ผลของสารสกัดแทนนินจากเปลือก Garcinia mangostana L. และ คลอเฮกซิดีนในการยับยั้งการเจริญของเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส มิวแทนส์

Authors

  • สิริรัตน์ บุญดิเรก ภาควิชาโอษฐวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
  • ปรมาภรณ์ จิ๋วพัฒนกุล แก้วมณี ภาควิชาโอษฐวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
  • ณัฐพล กิตติคุณเดชา ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
  • ณภัทร บุนนาค ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เลขที่ 62 หมู่ 7 ถ.รังสิต-นครนายก ต.องครักษ์ อ.องครักษ์ นครนายก 26120
  • ดนุธิดา สาเขตร์ โรงพยาบาลธัญบุรี เลขที่ 140 ถนนรังสิต-นครนายก ต.รังสิต อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12110
  • สิริลักษณ์ ตีรณธนากุล ภาควิชาโอษฐวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

Keywords:

คลอเฮกซิดีน, ดิสก์ดิฟฟิวชั่น, แทนนิน, เปลือกมังคุด, สเตร็ปโตคอคคัส มิวแทนส์, Chlorhexidine, Disk diffusion, Garcinia mangostana L., peel, Streptococcus mutans, Tannin

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการยับยั้งเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส มิวแทนส์ของสารสกัดแทนนินจากเปลือกมังคุด เปรียบเทียบกับคลอเฮกซิดีนกลูโคเนตร้อยละ 0.12 วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: สกัดสารแทนนินจากเปลือกมังคุดโดยใช้เอทานอลร้อยละ 95 แล้วนำมาศึกษา ชนิดด้วยวิธีทางเคมี หาปริมาณแทนนินด้วยวิธีวิเคราะห์เรเดียลดิฟฟิวชั่น จากนั้นทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส มิวแทนส์ ด้วยสารแทนนินเข้มข้น 2, 4, 6, 8 และ 16 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และคลอเฮกซิดีนกลูโคเนต ร้อยละ 0.12 โดยวิธีดิสก์ดิฟฟิวชั่น ผลการศึกษา: สารสกัดจากเปลือกมังคุดเป็นสารคอนเดนส์แทนนิน ที่มีความเข้มข้น 18.69 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร เมื่อนำสารสกัดแทนนินมาทดสอบพบฤทธิ์ของการยับยั้งเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส มิวแทนส์ ซึ่งเพิ่มขึ้นตามปริมาณของสารแทนนิน โดยสารแทนนินเข้มข้น 16 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร มีผลให้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางบริเวณยับยั้งเชื้อสูงที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19.1 ± 0.9 มิลลิเมตร แต่ต่ำกว่าผลทดสอบที่ได้จากสารละลายคลอเฮกซิดีนกลูโคเนตร้อยละ 0.12 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางบริเวณยับยั้งเชื้อเท่ากับ 19.9 ± 1.2 มิลลิเมตร สรุป: สารสกัดแทนนินจากเปลือกมังคุดเข้มข้น 16 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส มิวแทนส์ ไม่ต่างจากผลการยับยั้งเชื้อของคลอเฮกซิดีนร้อยละ 0.12 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 > ว.ทันต.มศว ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2566 หน้า 89-101. > SWU Dent J. 2023;16(1): 89-101.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2023-03-08

How to Cite

1.
บุญดิเรก ส, แก้วมณี ปจ, กิตติคุณเดชา ณ, บุนนาค ณ, สาเขตร์ ด, ตีรณธนากุล ส. ผลของสารสกัดแทนนินจากเปลือก Garcinia mangostana L. และ คลอเฮกซิดีนในการยับยั้งการเจริญของเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส มิวแทนส์. SWU Dent J. [Internet]. 2023 Mar. 8 [cited 2024 Dec. 21];16(1):89-101. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/14041

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)