การติดตามการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำน้ำหมักชีวภาพ 7 สูตร ต่อการงอกของเมล็ดถั่วเขียว (Vigna radiata L.)
Main Article Content
Abstract
Boonnithi Khusakul, Nonglux Meekaew, Sirirat Kaveekhew, Surasak Laloknam, Supaporn Sirisopana and Somkiat Phornphisutthimas
รับบทความ: 15 มีนาคม 2554; ยอมรับตีพิมพ์: 26 พฤษภาคม 2554
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำน้ำหมักชีวภาพ 7 สูตร ต่อการงอกของเมล็ดถั่วเขียว สูตรน้ำหมัก 7 สูตร มีส่วนประกอบและอัตราส่วนดังนี้ สูตรที่ 1 (กล้วย: กากน้ำตาล อัตราส่วน 3:1) สูตรที่ 2 (มะพร้าว: กากน้ำตาล อัตราส่วน 3:1) สูตรที่ 3 (มะละกอ: กากน้ำตาล อัตราส่วน 3:1) สูตรที่ 4 (กล้วย: มะละกอ: กากน้ำตาล อัตราส่วน 3:3:1) สูตรที่ 5 (กล้วย: มะพร้าว: กากน้ำตาล อัตราส่วน 3:3:1) สูตรที่ 6 (มะละกอ: มะพร้าว: กากน้ำตาล อัตราส่วน 3:3:1) และสูตรที่ 7 (มะละกอ: มะพร้าว: กล้วย: กากน้ำตาล อัตราส่วน 3:3:3:1) ตามลำดับ จากนั้นติดตามการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำน้ำหมักชีวภาพได้แก่ พีเอช อุณหภูมิ และปริมาณกรดเป็นระยะเวลา 90 วัน พบว่า น้ำหมักทุกสูตรมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นใน 2 วันแรก และคงที่ที่ 30 องศาเซลเซียส ตลอดระยะเวลาการศึกษา ค่าพีเอชลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 10 วันและมีค่าคงที่ตลอดระยะเวลาการศึกษา และปริมาณกรดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 10 วัน จากนั้นติดตามการงอกและการเจริญเติบโตของต้นถั่วเขียวเป็นระยะเวลา 7 วัน โดยนำน้ำหมักแต่ละสูตรมาเจือจางด้วยอัตราส่วน 1: 100 (V/V) พบว่า น้ำหมักสูตรที่ 6 ให้อัตราการงอกและการเจริญเติบโต (ความยาวส่วนต้นและความยาวส่วนราก) ดีที่สุด
คำสำคัญ: น้ำหมักชีวภาพ ถั่วเขียว การงอก
Abstract
This research aimed to study effect of fermented bioextracts on germination and growth of mung bean. The seven formulas of bioextract were contained different ingredient ratio named EM1 (banana: molasses = 3: 1) EM 2 (coconut: molasses = 3:1) EM3 (papaya: molasses = 3:1) EM4 (banana: papaya: molasses = 3:3:1) EM5 (banana: coconut: molasses = 3:3:1) EM6 (papaya: coconut: molasses = 3:3:1) and EM7 (papaya: coconut: banana: molasses = 3:3:3:1), respectively. Temperature, pH and acid concentration were observed for 90 days. All bioextract formulas showed temperature increased within 10 days, after that was remaining for 90 days. The pH value was decreased, while acid concentration was increased within 10 days and remains until the end of experiment. The seed germination and growth of mung bean were observed by using the fermented bioextracts diluted in a ratio of 1: 100 (v/v) for 7 days. The EM6 gave the highest seed germination and growth (root and shoot length).
Keywords: Fermented bioextract, Mung bean, Seed germination
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
References
เกษตรเคมี, กอง. (2545). ฮอร์โมนพืชและธาตุอาหารพืชในน้ำหมักชีวภาพ. กรุงเทพฯ: กรม วิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
ภาวณา ลิกขนานนท์. (2542). “น้ำสกัดชีวภาพ-ปุ๋ยชีวภาพ คืออะไรและได้ผลคุ้มค่าเพียงใด”. วารสารเคหการเกษตร. 24: 173-181.
วีณารัตน์ มูลรัตน์ สมชาย ชคตระการ และอัญชลี จาละ. (2553). ประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากเศษปลาที่ใช้น้ำกากส่าเหล้าทดแทนกากน้ำตาลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกวางตุ้งฮ่องเต้. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48 : สาขาพืช. กรุงเทพฯ.
สุภาจรี นิยะมานนท์ สมเดช นิยะมานนท์ และมรกต ศักดิ์ ศักดิ์นิมิต (2548). รายงานการวิจัยเรื่องการใช้ปุ๋ยจากสาหร่ายทะเลเพื่อเพิ่มผลผลิตกะหล่ำดอกในเขตอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง. สงขลา: ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ สายสุณีย์ ลิ้มชูวงศ์ สุรศักดิ์ ละลอกน้ำ และทิพวรรณ เหล่าหาโคตร. (2552, ตุลาคม). ผลของน้ำหมักชีวภาพต่อการต่อโตของพืชวงค์ถั่ว. รายงานการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 35. มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี.
สุริยา สาสนรักกิจ. (2542). ปุ๋ยน้ำชีวภาพ. ฝ่ายเทคโนโลยี ชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.
อรรถ บุญนิธี. (2544, พฤษภาคม). เอกสารประกอบคำอภิปรายในการสัมมนาเรื่อง การผลิตและการใช้น้ำสกัดชีวภาพ. โรงแรม เค พี แกรนด์ จังหวัดจันทบุรี.
Aguilar, M.L., Espadas, F., Maust, B., and Sáenz, L. (2009). Endogenous cytokinin content in coconut palms affected by lethal yellowing. J. Plant Pathol. 91(1): pp 141-146.
Noisopa, C., Prapagdee, B., Navanugraha, C., and Hutacharoen, R. (2010). Effects of Bio- extracts on the Growth of Chinese Kale. Kasetsart J.(Nat. Sci.). 44: 808-815.
Boonsiri, K., Suangsang, D., Pirommi, S., Sea-ang, A., Tongying, W., Kontha, J., and Weejitian, A. (2009). Effect of granular organic fertilizers on growth and yield of Pak Choi and Rice cv. Phitsanulok 60-2. Asian J. Food Agro-Industry (special issue): S160-S163.
Panjaitan, S. B., Aziz, M. A., Rashid, A. A., and Saleh, N. M. (2007). In-vitro plantlet regeneration from shoot tip of field-grown hermaphrodite papaya (Carica papaya L. cv. Eksotika). Int. J. Agri. Biol. 9(6): 827-832.
Talenger, D., Magambo, M. J. S., and rubaihayo, P. R. (1994). Testing for a suitable culture medium for micropropagation of east African highland bananas. Afri. Crop Sci. J. 2(1): pp 17-21.