https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/issue/feedSrinakharinwirot University Dental Journal (E-ISSN 2774-0811)2024-12-20T03:13:07+00:00ผศ.ดร.ทพ.ชัชพันธุ์ อุดมพัฒนากร (บรรณาธิการ))swudentj@yahoo.comOpen Journal Systems<p>วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (SWU Dent J.)<br />เป็นวารสารทางวิชาการของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีนโยบายสนับสนุนการเผยแพร่องค์ความรู้ ผลงานทางวิชาการและวิจัยด้านทันตแพทยศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมใดใดๆ ในทุกขั้นตอน การพิจารณาบทความจะกระทำโดยผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้น ๆ จากหลากหลายสถาบันและไม่ซ้ำสังกัดกันอย่างน้อย 3 ท่าน บทความที่ได้ลงตีพิมพ์ จะคัดเลือกจากการพิจารณาเห็นชอบให้ตีพิมพ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ใน 3 ท่าน (ไม่มีการเปิดเผยชื่อและข้อมูลส่วนบุคคลต่อกันระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิและเจ้าของบทความ)</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ของวิทยาสาร:</strong><br />1. เพื่อเผยแพร่ความก้าวหน้าทางวิชาการและความรู้ใหม่ โดยเน้นทางด้านทันตแพทยศาสตร์และสาขาวิชาการที่เกี่ยวข้อง<br />2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัย รวมทั้งการค้นคว้าที่มีคุณค่าเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ<br />3.เพื่อเป็นสื่อสัมพันธ์ทางวิชาการระหว่างทันตแพทย์และบุคคลอื่นในสาขาที่เกี่ยวข้อง</p> <p><strong>ประเภทของบทความ:</strong><br />1. บทวิทยาการ (Original articles)<br />2. บทความปริทัศน์ (Review articles)<br />3. รายงานผู้ป่วย (Case reports or Case series)<br />4. ปกิณกะ (Miscellanies) ได้แก่ บทความพิเศษที่มีเนื้อหาสาระทางวิชาการและเป็นประโยชน์ทางทันตกรรม</p> <p>เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จากผู้นิพนธ์ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน และไม่มีค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ใด ๆ ในทุกขั้นตอน</p> <p>SWU Dent J. จัดพิมพ์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548-2564 (ISSN 1905-0488)<br />ตีพิมพ์ฉบับออนไลน์ (E-ISSN 2774-0811) ตั้งแต่ปี 2565 จนถึงปัจจุบัน<br />SWU Dent J. อยู่ในฐาน TCI กลุ่ม 1 และ ACI ตามผลการประเมินคุณภาพวารสาร TCI รอบที 4 พ.ศ. 2563-2567</p> <p><strong>กำหนดการออกวิทยาสาร (ออนไลน์) ปีละ 2 ฉบับ</strong><br /><strong>ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม</strong></p>https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/16504ปัจจัยที่มีผลต่อการพิมพ์รากฟันเทียมแบบดิจิทัลโดยใช้สแกนบอดี้ ร่วมกับเครื่องสแกนในช่องปาก: การทบทวนวรรณกรรม2024-12-04T08:05:02+00:00ภัทรพร ยืนยงpattarapornpatta_y@cmu.ac.thพิมพ์เดือน รังสิยากูลpimduen.rungsiyakull@cmu.ac.thพิสัยศิษฎ์ ชัยจรีนนท์pisaisit.c@cmu.ac.th<p>สแกนบอดี้เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อเข้ากับส่วนรากฟันเทียมที่ฝังลงในกระดูกโดยใช้งานร่วมกับเครื่องสแกน ในช่องปากเพื่อการพิมพ์รากฟันเทียมแบบดิจิทัล การศึกษาถึงความแม่นยำของการพิมพ์รากฟันเทียมแบบดิจิทัล นิยมศึกษาจากความแม่นยำของสแกนบอดี้ซึ่งเป็นตัวถ่ายทอดตำแหน่งและมุมของรากฟันเทียม จากการทบทวน วรรณกรรมพบว่า การออกแบบ วัสดุที่ใช้ทำสแกนบอดี้ ชนิดของเครื่องสแกนในช่องปาก ระบบซอฟต์แวร์ ระดับ ความสูง ความเอียง ระยะห่าง และตำแหน่งของรากฟันเทียม สภาวะแวดล้อมในการสแกนรวมถึงผู้สแกนมีผลต่อ ความแม่นยำในการพิมพ์รากฟันเทียมแบบดิจิทัล บทความปริทัศน์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกล่าวถึงวิธีการพิมพ์ รากฟันเทียมแบบดิจิทัลโดยการใช้สแกนบอดี้ร่วมกับเครื่องสแกนในช่องปาก และปัจจัยที่ส่งผลต่อความแม่นยำ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้งานทางคลินิกต่อไป</p> <p>Abstract:</p> <p>A scanbody is a device attached to a dental implant fixture and is used in conjunction with an intraoral scanner for digital implant impressions. Studies that investigate the accuracy of digital implant impression often focus on the position of the scanbody, which represents the position and angulation of the implant fixture. Literature reviews indicate that factors such as the design and materials of the scanbody, types of intraoral scanners, software system, the level, inclination, distance, and position of dental implants, the scanning environment, and the operator’s skill can affect the accuracy of digital dental implant impressions. The objective of this review article is to provide an overview of method for digital dental implant impression using scanbody and intraoral scanner, as well as to discuss the factors that can impact accuracy, for further advancements in clinical applications.</p>2024-12-17T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 Srinakharinwirot University Dental Journal (E-ISSN 2774-0811)https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/16505การเตรียมพื้นผิวไทเทเนียม และโลหะผสมไทเทเนียมเพื่อเพิ่มการยึด ติดกับวัสดุยึดติดชนิดเรซิน: การทบทวนวรรณกรรม2024-12-04T08:14:02+00:00ขวัญหทัย กองคำบุตรkwanhataik92@gmail.comทัชชกร กุลติยะรัตนะswudentj@yahoo.comภัทริกา อังกสิทธิ์swudentj@yahoo.comอาภาพร พงษ์ภัทรินทร์swudentj@yahoo.comพิสัยศิษฎ์ ชัยจรีนนท์pisaisit.c@cmu.ac.th<p>ไทเทเนียม และโลหะผสมไทเทเนียมถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของรากฟันเทียม โดยเฉพาะหลักยึด สิ่งปลูกฝัง ซึ่งทำหน้าที่รองรับชิ้นงานบูรณะบนรากฟันเทียม อย่างไรก็ตามหลักยึดสิ่งปลูกฝังไทเทเนียมนั้นมีข้อจำกัด ในด้านความสวยงาม เนื่องจากมีสีที่เข้มทึบ และสามารถแสดงสีผ่านเนื้อเยื่อรอบรากฟันเทียมได้ เพื่อแก้ไขปัญหา ดังกล่าว จึงพิจารณาเลือกใช้หลักยึดสิ่งปลูกฝังชนิดสองชิ้น โดยอาศัยฐานโลหะผสมไทเทเนียมยึดติดกับหลักยึด สิ่งปลูกฝังวัสดุเซอร์โคเนีย หรือยึดติดกับครอบฟันโดยตรงด้วยวัสดุยึดติดชนิดเรซิน ซึ่งการยึดติดระหว่างวัสดุทั้ง สองชนิดดังกล่าวกับฐานโลหะผสมไทเทเนียมนั้น ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความทนทาน และความสำเร็จ ของวัสดุบูรณะบนรากฟันเทียม ดังนั้นการเตรียมพื้นผิวของวัสดุไทเทเนียม และโลหะผสมไทเทเนียมด้วยวิธีทางกล และวิธีทางเคมี จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้เกิดการยึดติดกับวัสดุยึดติดชนิดเรซินที่ดีขึ้น อันจะนำไปสู่ความสำเร็จ และความคงทนของวัสดุบูรณะบนรากฟันเทียมต่อไป</p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>Titanium and titanium alloy have been widely used as essential components in dental implant systems. One of their applications is implant abutments, which support restoration for dental implants. However, titanium abutments have aesthetic limitations due to their dense and dark color, which can be shown through the peri-implant tissue. To deal with this challenge, a two-piece abutment system has been considered, using a titanium alloy base attached to the abutment part. This base can be connected to the zirconia abutment or directly to the crown using resin cement. Adhesion between these two different types of materials is a critical factor influencing the durability and success of the restoration. Therefore, the surface treatment of both titanium and titanium alloy materials using mechanical and chemical methods must be done to promote better adhesion with the resin cement, which will contribute to increased success and longevity of dental implant restorations.</p>2024-12-17T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 Srinakharinwirot University Dental Journal (E-ISSN 2774-0811)https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/16488กองบรรณาธิการ ว.ทันต.มศว ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม) พ.ศ. 25672024-12-02T02:52:04+00:00วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒswudentj@yahoo.com<p>สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านครับ สำหรับวิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ฉบับที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2567 ทางกองบรรณาธิการได้คัดสรรผลงานทางวิชาการที่หลากหลายและมีคุณภาพมา เผยแพร่เช่นเดิมครับ อันประกอบไปด้วยบทวิทยาการจำนวน 11 บทความ ครอบคลุมสาขาทันตกรรมชุมชน ทันตกรรมจัดฟัน ทันตกรรมบูรณะและทันตกรรมประดิษฐ์ วิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก และชีววิทยาช่องปาก และบทความปริทัศน์ จำนวน 2 บทความ ในสาขาทันตกรรมประดิษฐ์และทันตกรรมรากเทียมครับ</p> <p>ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2567 นี้ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้เป็นเจ้าภาพในการจัดงานประชุมขององค์กรผู้บริหารคณะทันตแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 21 ระหว่างวันที่ 13-15 พฤศจิกายนพ.ศ. 2567 ณ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งภายในงานจะมีการนำเสนอและประกวดผลงานวิจัยทั้งในปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา จึงขอเรียนเชิญทุกท่านที่สนใจเข้าร่วมงานในครั้งนี้ด้วยครับ</p> <p>ในฐานะตัวแทนของกองบรรณาธิการ ผมขอขอบพระคุณผู้นิพนธ์ทุกท่านที่ได้มอบความไว้วางใจให้วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นช่องทางในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และผมขอขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่ได้อุทิศและทุ่มเทแรงกายใจในการพิจารณาบทความทางวิชาการให้ถูกต้องและเป็นไปตามมาตรฐานครับ วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ยังคงเปิดรับบทความทางวิชาการประเภทต่างๆ ทั้งบทความวิจัย บทความปริทัศน์ และรายงานผู้ป่วยที่น่าสนใจตลอดทั้งปีครับ จึงขอเชิญชวน ผู้นิพนธ์ทุกท่านส่งบทความทางวิชาการมาได้เลยครับ ตามช่องทางที่ได้แนะนำไว้ในช่วงแรกของวิทยาสารครับ</p> <p>สุดท้ายนี้ผมขออำนวยพรให้กองบรรณาธิการทุกท่าน ท่านผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นิพนธ์และผู้อ่านทุกท่าน มีแต่ความสุขกายสุขใจ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และคิดสมหวังในทุกๆสิ่งตามที่ท่านปรารถนาตลอดทั้งปีนี้ครับ แล้วพบกันอีกครั้งในฉบับที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2568 ครับ</p> <p>ผศ.ดร.ทพ.ชัชพันธุ์ อุดมพัฒนากร <br />บรรณาธิการวิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</p>2024-12-17T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 Srinakharinwirot University Dental Journal (E-ISSN 2774-0811)https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/16490ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การตระหนักรู้ส่วนบุคคล เรื่องโภชนาการกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ ภาคตะวันออกของไทย2024-12-02T06:29:55+00:00สรสัณห์ รังสิยานนท์sorasun@g.swu.ac.thเสรีนา สิรรัตน์ สกุลณะมรรคาserena@g.swu.ac.th<p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การตระหนักรู้ส่วนบุคคลเรื่องโภชนาการ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุในจังหวัดภาคตะวันออกของไทย</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ:</strong> โดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วยสามส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล การตระหนักรู้ส่วนบุคคลเรื่องโภชนาการ และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร โดยการสุ่มเลือกผู้สูงอายุจำนวน 825 คนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปภาคตะวันออกของไทย และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา Independent T-Test และ ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ร่วมกับสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ด้วยระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้สูงอายุจำนวน 825 คน ช่วงอายุตั้งแต่ 61 ปี ถึง 84 ปี อายุเฉลี่ย 70.30 ปี โดยเป็น เพศชาย ร้อยละ 45.50 เพศหญิงร้อยละ 55.50 พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ (p < 0.05) ระดับการศึกษา (p = 0.00) รายได้ของครอบครัว (p = 0.00) และการอยู่ร่วมกับสมาชิกในครอบครัว (p = 0.00) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร รวมถึงการตระหนักรู้ส่วนบุคคลเรื่องโภชนาการ ทั้งสามหัวข้อ ได้แก่ การตระหนักรู้ทางอารมณ์ การประเมินตนเองอย่างแม่นยำ และความมั่นใจในตนเอง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ พฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างมีนัยสำคัญ (r = 0.16, 0.24 และ 0.29, p = 0.00)</p> <p><strong> สรุปผล:</strong> ปัจจัยส่วนบุคคล และการตระหนักรู้ส่วนบุคคลเรื่องโภชนาการ มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกของไทยอย่างมีนัยสำคัญ</p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p><strong>Objective:</strong> This study aims to examine the relationship between personal factors, nutrition awareness, and food consumption behavior among older adults in the Eastern part of Thailand.</p> <p><strong>Materials and Methods:</strong> A structured questionnaire was utilized, comprising three sections covering personal information, nutrition awareness, and food consumption behavior. The sample consisted of 825 participants aged 60 years and above. Descriptive statistics, independent t-tests, one-way analysis of variance (ANOVA), and Pearson’s correlation were employed to analyze the data at a 95% confidence level.</p> <p><strong>Results:</strong> The study included 825 older adults with an average age of 70.30 years, ranging from 61 to 84 years. Among the participants, 45.50% were male and 55.50% were female. The findings indicated significant positive correlations between gender (p < 0.05) educational level (p = 0.00), family income (p = 0.00), and living with family members (p = 0.00), with food consumption behavior. Furthermore, emotional awareness, accurate self-assessment, and self-confidence were significantly associated with food consumption behavior among the older adult population. (r = 0.16, 0.24 and 0.29, p = 0.00)</p> <p><strong> Conclusion:</strong> Personal factors and personal awareness of nutrition have a significant positive relationship with the food consumption behavior of the older adults in the eastern region of Thailand</p>2024-12-17T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 Srinakharinwirot University Dental Journal (E-ISSN 2774-0811)https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/16491การรับรู้ภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒของผู้ใช้บริการ: การศึกษานำร่อง2024-12-02T06:54:21+00:00เสรีนา สิรรัตน์ สกุลณะมรรคาserena@g.swu.ac.thสรสัณห์ รังสิยานนท์sorasun@g.swu.ac.thศุภวิช อิศรางกูร ณ อยุธยาsupawit@g.swu.ac.thกุลรดา รุจาธนนันท์kulrada.181@gmail.comชนิภา อาชาประดิษฐ์กุลchanipa.archapraditkul@g.swu.ac.thภวรัญชน์ ณัฐคุณานนท์pawarun72@gmail.comฤกษ์บุษยา กุลศิริrerkbusaya@gmail.com<p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาการรับรู้ภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในกลุ่มผู้เข้ารับบริการทางทันตกรรม</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ:</strong> ใช้การวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม ประเด็นการรับรู้และประสบการณืที่เกี่ยวข้องกับภาพลักษณ์ในแต่ละด้านการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม โดยข้อมูลที่ได้รับนำไปสรุปผลโดยใช้ความถี่และค่าเฉลี่ย ใช้การบรรยายเชิงพรรณาและสถิติทดสอบไคสแควร์ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ95 นอกจากนี้ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยนำข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และจัดหมวดหมู่ เพื่อวิเคราะห์ประเด็นสำคัญต่าง ๆ</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> จากจำนวนประชากรที่ตอบแบบสอบถาม 116 คน เป็นเพศชาย 40 คน (34.71%) และ หญิง 76 คน (65.29%) ช่วงอายุที่มีความถี่สูงสุดคือ 25-59 ปี (49.14%) พบว่า การรับรู้ภาพลักษณ์โดยรวมของโรงพยาบาลทันตกรรมฯ อยู่ในด้านบวก คือ จากการศึกษาเชิงปริมาณ มีความเห็นด้วยมากที่สุดในแต่ละด้าน ตามลำดับดังนี้ คือ ด้านชื่อเสียงของโรงพยาบาลทันตกรรมฯ (ค่าเฉลี่ย 5.36) ด้านความสามารถของทันตแพทย์ และผู้ช่วยทันตแพทย์ (ค่าเฉลี่ย 5.52) ด้านการดูแลเอาใจใส่ของเจ้าหน้าที่ (ค่าเฉลี่ย 5.50) ด้านสภาพแวดล้อมทั่วไป (ค่าเฉลี่ย 5.25) และมีด้านการประชาสัมพันธ์ ที่มีความเห็นระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.84) เมื่อนำข้อมูลที่ได้รับจาก แบบสอบถามเชิงปริมาณมาทดสอบทางสถิติ ปัจจัยด้านอายุมีผลต่อภาพลักษณ์ ประเด็นด้านความสามารถของทันตแพทย์และผู้ช่วยทันตแพทย์ ด้านการดูแลเอาใจใส่ของเจ้าหน้าที่ และด้านสภาพแวดล้อมทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p < 0.05) ไม่พบว่าปัจจัยด้านอายุความสัมพันธ์ต่อการรับรู้ด้านชื่อเสียงของโรงพยาบาลทันตกรรมฯ (p > 0.05) จากการศึกษาเชิงคุณภาพมีผู้ใช้บริการมีการรับรู้ภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลทันตกรรมฯ ด้านชื่อเสียง และด้านความสามารถของทันตแพทย์และผู้ช่วยทันตแพทย์เป็นที่พึงพอใจ อย่างไรก็ตามการปรับปรุงด้านสิ่งแวดล้อม และการประชาสัมพันธ์ เป็นประเด็นที่ควรดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อภาพลักษณ์มากยิ่งขึ้น ผลจากการวิเคราะห์เนื้อหาพบว่าผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจในชื่อเสียงและความสามารถของทันตแพทย์ แต่ยังมีความต้องการให้ปรับปรุงด้านสภาพแวดล้อมและการประชาสัมพันธ์ ผู้ใช้บริการให้ข้อเสนอแนะในการเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในโรงพยาบาลให้มีความทันสมัยมากขึ้น</p> <p><strong>สรุป:</strong> ในภาพรวมของการศึกษาครั้งนี้ พบว่าทางการศึกษาเชิงปริมาณและคุณภาพมีผู้ใช้บริการมีการรับรู้ภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มศว ในทางที่น่าพึงพอใจ อย่างไรก็ตามการปรับปรุง ด้านสิ่งแวดล้อมและการประชาสัมพันธ์เป็นประเด็นที่ควรดำเนินการเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ ต่อภาพลักษณ์มากยิ่งขึ้น</p> <p><strong>Abstract </strong></p> <p><strong>Objective:</strong> The aim of this study is to explore the perception of dental hospital image among dental service recipients at the Faculty of Dentistry, Srinakharinwirot University.</p> <p><strong>Materials and Methods:</strong> This research employed a blend of quantitative and qualitative methodologies. Data were gathered through a questionnaire aimed at assessing perceived issues and experiences pertaining to various aspects of image. In addition, in-depth interviews and focus group discussions were conducted. The gathered data were summarized using frequency and mean for descriptive analysis, and statistical analysis was performed utilizing the chi-square test at a 95% confidence level. Additionally, content analysis was used by taking data from interviews and focus group discussions, and categorizing it to analyze key themes and issues.</p> <p><strong>Results:</strong> The study included a total of 116 participants who completed the questionnaire, comprising 40 males (34.71%) and 76 females (65.29%). The most frequent age group among participants was between 25 and 59 years old, accounting for 49.14% of the total. Statistical analysis indicated that age had no significant impact on the perception of the dental hospital’s reputation (p > 0.05). However, age did significant relationship with the perception of certain image-related aspects, including the competence of dentists and dental assistants, as well as the overall quality of care provided by the staff and the general environment (p < 0.05). Based on the findings of the qualitative study, service users held specific perceptions of the dental hospital’s image. They generally regarded the reputation and abilities of both dentists and dental assistants as satisfactory. However, there is room for improvement in the areas of the hospital’s environment and its public relations. Addressing these aspects is essential to enhance overall satisfaction among service recipients with the hospital’s image. Results from the content analysis revealed that service users were satisfied with the reputation and competence of the dentists, but there were demands for improvements in the hospital’s environment and public relations. Service users suggested increasing publicity through online media channels and enhancing the hospital’s environment to be more modern.</p> <p><strong>Conclusions:</strong> In the broader context of this study, the combined quantitative and qualitative analyses indicate that service users generally perceive the image of the Faculty of Dentistry, SWU as satisfactory. However, there is a clear need for further efforts to enhance the hospital’s environment and improve its public relations. Addressing these aspects is crucial for increasing overall satisfaction among service recipients and enhancing the institution’s image.</p>2024-12-17T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 Srinakharinwirot University Dental Journal (E-ISSN 2774-0811)https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/16492การวิเคราะห์สารลดการเสียวฟันพื้นฐานพอลิเมอร์บนเนื้อฟันมนุษย์ ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด2024-12-02T07:10:22+00:00อธิมาศ ชัฎอนันต์athimas.cha@gmail.comเกศราภรณ์ คะชา6132201002@lamduan.mfu.ac.thชิษณุชา อุ่นบ้าน6132201006@lamduan.mfu.ac.thเบญญาภา พฤกษ์อัครกูล6132201024@lamduan.mfu.ac.thณภัทร์ ลัภนาเคนทร์6132201018@lamduan.mfu.ac.thวรุณี เกิดวงศ์บัณฑิตvasria@hotmail.com<p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> ศึกษาผลของสารลดการเสียวฟันพื้นฐานพอลิเมอร์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดต่อการอุดท่อเนื้อฟัน ความลึกของสารที่สามารถเข้าไปในท่อเนื้อฟัน และการคงอยู่ของสารในท่อเนื้อฟัน</p> <p><strong>วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ:</strong> แผ่นเนื้อฟันกรามใหญ่ซี่ที่สามจำนวน 24 ชิ้น ถูกกัดผิวเนื้อฟันด้วยกรดฟอสฟอริก ร้อยละ 37 แบ่งเป็น 6 กลุ่ม ๆ ละ 4 ชิ้น กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม กลุ่ม 2 ทาสารลดการเสียวฟันเอ็มเอสพอลิเมอร์ กลุ่ม 3-6 ทาสารลดการเสียวฟันเอ็มเอสพอลิเมอร์ แล้วไปแช่ในนํ้ารีเวอร์สออสโมซิส เป็นเวลา 1 3 6 และ 12 ชั่วโมง ตามลำดับ ศึกษาการอุดท่อเนื้อฟันและความลึกของสารที่เข้าไปในท่อเนื้อฟันของแผ่นเนื้อฟันทั้งหมด ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดในแนวตัดขวางและแนวความยาวของท่อเนื้อฟัน</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> ท่อเนื้อฟันหลังกัดกรดฟอสฟอริกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.34-3.43 ไมโครเมตร เฉลี่ย 2.94 ไมโครเมตร การทาสารลดการเสียวฟันพื้นฐานเอ็มเอสพอลิเมอร์ พบสารอุดท่อเนื้อฟันและลึกเข้าไปในท่อ เนื้อฟัน โดยสารสามารถเข้าไปในท่อเนื้อฟันลึก 105.75-119.42 ไมโครเมตร ที่กำลังขยาย 1,000 เท่า จำนวน ผลึกของสารลดลงเมื่อเวลาผ่านไปหลังแช่ในน้ำรีเวอร์สออสโมซิสเป็นเวลา 1 3 6 และ 12 ชั่วโมง ตามลำดับ เริ่มจากก่อนแช่ร้อยละ 83.34 และลดลงจนเป็นร้อยละ 73.47 66.20 56.32 และ 46.19 (ภาพตัดขวางท่อเนื้อฟัน) เริ่มจากก่อนแช่ร้อยละ 78.31และลดลงจนเป็นร้อยละ 73.61 58.68 56.24 และ 43.35 (ภาพขนานท่อเนื้อฟัน) สารลดการเสียวฟันพื้นฐานพอลิเมอร์ในทุกกลุ่มอุดท่อเนื้อฟันโดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อ เทียบกับแผ่นเนื้อฟันที่ถูกกรดกัดที่กำลังขยาย 1,000 เท่า (p < 0.01)</p> <p><strong>สรุป:</strong> สารลดการเสียวฟันพื้นฐานพอลิเมอร์มีประสิทธิภาพและคงอยู่ ในการอุดและลึกเข้าไปในท่อเนื้อฟัน มากกว่าร้อยละ 50 หลังทาสาร 12 ชั่วโมง</p> <p> </p> <p><strong>Abstract </strong></p> <p><strong>Objectives:</strong> To evaluate the effects of polymer-based desensitizing agent by scanning electron microscope that occludes, penetrates into and persists in the dentinal tubules.</p> <p><strong>Materials and Methods:</strong> Twenty-four dentine discs from third molars were etched with 37% phosphoric acid and divided into 6 groups (each group 4 pieces); Group 1: served as control, Group 2: applied with MS polymer desensitizer, Group 3-6: applied with MS polymer desensitizer and immersed in reversed osmosis water for 1, 3, 6 and 12 hours, respectively. All dentine discs were examined dentinal tubule occlusion and penetration by SEM in both cross-sectional and longitudinal views.</p> <p><strong>Results:</strong> The diameters of dentinal tubules that etched with phosphoric acid were 2.34 to 3.43 μm and the mean was 2.94 μm. The MS polymer-based desensitizing agent occluded and penetrated into the dentinal tubules at the depth from 105.75 to 119.42 μm on magnification 1,000X. When the samples were immersed in reverse osmosis water for 1, 3, 6 and 12 hours, the particles decreased respectively from before immersed 83.34 to 73.47, 66.20, 56.32 until 46.19 % in crosssectional view and from before immersed 78.31 to 73.61, 58.68, 56.24 until 43.35 % in longitudinal view. The polymer-based desensitizing agent in all groups were statistically significant difference occluded dentinal tubules compared to etched dentine discs on magnification 1,000X (p < 0.01).</p> <p><strong>Conclusion:</strong> Polymer-based desensitizing agent has efficiency and persist in dentinal tubule occlusion and penetration more than 50% after 12 hours of application.</p>2024-12-17T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 Srinakharinwirot University Dental Journal (E-ISSN 2774-0811)https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/16496การทดสอบประสิทธิภาพโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ ช่องปากที่มีต่อพฤติกรรมป้องกันโรคเหงือกอักเสบของผู้ป่วยจัดฟัน2024-12-03T09:31:11+00:00นีรนาท ถิระศุภะneeranart@g.swu.ac.thอังศินันท์ อินทรกำแหงungsinun@g.swu.ac.thเกศกาญจน์ เกศวยุธkasekarn.k@chula.ac.th<p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> โรคเหงือกอักเสบเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยจัดฟัน เนื่องจากเครื่องมือจัดฟันชนิดติดแน่น ทำให้ทำความสะอาดฟันได้ยากขึ้น และเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากกว่าคนทั่วไป จึงเป็นที่มาของงานวิจัยในการสร้าง และพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากที่มีต่อพฤติกรรมป้องกันโรคเหงือกอักเสบของผู้ป่วย จัดฟัน ที่มีการผสมผสานแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์และการรับรู้ความสามารถของตนเองมา ประยุกต์ใช้ร่วมกัน</p> <p><strong> วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ:</strong> กลุ่มตัวอย่างคือผู้ใหญ่ที่จัดฟันด้วยเครื่องมือชนิดติดแน่นอายุ 25-44 ปี จ.นครนายก ขนาดกลุ่มตัวอย่างในการทดสอบรายบุคคลจำนวน 3 คน รายกลุ่มจำนวน 10 คน และกลุ่มตัวอย่างจริง 30 คน ทำการทดสอบประสิทธิภาพและพัฒนาโปรแกรมในแต่ละขั้นตอนจากการทดสอบรายบุคคล รายกลุ่ม และ กลุ่มตัวอย่างจริง ทดสอบด้วยสถิติ One-sample T-test จากเกณฑ์ 75/75 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 จนได้ โปรแกรมฉบับสมบูรณ์</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> จากการตรวจสอบความเหมาะสมและความสอดคล้องของโปรแกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน พบว่า 7 ขั้นตอนของกิจกรรมในโปรแกรมมีค่าเฉลี่ย 4.42 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน กล่าวคือ มีความ เหมาะสมในระดับมาก จึงนำไปทดสอบประสิทธิภาพต่อไป ผลการประเมินรายบุคคลพบว่าประสิทธิภาพด้าน กระบวนการต่อประสิทธิภาพของผลผลิต (E1/E2) เท่ากับ 75.24/75.98 รายกลุ่มเท่ากับ 76.13/76.53 และกลุ่ม ตัวอย่างจริงเท่ากับ 77.78 / 83.10 ซึ่งสูงกว่าจากเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> <p><strong>สรุป:</strong> โปรแกรมที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพในการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากที่มีต่อพฤติกรรม ป้องกันโรคเหงือกอักเสบ สามารถนำมาใช้ในการสอนทันตสุขศึกษาในผู้ป่วยจัดฟันต่อไป</p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p><strong>Objective:</strong> Gingivitis is a common disease in orthodontic patients with fixed orthodontic appliances due to cleaning challenges, increasing their risk of disease. This study aimed to develop an oral health literacy (OHL) program to improve gingivitis prevention behavior in these patients. The program also incorporating experiential learning and self-efficacy theories to enhance patient understanding and compliance.</p> <p><strong>Materials and Methods:</strong> Participants were adults (25-44 years) with fixed braces in Nakhon Nayok Province. The program underwent individual, small group, and experimental group testing at each step to improve efficacy and achieve the final version. Sample sizes for the individual trial, group trials, and experimental group were 3, 10, and 30, respectively. A one-sample t-test was used to compare effectiveness to the 75/75 criterion.</p> <p><strong>Results:</strong> Five experts evaluated the program’s suitability, granting an average score of 4.42 from 5.0, indicating high appropriateness. Individual testing showed a process efficiency to product efficiency ratio (E1/E2) of 75.24/75.98, while the small group test yielded 76.13/76.53, and the experimental group achieved 77.78/83.10. These results significantly surpassed the 75/75 criterion at the 0.01 level.</p> <p><strong>Conclusions:</strong> The program effectively developed OHL on gingivitis prevention behavior and is suitable for oral health education in patients with fixed braces.</p> <p> </p>2024-12-17T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 Srinakharinwirot University Dental Journal (E-ISSN 2774-0811)https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/16497ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟันในกลุ่มเด็กวัยเรียนเขตพื้นที่อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง2024-12-03T09:43:15+00:00ณฐพงศ์ คงใหม่natapongkongmai@gmail.comเกษม ชูรัตน์kasem.ch@rumail.ru.ac.th<p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาการยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟัน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยึดติด ของสารเคลือบหลุมร่องฟัน</p> <p><strong>วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ:</strong> เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้า (Cohort Study) มีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเป็นเด็กวัยเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 349 คน ที่เคยได้รับบริการเคลือบหลุมร่องฟันกรามแท้ซี่ที่ 1 หรือซี่ที่ 2 มาแล้วเป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยใช้เครื่องมือตรวจฟัน แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก มีค่า Cronbach’s Alpha เท่ากับ 0.729 แบบบันทึกการยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟันและสภาวะฟันผุ มีค่า Kappa เท่ากับ 0.98 และ 1.00 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมานโดยใช้ สถิติ Chi - square</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> เด็กวัยเรียนมีการยึดติดสมบูรณ์ของสารเคลือบหลุมร่องฟัน ร้อยละ 49.6 ผลการทดสอบ สมมุติฐานพบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างการยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟันกับอายุของเด็ก วัยเรียน (p = 0.022) และการพบฟันผุบนด้านที่เคลือบหลุมร่องฟัน (p = <0.001)</p> <p><strong>สรุป:</strong> อายุของเด็กวัยเรียน และการพบฟันผุบนด้านที่เคลือบหลุมร่องฟันมีความสัมพันธ์กับการยึดติดของ สารเคลือบหลุมร่องฟัน</p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p><strong>Objective:</strong> To study the retention of dental sealant and factors related to retention of dental sealant.</p> <p><strong>Material and Methods:</strong> This Cohort study was conducted, enrolling 349 school-age children (aged 6-12 years) who received sealants on their first or second molars by purposive sampling. Data were collected using a dental exploratory set, oral health care behavior questionnaires (Cronbach’s Alpha equal to 0.729), and forms for recording dental sealant retention and dental caries (Kappa test equal to 0.98 and 1.00). The descriptive statistic and inferential statistics, including the Chi-square test, were performed to analyze data.</p> <p><strong>Results:</strong> 49.6% retention of sealant was full retention. The results of the hypothesis test indicated that retention of sealant was related to the age of children (p = 0.022) and dental caries on the sealanted tooth (p = <0.001)</p> <p><strong>Conclusions:</strong> The age of children and the presence of dental caries on the sealanted tooth were related to sealant retention.</p>2024-12-17T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 Srinakharinwirot University Dental Journal (E-ISSN 2774-0811)https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/16498ผลของการปรับปรุงผิวไทเทเนียมด้วยกระบวนการอโนไดซ์และความหนาของเซรามิกต่อความสามารถในการปิดสีหลักยึดรากเทียมของเซรามิกแอดวานซ์ลิเทียมไดซิลิเกต2024-12-03T09:49:40+00:00วิบุลย์ ไพศาลกอบฤทธิ์ vibul@g.swu.ac.thณัฐพล กิตติคุณเดชาnuttaphon@g.swu.ac.thบุณยานุช บุญนำมาaoeydentssw@gmail.comปพิชญา อินทจักร papichaya@g.swu.ac.thอภิรัตน์ ฤทธิ์ฐิติ apiratr@g.swu.ac.thกตัญญู หลิมไชยกุลKatanyoo@g.swu.ac.thชาญศักดิ์ สุขะจินตนากาญจน์charnsak@g.swu.ac.th<p><strong>จุดประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาความสามารถในการปิดสีหลักยึดรากเทียมประเภทต่าง ๆ ของเซรามิกชนิดแอดวานซ์ ลิเทียมไดซิลิเกตที่ความหนาต่างๆเปรียบเทียบกับเซรามิกชนิดลิเทียมไดซิลิเกต</p> <p><strong>วัสดุและอุปกรณ์:</strong> ชิ้นงานเซรามิกถูกเตรียมจากบล็อกเซเรคเทสเซอราและไอพีเอสอีแมกความโปร่งแสง ปานกลาง สี A2 แบ่งเป็น 4 กลุ่มความหนา คือ 1.0 1.5 2.0 และ 2.5 มิลลิเมตร กลุ่มละ 8 ชิ้น วัดค่าสีด้วย เครื่องสเปกโทรโฟโตมิเตอร์เพื่อใช้ในการหาค่าความโปร่งแสงและค่าความแตกต่างของสีของเซรามิกบนพื้นหลัง ไทเทเนียมและไทเทเนียมที่ผ่านการทำอโนไดซ์สีเหลืองกับบล็อกอ้างอิง สำหรับค่าความโปร่งแสงทำการวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบสองทางและการจับคู่แบบทูกีย์ สำหรับค่าความแตกต่างของสีใช้การทดสอบครัสคาล-วัลลิส และการเปรียบเทียบแพร์ไวส์ (α = 0.05) ร่วมกับเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของสี</p> <p><strong>ผลการทดลอง:</strong> ชนิดและความหนาของเซรามิกมีอิทธิพลร่วมกันต่อค่าความโปร่งแสง ความหนาและ ชนิดของไทเทเนียมมีผลต่อค่าความแตกต่างของสีซึ่งแตกต่างกันออกไปตามชนิดของเซรามิก</p> <p><strong>สรุปผล:</strong> เซรามิกชนิดแอดวานซ์ลิเทียมไดซิลิเกตมีค่าความโปร่งแสงตํ่ากว่า และสามารถปิดสีหลักยึด รากเทียมได้ทั้งไทเทเนียมและไทเทเนียมที่ผ่านการอโนไดซ์เป็นสีเหลือง ในขณะที่เซรามิกลิเทียมไดซิลิเกตต้องใช้ การอโนไดซ์หลักยึดรากเทียมไทเทเนียมเป็นสีเหลืองเพื่อช่วยในการสร้างความกลมกลืนของสีกับชิ้นงานบูรณะ</p> <p><strong>Objective: </strong>The purpose of this vitro study was to determine masking ability for different implant abutment substrates of Advanced lithium disilicate comparing Lithium disilicate.</p> <p><strong> Materials and methods:</strong> 2 types of CAD/CAM glass-ceramic blocks: IPS e.max CAD (ECAD), and CEREC tessera (TESS) with medium translucency (MT) in shade A2 were sectioned into 4 groups of thickness (1.0 mm, 1.5 mm, 2.0 mm, and 2.5 mm), containing 8 pieces per group. Implant abutment backgrounds were fabricated from titanium (Ti) and yellow anodized titanium (TiY). The translucency parameters (TP00), and the color differences(ΔE00) of ceramic were measured by dental spectrophotometer. Statistical analysis was made by 2-way ANOVA and Turkey post hoc tests for TP00 values (α = 0.05). The ΔE00 values were analyzed by Kruskal-Wallis and Pairwise comparison (α = 0.05). Additionally, the data were analyzed considering the acceptability (AT) and perceptibility thresholds (PT).</p> <p><strong>Results:</strong> Type of ceramic and thicknesses significantly influenced TP00. Thicknesses of ceramic and type of titanium background significantly influenced ΔE00.</p> <p><strong>Conclusion:</strong> Translucency parameter of Advanced lithium disilicate was lower than Lithium disilicate. Advanced lithium disilicate was able to mask color of both titanium and yellow anodized titanium. Lithium disilicate together with yellow anodized titanium were able to mask metal color of titanium.</p>2024-12-17T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 Srinakharinwirot University Dental Journal (E-ISSN 2774-0811)https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/16499การเปลี่ยนแปลงระดับไอระเหยสารประกอบซัลเฟอร์ภายหลังการบ้วนนํ้ายาบ้วนปากผสมสมุนไพรกระชาย2024-12-04T06:54:32+00:00มหัทธน พูลเกษร triumph876@outlook.comไอริศรา ศิริสุนทร swudentj@yahoo.comสุมลตรา จำนงค์patty_sumon@hotmail.comศรีแพร แสงพัน sriprae.sengpun@gmail.comทิพยพรรณ สาธิตธรรมพร thipfern@tu.ac.thอินทัด ศรีประเสริฐintads@tu.ac.thพรพล แสนปัญญาไวpsanpanyawai@gmail.com<p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาผลของนํ้ายาบ้วนปากผสมสมุนไพรต่อการลดความเข้มข้นไอระเหยสารประกอบซัลเฟอร์ ที่ระยะเวลาต่างๆ ภายหลังการบ้วน 1 ครั้ง</p> <p><strong>วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: </strong> กลุ่มตัวอย่างที่ปฏิเสธโรคประจำตัว จำนวน 30 คน เข้ารับการตรวจวัดความเข้มข้นไอระเหย สารประกอบซัลเฟอร์ด้วยเครื่องออรัลโครมาวัน เพื่อเป็นข้อมูลเริ่มต้น จากนั้นให้บ้วนนํ้ายาบ้วนปากสมุนไพรนาน 1 นาที แล้วจึงตรวจวัดทันที และทุก ๆ 30 นาทีจนครบ 120 นาที รวมทั้งสิ้น 6 ครั้ง แล้วนำข้อมูลมาเปรียบเทียบ ระดับความเข้มข้นไอระเหยสารประกอบซัลเฟอร์ที่ช่วงเวลาต่าง ๆ ด้วยสถิติการทดสอบแพร์ทีเทส (Paired T Test) และอโนวา (ANOVA) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> ค่าความเข้มข้นไอระเหยสารประกอบซัลเฟอร์รวม และไฮโดรเจนซัลไฟด์หลังการบ้วน นํ้ายาบ้วนปากสมุนไพรทันที ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับก่อนบ้วนปาก และมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่เวลา 30-120 นาที เมื่อเทียบกับระดับไอระเหยสารประกอบซัลเฟอร์ที่ตรวจวัดทันทีหลังบ้วน ค่าความเข้มข้นเมธิลเมอร์แคปแทน และไดเมธิลซัลไฟด์ ที่ระยะเวลาต่าง ๆ พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับความเข้มข้นก่อนการบ้วนนํ้ายาบ้วนปาก และภายหลังการบ้วนทันทีจนถึง 120 นาทีหลังบ้วน สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ความเข้มข้นไอระเหยสารประกอบซัลเฟอร์รวมเริ่มต้นน้อยกว่า 250 ส่วนในพันล้านส่วน ตั้งแต่ก่อนบ้วนน้ำยาบ้วนปากสมุนไพรพบว่าน้ำยาบ้วนปากไม่สามารถลดความเข้มข้นทั้งของไอระเหยสารประกอบซัลเฟอร์รวมได้ แต่เมื่อพิจารณาในกลุ่มตัวอย่างที่ความเข้มข้นมากกว่า 250 ส่วนในพันล้านส่วน พบว่านํ้ายาบ้วนปากลดความเข้มข้นทั้งของไอระเหยสารประกอบซัลเฟอร์รวม และไฮโดรเจนซัลไฟด์หลังการใช้นํ้ายาบ้วนปากสมุนไพรทันที มีค่าลดลง และเพิ่มกลับมาใกล้เคียงก่อนบ้วนตั้งแต่ช่วง 30 นาทีหลังบ้วนนํ้ายา</p> <p><strong> สรุป:</strong> นํ้ายาบ้วนปากผสมสมุนไพรกระชายสามารถช่วยลดระดับความเข้มข้นของไอระเหยของสารประกอบ ซัลเฟอร์รวมและไฮโดรเจนซัลไฟด์ ภายหลังบ้วนทันที และระดับไอระเหยสารประกอบซัลเฟอร์กลับมาใกล้เคียง ระดับปกติก่อนบ้วนน้ำยาบ้วนปากที่เวลา 30-120 นาที</p> <p><strong>Abstract </strong></p> <p><strong>Objectives:</strong> To investigate how herbal mouthwash affects the concentration of volatile sulfur compound at different times following gargling</p> <p><strong>Materials and Methods: </strong> A sample of 30 people, who denied medical concerns, received measurement of volatile sulfur compound concentration using Oral Chroma 1 as a starting point. Then, gargle the herbal mouthwash for 1 minute, and immediately measure the volatile sulfur compound and every 30 minutes up to 120 minutes as a total of 6 times. The concentration levels of volatile sulfur compounds were then compared at various time points with the Paired T-Test and ANOVA statistics at the 95 percent confidence level.</p> <p><strong>Results:</strong> Hydrogen sulfide and volatile sulfur compound were considerably lower than before after gargling, statistically. They were then, increased between 30 and 120 minutes later, compared to the volatile sulfur compound values recorded immediately. Comparing the levels of methyl mercaptan and dimethyl sulfide at different time points, there were no discernible changes until 120 minutes. In the group with the concentration of volatile sulfur compound before gargling less than 250 ppb, the mouthwash could not lower their level. In the group with more than 250 ppb taken into account, it was discovered that mouthwash decreased the levels of hydrogen sulfide and volatile sulfur compound after using mouthwash immediately but they then increased back to the baseline level.</p> <p><strong>Conclusions:</strong> Lesser galanga mouthwash can reduce the intensity level of volatile sulfur compound and hydrogen sulfide immediately after gargling, Then, the level of volatile sulfur compound returns to close to the level before gargling for 30-120 minutes.</p>2024-12-17T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 Srinakharinwirot University Dental Journal (E-ISSN 2774-0811)https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/16500การแสดงออกของ METTL3 ในรอยโรคอะมีโลบลาสโตมา2024-12-04T07:21:20+00:00สุภิสรา พัชรามันต์fangsupisara.pat@gmail.comชัชพันธุ์ อุดมพัฒนากรchatchaphanudom@yahoo.comภัทรายุ แต่บรรพกุลpathraya@g.swu.ac.th<p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาการแสดงออกของ METTL3 ในรอยโรคอะมีโลบลาสโตมาชนิดถุงนํ้าเดียว และ อะมีโลบลาสโตมาชนิดหลายถุงนํ้า</p> <p><strong>วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ:</strong> ศึกษาด้วยวิธีอิมมูโนฮีสโตเคมีในชิ้นเนื้ออะมีโลบลาสโตมาชนิดถุงนํ้าเดียวจำนวน 11 ตัวอย่าง และอะมีโลบลาสโตมาชนิดหลายถุงนํ้าจำนวน 15 ตัวอย่าง โดยศึกษารูปแบบการติดสี ร้อยละของเซลล์ที่ย้อมติดสี และคะแนนอิมมูโนรีแอคทีฟ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น p < 0.05</p> <p><strong> ผลการศึกษา:</strong> พบการแสดงออกของ METTL3 ในทุกตัวอย่างของรอยโรคอะมีโลบลาสโตมาทั้งสองชนิด โดยกลุ่มรอยโรคอะมีโลบลาสโตมาชนิดถุงนํ้าเดียวพบการติดสีในระดับความเข้มระดับปานกลาง ในขณะที่กลุ่ม รอยโรคอะมีโลบลาสโตมาชนิดหลายถุงน้ำพบการติดสีในระดับความเข้มรุนแรง ซึ่งพบว่าร้อยละค่าเฉลี่ยของเซลล์ ที่มีการติดสี คะแนนร้อยละของเซลล์ที่ย้อมติดสี และคะแนนความเข้มของการติดสีในกลุ่มอะมีโลบลาสโตมา ชนิดหลายถุงนํ้าสูงกว่าอะมีโลบลาสโตมาชนิดถุงนํ้าเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01)</p> <p><strong>สรุป:</strong> การแสดงออกของ METTL3 ในอะมีโลบลาสโตมาชนิดหลายถุงนํ้าสูงกว่าอะมีโลบลาสโตมาชนิด ถุงนํ้าเดียว ซึ่งผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า METTL3 อาจมีประโยชน์ในการเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพต่อพฤติกรรม และความรุนแรงของโรคอะมีโลบลาสโตมาได้</p> <p><strong>Abstract </strong></p> <p><strong>Objective:</strong> To study the expression of METTL3 in unicystic ameloblastoma and conventional ameloblastoma.</p> <p><strong>Materials and Methods:</strong> The expression of METTL3 was assessed by immunohistochemistry. Eleven specimens of unicystic ameloblastoma and fifteen specimens of conventional ameloblastoma were used in the study. The expression pattern, the percentage of stained cells and immunoreactive scores were evaluated. The data were analyzed, and statistical significance was defined as a P value of 0.05.</p> <p><strong>Results:</strong> The results revealed METTL3 expression in all samples of ameloblastomas. In the unicystic ameloblastoma, moderate cell staining intensity was observed mainly in the nucleus of epithelial cells. The intensity of staining cells was increased in conventional ameloblastoma and mainly detected in the nucleus of almost every cell of epithelium. The mean percentage of stained cell, the score of the percentage of stained cell and the staining intensity scores in conventional ameloblastoma was higher than unicystic ameloblastoma, respectively (p < 0.01).</p> <p><strong>Conclusions:</strong> It was found that the expression of METTL3 was higher in conventional ameloblastoma than in unicystic ameloblastoma. The results suggest that METTL3 may be useful as a biomarker to predict the behavior of ameloblastoma.</p>2024-12-17T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 Srinakharinwirot University Dental Journal (E-ISSN 2774-0811)https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/16501การเข้าถึงบริการทันตกรรมของเด็กนักเรียนประถมศึกษาในจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันตกของประเทศไทย2024-12-04T07:40:27+00:00ธันย์ชนก แสงเขียวthanchanoks.dent@gmail.comเสมอจิต พิธพรชัยกุลsamerchit.p@psu.ac.thณัฐพร ยูรวงศ์nattaporn.p@psu.ac.th<p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้บริการทันตกรรมของเด็กประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 ในจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันตก</p> <p><strong>วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ:</strong> การศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางนี้เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามชนิดผู้ตอบ ตอบด้วยตนเองกับผู้ปกครองเด็กชั้น ป.1-6 จำนวน 734 คน ในปีการศึกษา 2565 ระยะเวลา 23 มกราคม ถึง 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติไคสแควร์ การทดสอบของฟิชเชอร์ และการถดถอยโลจิสติกเชิงพหุ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> พบเด็กจำนวน 437 คน (ร้อยละ 59.5) ได้รับบริการทันตกรรมใน 1 ปีที่ผ่านมา เขตชนบท มีสัดส่วนสูงสุดร้อยละ 64.8 รองลงมาคือเขตชายแดนและเขตเมือง ร้อยละ 60.0 และ 47.8 ตามลำดับ ปัจจัยที่ มีความสัมพันธ์กับการรับบริการทันตกรรมคือเขตโรงเรียน โดยเขตชนบทได้รับบริการทันตกรรมใน 1 ปีที่ผ่านมา มากกว่าเขตเมืองเป็น 2 เท่า (adjusted OR = 2.05, 95% CI 1.28-3.28, p = 0.003) การรับรู้ความรุนแรงของ อาการของบุตรหลานในระดับที่ต้องหยุดเรียน (adjusted OR = 2.56, 95% CI 1.36-4.81, p = 0.004) การรับรู้ว่า บุตรหลานมีอาการในช่องปาก ยกเว้นฟันโยก (adjusted OR = 1.64, 95% CI 1.10-2.45, p = 0.016)</p> <p><strong>สรุป:</strong> เด็กในโรงเรียนเขตชนบทมีสัดส่วนการรับบริการทันตกรรมเป็น 2 เท่าของเขตเมือง รองลงมาคือ เขตชายแดน และเขตเมืองมีสัดส่วนน้อยที่สุด ข้อเสนอแนะ ควรพัฒนาระบบบริการทันตกรรมให้ครอบคลุมและ สอดคล้องกับความต้องการของเด็กในแต่ละพื้นที่</p> <p><strong>Abstract </strong></p> <p><strong>Objective:</strong> This study aimed to investigate factors associated with dental service utilization among grade 1-6 elementary school children in Ratchaburi province.</p> <p><strong>Materials and methods:</strong> This cross-sectional analytical study collected data using selfadministered questionnaires from 734 parents of grade 1-6 students in the 2022 academic year, from January 23 to March 20, 2023. Data was analyzed using chi-square test, Fisher’s exact test and multiple logistic regression. The level of significance was fixed at p < 0.05.</p> <p><strong>Results:</strong> The study showed that 437 students (59.5%) received dental services in the past year. Rural areas had the highest proportion at 64.8%, followed by border areas (60.0%) and urban areas (47.8%). Factors associated with dental services received were school area, with rural areas twice as likely to have received services than urban areas in the past year (adjusted OR = 2.05, 95% CI 1.28-3.28, p = 0.003), parent’s perception of the severity of their child’s oral health problem; school absence for dental care (adjusted OR = 2.56, 95% CI 1.36-4.81, p = 0.004), and parent’s perception of their child’s oral health problems except tooth mobility (adjusted OR = 1.64, 95% CI 1.10-2.45, p = 0.016).</p> <p><strong>Conclusions:</strong> Children in rural school areas had twice the dental service utilization rate compared to urban areas, followed by border areas, while urban areas had the lowest rate. Recommendations include developing oral health care systems that comprehensively meet the needs of children in each area.</p>2024-12-17T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 Srinakharinwirot University Dental Journal (E-ISSN 2774-0811)https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/16502ประสิทธิภาพของสารสกัดจากนํ้ามันเมล็ดในปาล์ม นํ้ามันมะพร้าว และน้ำมันงาต่อการยับยั้งเชื้อสเตร๊ปโตคอคคัส มิวแทนส์และแคนดิดา อัลบิแคนส์2024-12-04T07:48:38+00:00ปรมาภรณ์ จิ๋วพัฒนกุล แก้วมณีparamaporn_chiew@hotmail.comนัฐริกา โสรินทร์baity1701@gmail.comภาสวัฒณ์ ยอดหงษ์patsawatphone@gmail.comกนกวรรณ จันทะอ่อนjeanskanokwun@gmail.comจิณณ์วรา เลิศปัญญานภาพรjinwara.lert@gmail.com<p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากนํ้ามันเมล็ดในปาล์ม นํ้ามันมะพร้าว และนํ้ามันงา ในการยับยั้งเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส มิวแทนส์ และ แคนดิดา อัลบิแคนส์</p> <p><strong>วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ:</strong> นำนํ้ามันเมล็ดในปาล์ม นํ้ามันมะพร้าว และนํ้ามันงาที่ไม่ผ่านการสกัดและผ่าน การสกัดด้วยระบบที่ 1 เมทานอล:นํ้ามัน ในอัตราส่วน 1:1 ระบบที่ 2 อะซิโตไนไตรล์:นํ้ามัน ในอัตราส่วน 1:1 ระบบที่ 3 เฮกเซน:เมทานอล:นํ้ามัน ในอัตราส่วน 4:1:2 ระบบที่ 4 เฮกเซน:อะซิโตไนไตรล์:นํ้ามัน ในอัตราส่วน 4:1:2 มาทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส มิวแทนส์และแคนดิดา อัลบิแคนส์ โดยวิธีดิสก์ดิฟฟิวชั่น</p> <p><strong>ผลการทดลอง:</strong> สารสกัดน้ำมันงาในชั้นอะชิโตไนไตรล์ในระบบที่ 4 ให้ฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อสเตร็ปโตคอคคั มิวแทนส์สูงสุด รองลงมาคือน้ำมันงาที่ไม่ผ่านการสกัด น้ำมันเมล็ดในปาล์มในชั้นเมทานอล ระบบที่ 1 และน้ำมันเมล็ดในปาล์มในชั้นเมทานอล ระบบที่ 3 มีฤทธิ์เท่ากัน ถัดมาคือน้ำมันปาล์มในชั้นเฮกเซนในระบบที่ 4 น้ำมันมะพร้าวในชั้นเฮกเซนในระบบที่ 4 มีฤทธิ์เท่ากัน น้ำมันมะพร้าวในชั้นเฮกเซน ระบบที่ 3 และน้ำมันงาในชั้นเฮกเซนระบบที่ 4 มีฤทธิ์เท่ากันเป็นลำดับสุดท้าย น้ำมันเมล็ดในปาล์มที่สกัดโดยระบบที่ 4 ในชั้นเฮกเซนมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์สูงที่สุด รองลงมาได้แก่ น้ำมันเมล็ดในปาล์มที่ไม่ผ่านการสกัด สารสกัดเมล็ดในปาล์มในชั้นเฮกเซนที่สกัดโดยระบบที่ 3 สารสกัดเมล็ดในปาล์มในชั้นเมทานอลที่สกัดโดยระบบที่ 1 สารสกัดเมล็ดในปาล์มในชั้นอะซิโตไนไตรส์ที่สกัดโดยระบบที่ 2 สารสกัดเมล็ดในปาล์มในชั้นเมทานอลที่สกัดโดยระบบที่ 3 และสารสกัดเมล็ดในปาล์มในชั้นอะซิโตไนไตรล์ที่สกัดโดยระบบที่ 4 ตามลำดับ</p> <p><strong>สรุป:</strong> สารสกัดน้ำมันงาในชั้นอะชิโตไนไตรล์ในระบบที่ 4 ให้ฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส มิวแทนส์สูงสุด และน้ำมันเมล็ดในปาล์มที่สกัดโดยระบบที่ 4 ในชั้นเฮกเซนมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์สูงที่สุด</p> <p><strong>Abstract </strong></p> <p><strong>Objective:</strong> To study the effect of the extracts from palm kernel oil, coconut oil and sesame oil for antimicrobial activity on Streptococcus mutans and Candida albicans.</p> <p><strong>Materials and Methods:</strong> Palm kernel oil, coconut oil and sesame oil either without extraction or with extraction by system 1 (methanol:oil, ratio 1:1), system 2 (oil:acetonitrile, ratio 1:1), system 3 (hexane:methanol:oil, ratio 4:1:2), system 4 (hexane:acetonitrile:oil, ratio 4:1:2) were investigated antimicrobial activity on Streptococcus mutans and Candida albicans by disc diffusion method.</p> <p><strong>Results:</strong> The extracted sesame oil in acetonitrile by system 4 gave the highest antimicrobial activity on Streptococcus mutans. Then sesame oil without extraction, the extracted palm kernel oil in methanol by system 1 and the extracted palm kernel oil in methanol by system 3 gave the same antimicrobial activity. Then the extracted palm kernel oil in hexane by system 4 and the extracted coconut oil in hexane by system 4 gave the same antimicrobial activity. Then the extracted coconut oil in hexane by system 3 and the extracted sesame oil in hexane by system 4 gave the same antimicrobial activity which was the latest. The extracted palm kernel oil in hexane by system 4 gave the highest antimicrobial activity on Candida albicans. Then palm kernel oil without extraction, the extracted palm kernel oil in hexane by system 3, the extracted palm kernel oil in methanol by system 1, the extracted palm kernel oil in acetonitrile by system 2, the extracted palm kernel oil in methanol by system 3, the extracted palm kernel oil in acetonitrile by system 4, respectively.</p> <p><strong>Conclusions:</strong> The extracted sesame oil in acetonitrile by system 4 gave the highest antimicrobial activity on Streptococcus mutans. The extracted palm kernel oil in hexane by system 4 gave the highest antimicrobial activity on Candida albicans.</p>2024-12-17T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 Srinakharinwirot University Dental Journal (E-ISSN 2774-0811)https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/16503Accuracy of์ Novel Simplified Periodontal Classification Infographic for Periodontal Diagnosis Among a Group of Thai Dental Students2024-12-04T08:01:11+00:00Papatpong Sirikururatpapatpong.s@rsu.ac.thSupranee Benjasupattananansupranee.b@rsu.ac.th<p><strong>Objective:</strong> To compare the accuracy of periodontal diagnosis using the novel simplified periodontal classification infographic between preclinical and clinical dental students in a group of Thai dental students.</p> <p><strong>Method:</strong> This randomized crossover study included 84 preclinical and clinical dental students from a private dental school in Pathum-Thani, Thailand. They were assigned to diagnose 20 periodontal cases using the proceeding of periodontal diseases and conditions (AAP/EFP 2018) and novel simplified periodontal classification infographic. Twenty fully documented periodontal cases, which had been diagnosed according to new periodontal classification and achieved 100% agreement by three experienced periodontists, were prepared for questionnaires in digital format. Prior to answer questionnaires, 21 participants of each group were assigned to study the proceeding and other 21 participants from each group were designated to learn periodontal classification infographic. After learning period, questionnaires of 20 cases were complete submitted. Subsequently 1 month of wash- period, all participants were alternated to read opposite side of periodontal classification documents and answer these questionnaires again.</p> <p><strong>Results:</strong> After implementation, clinical group were able to diagnose periodontal health cases, gingivitis cases and identify stage and grade of periodontitis significantly higher than preclinical group. Both groups had a significantly increased in accuracy of diagnosis after using novel simplified periodontal classification infographic.</p> <p><strong>Conclusion:</strong> This novel simplified periodontal classification infographic is an effective tool to improve accuracy of periodontal disease diagnosis for both preclinical and clinical dental students.</p>2024-12-17T00:00:00+00:00Copyright (c) 2024 Srinakharinwirot University Dental Journal (E-ISSN 2774-0811)