ถ้อยแถลงบรรณาธิการ
Main Article Content
Abstract
บริบทใหม่ของประเทศไทยนอกจากการมีกระทรวงชื่อยาว ๆ อย่าง “กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแล้ว” สิ่งที่เป็นผลตามมาคือ การจัดสรรงบประมาณวิจัยแบบใหม่ ซึ่งการสะท้อนคิดแบบนี้ทำให้ประเทศไทยเดินต่อไปข้างหน้าได้อย่างมีคุณภาพจริงหรือ? เป็นสิ่งที่น่าคิดมาก การตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่เป็นเกณฑ์ใหม่ในการขอตำแหน่งวิชาการ ลดความสำคัญของการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติไปอย่างสิ้นเชิง เมื่อเราเกิดความเข้าใจผิดในเรื่องการประชุมวิชาการเป็นการตีพิมพ์ซ้ำซ้อนกับบทความวิจัยมาครั้งหนึ่งแล้ว แทนที่จะเข้าใจว่า การประชุมวิชาการเป็นการนำเสนอความก้าวหน้าและแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยในคนวงวิชาการเดียวกัน ทำให้การประชุมวิชาการแทบไม่มีนักวิชาการหรือนักวิจัยที่ทำวิจัยอย่างเข้มข้นอยากเข้าร่วม การตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ คนไทยสักเท่าใดที่ได้อ่านวารสารเหล่านั้น เกณฑ์มาแปลก เราก็ไม่เข้าใจวิธีของคนทำเกณฑ์ ซึ่งต่างจากประเทศอื่น ๆ เช่น ญี่ปุ่น จีน ที่เขาตีพิมพ์ให้คนในบ้านเมืองเขาอ่าน โดยไม่สนใจการตีพิมพ์แบบนานาชาติเพื่อขอตำแหน่งวิชาการสักเท่าใด เปิดศักราชใหม่ของการเปลี่ยน-แปลงก็ต้องทำความเข้าใจและยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใหม่นี้ ในฐานะเป็นบรรณาธิการมายาวนาน เราก็ยังให้ความสำคัญกับการตีพิมพ์เพื่อประโยชน์ของคนไทยมาเป็นอันดับแรก จึงขอเชิญชวนนักวิจัย ครูอาจารย์ ที่จะผลิตผลงานเพื่อคนไทยได้ก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของชาตินี้ ส่งบทความมาตีพิมพ์ในวารสารวิชาการไทยที่มีคุณ-ภาพตามเกณฑ์คุณภาพวารสารที่ TCI กำหนดขึ้น และเริ่มเข้มข้นเรื่องคุณภาพของบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ในวารสารทุกกลุ่มในฐานข้อมูล TCI นอกจากนี้ระบบ Fast Track ที่ TCI ริเริ่มร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยให้การอ้างอิงบทความวิชาการของวารสารในฐานข้อมูล TCI สะดวกมากขึ้น ขอขอบคุณ TCI และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ช่วยทำให้คุณภาพวารสารไทยดีขึ้นอย่างชัดเจน วารสารฯ ฉบับที่ท่านถืออยู่นี้ประกอบด้วยบทความวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ 4 เรื่อง ด้านคณิตศาสตร์ 1 เรื่อง วิทยาศาสตรศึกษา 3 เรื่อง และบทความวิชาการ 3 เรื่อง บทความทุกเรื่องได้ผ่านการตรวจสอบตามขั้นตอนของการตีพิมพ์อย่างเคร่งครัด จนได้ผลงานที่อ่านง่าย และใช้ภาษาที่ง่ายที่สุดที่จะทำให้ครูและนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ร่วมเรียนรู้ไปด้วย ทางกองบรรณาธิการจะรักษามาตรฐานคุณภาพของวารสารฯ และปรับปรุงคุณภาพวารสารฯ ให้มีมาตรฐานอย่างต่อเนื่องเท่าที่จะทำได้ ทางกองบรรณาธิการขออนุญาตปฏิเสธการตีพิมพ์บทความที่เขียนรูปแบบนิพนธ์ต้นฉบับไม่ถูกต้องและบทความที่ไม่เข้าข่ายการตีพิมพ์ในวารสารฯ รวมถึงบทความที่เข้าข่ายการตีพิมพ์ซ้ำซ้อนโดยไม่ต้องผ่านผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา นอกจากนี้ขออนุญาตปฏิเสธบทความที่มีความยาวมากเกินไป (เกิน 10–15 หน้า) ผู้นิพนธ์ที่ไม่ส่งแบบโอนลิขสิทธิ์การตีพิมพ์ ใบรับรองต่าง ๆ เช่น กรณีทำวิจัยในมนุษย์ ต้องแนบใบรับรองการวิจัยในมนุษย์มาด้วย และหากการทำงานวิจัยเริ่มไปก่อนได้รับใบรับรองการวิจัยในมนุษย์ เมื่อตรวจพบภายหลังขอปฏิเสธการตีพิมพ์เช่นเดียวกัน
Downloads
Download data is not yet available.
Article Details
How to Cite
Phornphisutthimas, S. (2020). ถ้อยแถลงบรรณาธิการ. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning), 11(1), ฌ. Retrieved from https://ejournals.swu.ac.th/index.php/JSTEL/article/view/12793
Section
กองบรรณาธิการ (Editorial Board)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.