ทางเลือกในการใช้อัลจิเนตเป็นวัสดุตรวจสอบจุดกดเจ็บใต้ฐานฟันเทียม:รายงานผู้ป่วย
Abstract
พีไอพีเป็นวัสดุที่ใช้อย่างกว้างขวางในการตรวจสอบหาจุดกดเจ็บใต้ฐานฟันเทียมอะคริลิกเรซิน เนื่องจากใช้งานง่าย สามารถตรวจสอบและมองเห็นจุดกดเจ็บได้อย่างชัดเจน ไม่ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อในช่องปากและกำจัดออกได้ง่าย แต่มีข้อด้อยคือราคาสูง วิธีการทาสารต้องทำอย่างถูกต้อง การตรวจสอบในบริเวณกว้างอาจไม่สามารถความคุมไม่ให้สัมผัสกับเนื้อเยื่อในช่องปากบริเวณอื่น ซึ่งทำให้เกิดการแปลผลคลาดเคลื่อน และการทำความสะอาดอาจต้องใช้สารละลายกำจัดพีไอพีร่วมด้วยซึ่งทำให้มีการค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ในบทความนี้ผู้เขียนสนใจใช้วัสดุพิมพ์ปากอัลจิเนตเป็นวัสดุตรวจสอบจุดกดเจ็บทดแทนพีไอพี เนื่องจากอัลจิเนตเป็นวัสดุที่ไม่ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อในช่องปาก ราคาประหยัด ระยะเวลาในการก่อตัวเร็ว กำจัดออกได้ง่าย สามารถลอกเลียนรายละเอียดในช่องปากได้ดี และมีใช้อยู่ทั่วไปเป็นวัสดุพื้นฐานในงานคลินิกทันตกรรม ผลจากการใช้อัลจิเนตตรวจสอบจุดกดเจ็บใต้ฐานฟันเทียมพบว่า สามารถแสดงจุดกดเจ็บได้อย่างชัดเจนใกล้เคียงกับพีไอพี สรุปได้ว่า อัลจิเนตเป็นวัสดุทางเลือกที่สามารถนำมาใช้ตรวจสอบจุดกดเจ็บใต้ฐานฟันเทียมได้ แต่ทั้งนี้มีข้อควรระวังคือ อัตราส่วนในการผสม ต้องมีการผสมให้ได้อัตราส่วนที่เหลวเพียงพอที่จะทำให้อัลจิเนตสามารถไหลแผ่ไปได้เมื่อได้รับแรงกด ระยะเวลาในการทำงาน ต้องทำในระยะเวลาทำงานของอัลจิเนต ปริมาณของอัลจิเนต ควรใส่อัลจิเนตในปริมาณที่เหมาะสม ถ้าใส่ปริมาณมากเกินไป ส่วนเกินที่ไหลออกมาจะก่อให้เกิดความไม่สบายต่อผู้ป่วยขณะทำการตรวจสอบ และแรงที่ใช้ในการตรวจสอบ ควรเป็นแรงกดที่สม่ำเสมอ ถ้ามีแรงกดที่ไม่สม่ำเสมอจะทำให้ไม่พบจุดกดเจ็บจริงคำสำคัญ : จุดกดเจ็บ พีไอพี ฟันเทียมถอดได้ สารตรวจสอบจุดกดเจ็บ อัลจิเนตDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
How to Cite
1.
ศรีหัตถจาติ จ. ทางเลือกในการใช้อัลจิเนตเป็นวัสดุตรวจสอบจุดกดเจ็บใต้ฐานฟันเทียม:รายงานผู้ป่วย. SWU Dent J. [Internet]. 2016 Dec. 30 [cited 2025 Jan. 2];9(2):77-88. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/8264
Issue
Section
รายงานผู้ป่วย (Case reports or Case series)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น