มุมมองธรรมชาติวิทยาศาสตร์และความเชื่อทางด้านวิทยาศาสตร์เทียมของนิสิตครูจบใหม่ สาขาการสอนวิทยาศาสตร์

Main Article Content

กรรณิกา เหล็กเพชร์
ศศิเทพ ปิติพรเทพิน

Abstract

New Graduated Pre-Service Science Teachers’ Perspectives of Nature of Science and Beliefs of Pseudoscience
 
Kannika Lekpet and Sasithep Pitiporntapin
 
รับบทความ: 4 กุมภาพันธ์ 2558; ยอมรับตีพิมพ์: 8 พฤษภาคม 2558
 
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจมุมมองธรรมชาติวิทยาศาสตร์และความเชื่อด้านวิทยาศาสตร์เทียมของนิสิตครูวิทยาศาสตร์จบใหม่ มหาวิทยาลัยรัฐแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ จำนวน 19 คน ที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2556 ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามปลายเปิดและการสัมภาษณ์เชิงลึก จากนั้นผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อจัดจำแนกคำตอบเป็นกลุ่ม จากนั้นหาค่าความถี่และร้อยละของคำตอบแต่ละกลุ่ม และสร้างข้อสรุป  ผลการวิจัยพบว่า นิสิตครูวิทยาศาสตร์จบใหม่ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 68.42) มีมุมมองจัดอยู่ในกลุ่มมุมมองธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ไม่มีความ สัมพันธ์กับความเชื่อด้านวิทยาศาสตร์เทียมของนิสิตเลย นอกจากนี้ยังมีนิสิตครูวิทยาศาสตร์จบใหม่บาง ส่วน (ร้อยละ 31.58) มีมุมมองจัดอยู่ในกลุ่มมุมมองธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนิสิตมีความสัมพันธ์กับความเชื่อด้านวิทยาศาสตร์เทียม ผลการวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพครูต่อไป
คำสำคัญ: ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์  วิทยาศาสตร์เทียม  นิสิตครูวิทยาศาสตร์จบใหม่
 
Abstract
This study aimed to survey views on nature of science and beliefs of pseudoscience of 19 new graduated pre-service science teachers from a University in Bangkok in the academic year 2013. The researchers collected data from questionnaires and in-depth interviews. The data were analyzed from content analysis for grouping their answers, finding the frequency of the answers in each group, and generating conclusions about pre-service science teachers’ views on nature of science and pseudoscience. The results have shown that most of the new graduated pre-service science teachers) (68.42%) were in group of no relation about nature of science and beliefs of pseudoscience. Moreover, some of them (31.58%) were in group of nature of science on relation with beliefs of pseudoscience. These findings were considered in terms of further professional development.
Keywords: Nature of science, Pseudoscience, New graduated pre-service science teacher

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

ขวัญหญิง ทิพย์แก้ว (2555). การสอนและการเรียนรู้ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์: กรณี ศึกษาโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์. (2554, มีนาคม). วิทยาศาสตร์ลวงโลก (Pseudoscience). ใน การประชุมวิชาการ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน ครั้งที่ 6 (วทท. เพื่อเยาวชน ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา.

ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2554). วิธีสอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: เอพริลเรนพริ้นติ้ง.

บัญชา ธนบุญสมบัติ.(2553). กรณี GT200 เมื่อวิทยาศาสตร์จอมปลอมสั่นสะเทือนสังคม ไทย. วารสารเทคโนโลยีวัสดุ 59: 51-63.

ราชบัณฑิตยสถาน.(2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน (สพฐ.).(2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกน กลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การ เกษตรแห่งประเทศไทย.

Bell, R., Blair, L., Crawford, B., and N. G. Lederman. (2003). Just do it? Impact of a science apprenticeship program on high school students’ understandings of the nature of science and scientific inquiry. Journal of Research in Science Teaching 40(5): 487-509.

Lederman N. G., Abd-El-Khalick, F., Bell, R. L. and Schwartz, R. S. (2002). Views of Nature of science questionnaire: toward valid and meaningful assessment of learners’ conceptions of nature of science. Journal of Research in Science Teaching 39(6): 497-521.

Losh, S. C., and Nzekwe, B., (2010). Creatures in the classroom: Preservice teacher beliefs about fantastic beasts, magic, extraterrestrials, evolution and creationism. Science and Education 20: 473–489.

Most read articles by the same author(s)