การส่งเสริมแนวคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง อาณาจักรสัตว์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีความหลากหลายของการเรียนรู้

Main Article Content

อรวรรณ คูหเพ็ญแสง
สุรเดช ศรีทา
กฤษณา โภคพันธ์
ภาธร พงศ์ไพจิตร
กฤษณา ชินสิญจน์
ศศิเทพ ปิติพรเทพิน

Abstract

Enhancing of the 10th Grade Students’ Scientific Conceptions of Animal Kingdom Using Variation Theory   Orawan Kuhapensang, Suradet Sritha, Krissana Pokpun, Partorn Phongpaijit, Krissana Shinnasin and Sasithep Pitiporntapin รับบทความ: 30 เมษายน 2556; ยอมรับตีพิมพ์: 24 กรกฎาคม 2556DOI: https://doi.org/10.14456/jstel.2013.13 บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ส่งเสริมแนวคิดวิทยาศาสตร์เรื่อง อาณาจักรสัตว์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีความหลากหลายของการเรียนรู้ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมแนวคิดวิทยาศาสตร์เรื่องอาณาจักรสัตว์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีความหลากหลายของการเรียนรู้ กลุ่มที่ศึกษา คือ นักเรียนโรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานการอุดมศึกษา จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 5 กลุ่ม แผนการเรียนวิทยา-ศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รวมทั้งสิ้น 135 คน ในภาคปลาย ปีการศึกษา 2555 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง อาณาจักรสัตว์ ที่เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีความหลากหลายของการเรียนรู้ 2) แบบวัดแนวคิดทางวิทยาศาสตร์เรื่อง อาณาจักรสัตว์ จำนวน 10 ข้อ และ 3) อนุทินที่บันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการร่วมกิจกรรม ผลการวิจัยพบว่า  1)  การวัดแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง อาณาจักรสัตว์ ในช่วงก่อนเรียนไม่มีนักเรียนที่มีแนวคิดสอดคล้องกับแนวคิดวิทยา-ศาสตร์ทุกแนวคิด และพบว่าหลังเรียนนักเรียนมีแนวคิดที่สอดคล้องกับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นทุกแนวคิด 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมแนวคิดวิทยาศาสตร์เรื่อง อาณาจักรสัตว์ ได้แก่ การนำตัวอย่างสัตว์หลากหลายชนิดมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ การใช้ของจริงของตัวอย่าง รูปภาพ และวีดิทัศน์ มาประกอบการสอน การจัดกิจกรรมฐานหมุน และการให้นักเรียนวาดภาพประกอบการอธิบายคำสำคัญ: ทฤษฎีความหลากหลายของการเรียนรู้  แนวคิดวิทยาศาสตร์เรื่องอาณาจักรสัตว์  ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ AbstractThe aims of this research were to 1) enhance the scientific conceptions of animal kingdom using variation theory of the tenth grade students, and 2) to study the factors affecting the enhancement of the scientific conceptions of animal kingdom using variation theory of the tenth grade students. The participants of this study were 135 students of the science and technology program in 10th grade in the second semester of academic year 2012 of a laboratory school under Office of the Higher Education Commission in Bangkok. The research tools were as follows: 1) the animal kingdom using variation theory of lesson plans; 2) the ten-item concept test for scientific conceptions of animal kingdom using variation theory; 3) the journals. The results of this research indicated that: 1) most of students had no understanding of scientific conception of animal kingdom before studying and the students had better understanding of all scientific conceptions of animal kingdom after studying;  2) the factors affecting the enhancement of the scientific conceptions of animal kingdom; for example, various kinds of animals, real teaching materials, photos, and video were used for learning,  Also, the students were provided with activities and were allowed to draw pictures with captions.Keywords: Variation theory, Scientific conceptions of animal kingdom, Factors affecting the learning management

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กฤษณา โภคพันธ์. (2554). การพัฒนาแนวคิดเรื่องดาราศาสตร์และอวกาศ และเจคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชื่นจิต แสนสุด. (2553). การพัฒนาแนวคิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจคติต่อการเรียนการสอนพันธุกรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ทิศนา แขมณี. (2553). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์. (2552). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ปัฐมาภรณ์ พิมพ์ทอง. (2551). การจัดการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแนวคิด. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 31(1): 27-35.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข. (2551). ทักษะ ๕C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนอิงมาตรฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 6 .กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรวณีย์ ลาเต. (2553). การพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีสรรคนิยมและการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Cardak, O. (2009). Science students’ misconceptions about birds. Scientific Research and Essay 4 (12): 1518-1522.

Davies, P., Lundholm, C. and Mangan, J. (2008). The application of variation theory in undergrad-uate teaching: addressing some difficulties in the context of students’ understanding of saving (online). http://www.staffs.ac.uk/schools/business/ iepr/docs/workingpaper49.pdf, 3 November 2012.

Fraser, D., Allison, S., Coombes, H. and Case, J. (2006). Using Variation to Enhance Learning in Engineering. International Journal Engineering Education 22(1): 102-108.

Most read articles by the same author(s)