจัดทำเป็นคลัสเตอร์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประเภทน้ำพุร้อนของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 บนฐานทุนทางทรัพยากรที่มี โดยมุ่งเน้นสร้างความแตกต่างจากแหล่งท่องเที่ยวน้ำพุร้อนในพื้นที่อื่นๆ 2) ออกแบบโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่หลากหลายและเชื่อมโยงระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในแหล่งน้ำพุร้อนของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 กับแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียงในพื้นที่เชื่อมโยงอื่นๆ 3) เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากน้ำพุร้อน รวมถึงผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีคุณภาพและหลากหลาย เพื่อสร้างความแตกต่างและสร้างรายได้ให้กับชุมชน 4) จัดการท่องเที่ยวตามหลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 5) ทำการสื่อสารการตลาดในเชิงรุกและใช้ประโยชน์จากเครือข่ายสังคมออนไลน์ ส่วนแนวทางที่ต้องเร่งดำเนินการในระยะยาว คือ 1) การวิจัยเพื่อการนำแร่ธาตุจากน้ำพุร้อนมาใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และค้นหานวัตกรรมใหม่ของการบริการสุขภาพไว้รองรับนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต รวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากน้ำพุร้อนเพื่อสร้างรายได้และส่งเสริมการท่องเที่ยว 2) การสร้างและการสื่อสารภาพลักษณ์ของแบรนด์ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 และ 3) สร้างสิ่งอำนวยความสะดวก อาคารบริการและการออกแบบพื้นที่ โดยคำถึงความสัมพันธ์ของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมกับการท่องเที่ยวในพื้นที่

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

Tanomsak Srichantra, Srinakharinwirot University

Science and Technology Program, Innovative Learning Center

Nattapat Manirochana, Srinakharinwirot University

Faculty of Business Administration for Society

Downloads

Published

30-09-2021

How to Cite

Srichantra, T., & Manirochana, N. (2021). ความสามารถในการแข่งขันการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของแหล่งน้ำพุร้อนธรรมชาติในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ: Srinakharinwirot Business Journal, 12(1), 115–137. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/13957