ฉันใช้แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อส่งเสริมให้นิสิตครูวิทยาศาสตร์เชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมสู่การปฏิบัติ
Main Article Content
Abstract
Sasithep Pitiporntapin
รับบทความ: 1 มีนาคม 2557; ยอมรับตีพิมพ์: 17 เมษายน 2557
บทคัดย่อ
ฉันมีความเชื่อว่าประสบการณ์การเรียนรู้ในแหล่งการเรียนรู้นอกห้องเรียนเป็นการเปิดโอกาสให้นิสิตของฉันได้เรียนรู้ในห้องเรียนอันกว้างใหญ่ผ่านประสบการณ์ตรงจากสภาพจริงในวิถีชีวิต รับรู้ถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมและตระหนักถึงความ สัมพันธ์ของตนเองที่มีต่อสังคม การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนของฉันมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของฉันในด้านการส่งเสริมให้นิสิตครูวิทยาศาสตร์เชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม สู่การปฏิบัติโดยใช้แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน ฉันจัดการเรียนรู้ให้นิสิตของฉัน จำนวน 17 คน ที่ลงทะเบียนในรายวิชาดัง-กล่าวในภาคต้น ปีการศึกษา 2556 ฉันพัฒนาและจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 9 แผน โดยเน้นการใช้แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน ฉันเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการให้นิสิตเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ ให้นิสิตบันทึกการเรียนรู้ในแต่ละคาบเรียน และสัมภาษณ์นิสิตอย่างไม่เป็นทางการ ฉันวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า การให้นิสิตของฉันเผชิญหน้ากับประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในแหล่งเรียนรู้ การทำแผนผังความคิดเกี่ยวกับแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่พบในแหล่งเรียนรู้ การนำเสนอตัวอย่างการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย การแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน และการจัดประสบการณ์ให้นิสิตสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ ส่งผลให้นิสิตกำหนดจุดประสงค์ แนวคิดหลัก กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สอดคล้องตามการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมมากขึ้น
คำสำคัญ: นิสิตครูวิทยาศาสตร์ การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม การใช้แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน
Abstract
I believe that learning experience in outside classroom learning resources is the opportunity for my students to learn from their direct experience in real life, perceiving the state of the problem in society, and being aware of them to society. My classroom action research aimed to develop my teaching for enhancing pre-service science teachers’ linking their knowledge about teaching science based on Science, Technology, and Society (STS) approach into practice. I developed and implemented 9 lesson plans focusing on using outside classroom learning resources for my 17 students in the first semester of academic year 2013. I collected data from assigning them to develop lesson plans both before starting the course and after finishing the course, to write journal entries of each learning period, and informally interviewed them. Data were analyzed using content analysis. The findings showed that providing students with direct experience about Scientifically and Technological (ST) issues; constructing mind mapping about concept behind ST issues; presenting of the clear and easy understanding of science teaching based on STS approach; discussion about experience of using outside classroom learning media and resources; and providing students’ experience about searching information from outside classroom learning resources are affected to their planning of learning objectives, concepts, activities, media and learning resources, and measurement and evaluation to be more corresponded with teaching science based on STS approach.
Keywords: Pre-service science teachers, Teaching science based on STS approach, Using outside classroom
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
ดำริ บุญชู. (2548). การใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา. วารสารวิชาการ 8(1): 27-31.
นฤมล ยุตาคม. (2542). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้โมเดลการสอนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม (Science, Technology, and Society-STS Model). ศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ 14(3): 29-48.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (สกศ). (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Kemmis, S., and McTaggart, R. (1998). The Action Re-search Planner. Victoria: Deakin University.
Loucks-Horseley, S., Love, N., Stiles, K. E., Mundry, S., and Hewson, P. W. (2003). Designing professional development for teachers of science and mathematics. The National Institute for Science Education. California: Corwin.
National Research Council (NRC). (1996). National Science Educational Standards. Washington, DC: National Academy.
National Science Teachers Association (NSTA). (1990). NSTA handbook. Arlington, VA: Author.
Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning (ONEP). (2004). Thailand’s biodiversity (Online). Retrieved from http://www.chm-thai.onep. go.th/Publication/ThaiBiodiv/ThailandBiodiversity _eng.pdf, January 6, 2008.
Rye, J. A., and Dana, T. M. (1997). Teaching beliefs and practices of a research scientist faculty member engaged in Science-Technology-Society (STS) instruction. The Electronic Journal of Science Education 1(4), Retrieved from http://equinox.unr.edu/homepage/jcannon/ejse/ryedana.html, May 31, 2002.