Srinakharinwirot University Dental Journal https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj <p>วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (SWU Dent J.)<br />เป็นวารสารทางวิชาการของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีนโยบายสนับสนุนการเผยแพร่องค์ความรู้ ผลงานทางวิชาการและวิจัยด้านทันตแพทยศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง การพิจารณาบทความจะกระทำโดยผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้น ๆ จากหลากหลายสถาบันและไม่ซ้ำสังกัดกันอย่างน้อย 3 ท่าน (ไม่มีการเปิดเผยชื่อต่อกันระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิและเจ้าของบทความ)</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ของวิทยาสาร:</strong><br />1. เพื่อเผยแพร่ความก้าวหน้าทางวิชาการและความรู้ใหม่ โดยเน้นทางด้านทันตแพทยศาสตร์และสาขาวิชาการที่เกี่ยวข้อง<br />2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัย รวมทั้งการค้นคว้าที่มีคุณค่าเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ<br />3.เพื่อเป็นสื่อสัมพันธ์ทางวิชาการระหว่างทันตแพทย์และบุคคลอื่นในสาขาที่เกี่ยวข้อง</p> <p><strong>ประเภทของบทความ:</strong><br />1. บทวิทยาการ (Original articles)<br />2. บทความปริทัศน์ (Review articles)<br />3. รายงานผู้ป่วย (Case reports or Case series)<br />4. ปกิณกะ (Miscellanies) ได้แก่ บทความพิเศษที่มีเนื้อหาสาระทางวิชาการและเป็นประโยชน์ทางทันตกรรม</p> <p>โดยเปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จากผู้นิพนธ์ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน และไม่มีค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์</p> <p>SWU Dent J. จัดพิมพ์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548-2564 (ISSN 1905-0488)<br />ตีพิมพ์ฉบับออนไลน์ (E-ISSN 2774-0811) ตั้งแต่ปี 2565 จนถึงปัจจุบัน<br />SWU Dent J. อยู่ในฐาน TCI กลุ่ม 1 และ ACI ตามผลการประเมินคุณภาพวารสาร TCI รอบที 4 พ.ศ. 2563-2567</p> <p><strong>กำหนดการออกวิทยาสาร (ออนไลน์) ปีละ 2 ฉบับ</strong><br /><strong>ฉบับที่ 1เดือนมกราคม – มิถุนายน ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม - ธันวาคม</strong></p> en-US <p>เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "<a href="https://drive.google.com/file/d/1JMrL7UM6QFFMKdpY02VSYAzkq8VPWhqr/view?usp=sharing" target="_blank">The cover letter format</a>" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น<br /><br /></p><p> </p> swudentj@yahoo.com (อ.ดร.ทพ.ชัชพันธุ์ อุดมพัฒนากร (บรรณาธิการ))) swudentj@yahoo.com (นางกนกพร สุขยานันท์ หรือ นางสาววิภาวี เจนจิตติกุล ) Wed, 08 Mar 2023 09:25:05 +0000 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 Assessment of Smile Line and Attractiveness in a Group of Thai University Students https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/13933 <p><strong>Objectives:</strong> To determine the prevalence of smile line in a group of Thai university students and to evaluate the attractiveness of smile line combined with tooth shape.</p> <p><br /><strong>Materials and Methods:</strong> Four hundred university students (159 males and 241 females, ages 20-30 years old) voluntarily participated in the study. Maximum smile photographs were taken from each participant. Smile line was classified as low, average, high and very high smile line. Gingival display of the high smile line group was measured by using a 2-mm diameter reference dot which was placed on the middle of the labial surface of the right maxillary central incisor. All participants were enquired to rate the attractiveness score of twelve photographs which represented smile lines combined with tooth shapes.</p> <p><br /><strong>Results:</strong> Most of participants exhibited average smile line (57.50%), followed by high (34.25%) and low smile line (8.25%), respectively. The highest proportions were average smile line for both male and female, 63.52% and 53.53%, respectively. The proportions of smile line types between male and female were statistically significant difference (p &lt; 0.05). Among 12 smile types, rating score of average smile line with square tooth shape received statistically significant highest score from other smile types (p &lt; 0.05). Whereas, all three bottom scores were square, ovoid and triangle tooth shape in low smile line.</p> <p><br /><strong>Conclusions:</strong> The average smile line was the most frequently observed in both genders. The average smile line in combined with square tooth shape was scored as the most attractive.</p> <p> </p> <p>&gt; ว.ทันต.มศว ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2566 หน้า 11-22.</p> <p>&gt; SWU Dent J. 2023;16(1): 11-22.</p> <p> </p> Supranee Benjasupattananan, Papatpong Sirikururat Copyright (c) 2023 Srinakharinwirot University Dental Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/13933 Wed, 08 Mar 2023 00:00:00 +0000 การพัฒนาสมรรถนะผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพในการคัดกรองสุขภาพช่องปากและการกลืนลำบากในผู้สูงอายุอำเภอเวียงแก่นจังหวัดเชียงราย https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/13990 <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพในการคัดกรองสุขภาพช่องปากและการกลืนลำบากในผู้สูงอายุ</p> <p><br /><strong>วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ:</strong> วิจัยแบบผสมวิธีในกลุ่มตัวอย่างที่ทำงานด้านสุขภาพ 8 คน การดำเนินงานแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 1) การพัฒนาความรู้และทักษะ ด้วยการอบรมความรู้ การสนทนากลุ่ม และฝึกทักษะการคัดกรองสุขภาพช่องปากและการกลืนในผู้สูงอายุ 2) ติดตามผลและประเมินผล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ใช้สถิติทดสอบวิลคอกซัน สัมประสิทธ์โคเฮนแคปปา และประเมินระดับสมรรถนะตามแนวคิดอนุกรมวิธานของบลูม</p> <p><br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.05) สอดคล้องกับผลการสนทนากลุ่ม และเมื่ออบรมผ่านไป 4 สัปดาห์ พบว่ามี ความสอดคล้องของการประเมินสุขภาพช่องปากเทียบกับทันตแพทย์สูงกว่าครั้งที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.05) แต่เดือนที่ 6 มีค่าความสอดคล้องน้อยกว่าเมื่อเทียบกับครั้งที่ 2 แต่มากกว่าหลังการอบรม เมื่อครบ 6 เดือน กลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับความเข้าใจถึงระดับการ สังเคราะห์ และด้านทักษะอยู่ในระดับการลงมือปฏิบัติถึงระดับการหาความถูกต้อง </p> <p><br /><strong>สรุป:</strong> ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพที่มีบทบาทในการประเมินสุขภาพของผู้สูงอายุอยู่เป็นประจำ สามารถพัฒนาความรู้และทักษะในการคัดกรองสุขภาพช่องปากเบื้องต้นได้</p> <p>&gt; ว.ทันต.มศว ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2566 หน้า 23-36.</p> <p>&gt; SWU Dent J. 2023;16(1): 23-36.</p> พิไลวรรณ กองมา, นฤมนัส คอวนิช, กันยารัตน์ คอวนิช Copyright (c) 2023 Srinakharinwirot University Dental Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/13990 Wed, 08 Mar 2023 00:00:00 +0000 การตั้งตำรับและประเมินสารหล่อลื่นในช่องปากที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบหลักสำหรับงานทันตกรรมผู้สูงอายุ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/15104 <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อตั้งตำรับและประเมินคุณสมบัติของสารหล่อลื่นในช่องปากที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบหลัก</p> <p><strong>วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ:</strong> ตั้งตำรับสารหล่อลื่นจากน้ำปราศจากไอออน สารก่อเนื้อเจล และสารเพิ่มความชุ่มชื้น ประเมินคุณสมบัติโดยเปรียบเทียบค่าความหนืดจากเครื่องวัดความหนืดบรุคฟิลด์ชนิดโคนและแผ่นเรียบ ใช้สถิติ Kruskal-Wallis test และ Mann-Whitney U Test เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนืดและความเข้มข้นของสารไฮดรอกซีโพรพิลเมทิลเซลลูโลในสารรูปเจลและเพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติทางกายภาพกับเควายเจลลี่</p> <p><strong>ผลการทดลอง:</strong> ค่าความหนืดของสารรูปเจลมีค่าเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนของสารก่อเนื้อเจล โดยที่สารรูปเจลสูตรที่ 3 (2.8% ไฮดรอกซีโพรพิลเมทิลเซลลูโลส) มีความหนืดมากที่สุด สารรูปเจลสูตรที่ 2 (2.7% ไฮดรอกซีโพรพิลเมทิลเซลลูโลส) มีความหนืดรองลงมาซึ่งมีค่าความหนืดใกล้เคียงกับเควายเจลลี่ (KY<sup>®</sup> jelly) และสารรูปเจลสูตรที่ 1 (2.6% ไฮดรอกซีโพรพิลเมทิลเซลลูโลส) มีความหนืดน้อยที่สุด โดยความหนืดของสารทุกสูตรที่ 25 องศาเซลเซียส มีค่ามากกว่าที่ 37 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ค่าความหนืดของสารทุกสูตรมีแนวโน้มลดลงที่เวลา 1 เดือนและ 3 เดือน ภายหลังการผสม</p> <p><strong>สรุป:</strong> สารรูปเจลสูตรที่ 2 มีโอกาสพัฒนาต่อเพื่อใช้สำหรับการทำหัตถการในผู้สูงอายุ เนื่องจากมีลักษณะทางกายภาพและความหนืดใกล้เคียงกับสารหล่อลื่นเควายเจลลี่และคาดว่ามีความเหมาะสมในการใช้ในช่องปากมากที่สุด</p> <p>&gt; ว.ทันต.มศว ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2566 หน้า 37-49.</p> <p>&gt; SWU Dent J. 2023;16(1): 37-49.</p> วรายุทธ โชติประกายเกียรติ, นุชวรา สารสิทธิ์, ปภาวี เกิดวังหิน, ปรัชญา ยายอด, พันไมล์ เพชรประดับ, ภัชรพล สำเนียง Copyright (c) 2023 Srinakharinwirot University Dental Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/15104 Wed, 08 Mar 2023 00:00:00 +0000 Effect of Grinding Inner Surface on Biaxial Flexural Strength, Phase Analysis and Surface Roughness of Translucent Zirconia https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/13971 <p><strong>Objective:</strong> Zirconia is generally used in dentistry. Grinding zirconia is difficult because of the high value of its surface hardness. Therefore, specific burs for grinding zirconia were created. To receive proper marginal fit, sometimes grinding a high spot at the inner surface of zirconia fixed partial denture was needed. The objective was to assess the effect of grinding inner surface on biaxial flexural strength (BFS), phase analysis and surface roughness of translucent zirconia.</p> <p><br /><strong>Materials and Methods:</strong> Forty samples, disc-shaped translucent zirconia, were randomly divided into four groups. CT group: no grinding samples; MD group: samples were ground by medium-grit diamond burs; FD group: samples were ground by fine-grit diamond burs; and HS group: samples were ground by heatless stone burs. The burs in MD group were represented as widespread commonly used burs; meanwhile, the burs in FD and HS groups were specifically for grinding zirconia. All samples were ground for a half-minute. The BFS was tested by Universal testing machine and the results were evaluated using one-way analysis of variance Scheffé test were performed to compare BFS among the groups (p-value &lt; 0.05)</p> <p><strong> Results</strong>: The monoclinic phase were existed in all ground zirconia groups and the roughness was raised compared with the CT group. The BFS of FD and HS group were not statistically significant differences from the CT group (p-value &gt; 0.05). However, a significant reduction of BFS was observed in the MD group in comparison with the CT group (p-value &lt; 0.05). </p> <p><br /><strong>Conclusions:</strong> Clinical inner surface adjustment of translucent zirconia fixed partial dentures with specific burs (FD and HS group) had no significant reduction of the BFS. Conversely, the BFS was reduced significantly after translucent zirconia was ground by common diamond burs (MD group).</p> <p>&gt; ว.ทันต.มศว ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2566 หน้า 50-61.</p> <p>&gt; SWU Dent J. 2023;16(1): 50-61.</p> Chalisa Wongjirasawad, Vibul Paisankobrit Copyright (c) 2023 Srinakharinwirot University Dental Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/13971 Wed, 08 Mar 2023 00:00:00 +0000 Effect of Different Mechanical Properties of Core Build-up Materials on the Root Furcation of A Severely damaged Primary Molar: A Finite Element Analysis https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/15108 <p><strong>Objectives:</strong> To assess the von Mises stress and stress distribution pattern on the root furcation of a severely damaged primary molar restored with different core build-up materials and stainlesssteel crown (SSC).</p> <p><strong>Materials and Methods:</strong> The finite element analysis was used to investigate stresses induced in the tooth structures included a sound primary molar and severely damaged primary molars restored with four different core-build up materials, including flowable composite core build-up, bulkfill resin composite, RMGIC and nano-RMGIC. The maximum von Mises stress was used to represent<br />the internal load induced in the model.</p> <p><strong>Results:</strong> Overall maximum von Mises stresses was the highest in the sound tooth. However, when focusing on apico-cervical aspect, all restored primary molars showed higher maximum von Mises stress than the sound tooth. The stress distribution pattern of each group was similar, except for the nano-RMGIC group that showed high stress concentrated at the tooth furcation and the buccal aspect of the root furcation. From the ratio of its tensile strength and the maximum von Mises stress, the nano-RMGIC possessed the highest fracture resistance, followed by bulk-fill composite, RMGIC and flowable composite core group, respectively.</p> <p>Discussion: Although nano-RMGIC possessed the highest fracture resistance, it showed an unfavorable stress distribution pattern, which caused high stress at the root furcation. The bulk-fill composite possessed not only high fracture resistance but also favorable stress distribution.</p> <p><strong>Conclusion:</strong> The present study introduces crucial information that could lead to an alternative treatment for severely damaged primary molar. Our findings recommend bulk-fill composite as a potential core build-up material.</p> <p>&gt; ว.ทันต.มศว ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2566 หน้า 62-77.</p> <p>&gt; SWU Dent J. 2023;16(1): 62-77.</p> Nuttha Suwannasri, Kunyawan Thaungwilai, Pairod Singhatanadgid, Nichamon Chaianant, Weerachai Singhatanadgit, Piyaporn Pultanasarn Copyright (c) 2023 Srinakharinwirot University Dental Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/15108 Wed, 08 Mar 2023 00:00:00 +0000 Evaluation of Anti-Oral Pathogen Activity and Safety of Lacticaseibacillus paracasei TISTR 2688, Isolated from Fermented Termite Comb. https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/14192 <p><strong>Objective:</strong> This study aimed to evaluate the potential of <em>Lacticaseibacillus paracasei</em> TISTR 2688 to be used in the field of oral health care.</p> <p><br /><strong>Materials and methods:</strong> The strain TISTR 2688 was assessed for its antimicrobial activity using agar well diffusion assay, ability to suppress plaque formation on prosthetic teeth, tolerance to lysozyme, antibiotic susceptibility and acute oral toxicity based on Organization for Economic Co-operation and Development (OECD) Guidelines.</p> <p><br /><strong>Results:</strong> Cell-free supernatant of the strain TISTR 2688 possessed inhibitory activity against Actinomyces vericosus, <em>Aggregatibacter actinomycetemcomitans</em>, <em>Fusobacterium nucleatum subsp</em>. <em>polymorphum</em>, <em>Porphyromonas gingivalis</em>, <em>Prevotella intermedia</em>, <em>Streptococcus mutans</em>, <em>S. sanguinis</em>, and <em>S. sobrinus</em>, but exhibited no antifungal activity against Candida albicans. In terms of safety, TISTR 2688 showed the phenotypic antibiotic susceptibility to ampicillin, chloramphenicol, clindamycin, erythromycin, gentamycin, kanamycin, streptomycin and tetracycline. The acute oral toxicity assay in rats with TISTR 2688 at 1 × 10<sup>10</sup> CFU/kg body weight demonstrated no mortality results. In addition, no toxicity or evidence of gross pathological alterations was observed.</p> <p><br /><strong>Conclusion:</strong> Due to its antibacterial activity against some oral pathogens and safety in term of antibiotic susceptibility test together with no acute oral toxicity, <em>L. paracasei</em> TISTR 2688 tend to have potential for development as an oral health care product.</p> <p>&gt; ว.ทันต.มศว ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2566 หน้า 78-88.</p> <p>&gt; SWU Dent J. 2023;16(1): 78-88.</p> Supatjaree Ruengsomwong, Prapaipat Klungsupya, Sarunya Laovitthayanggoon, Siripong Tangprasertkit, Paramaporn Chiewpattanakul Kaewmanee Copyright (c) 2023 Srinakharinwirot University Dental Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/14192 Wed, 08 Mar 2023 00:00:00 +0000 ผลของสารสกัดแทนนินจากเปลือก Garcinia mangostana L. และ คลอเฮกซิดีนในการยับยั้งการเจริญของเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส มิวแทนส์ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/14041 <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาผลการยับยั้งเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส มิวแทนส์ของสารสกัดแทนนินจากเปลือกมังคุด เปรียบเทียบกับคลอเฮกซิดีนกลูโคเนตร้อยละ 0.12</p> <p><br /><strong>วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ:</strong> สกัดสารแทนนินจากเปลือกมังคุดโดยใช้เอทานอลร้อยละ 95 แล้วนำมาศึกษา ชนิดด้วยวิธีทางเคมี หาปริมาณแทนนินด้วยวิธีวิเคราะห์เรเดียลดิฟฟิวชั่น จากนั้นทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส มิวแทนส์ ด้วยสารแทนนินเข้มข้น 2, 4, 6, 8 และ 16 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และคลอเฮกซิดีนกลูโคเนต ร้อยละ 0.12 โดยวิธีดิสก์ดิฟฟิวชั่น</p> <p><br /><strong>ผลการศึกษา:</strong> สารสกัดจากเปลือกมังคุดเป็นสารคอนเดนส์แทนนิน ที่มีความเข้มข้น 18.69 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร เมื่อนำสารสกัดแทนนินมาทดสอบพบฤทธิ์ของการยับยั้งเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส มิวแทนส์ ซึ่งเพิ่มขึ้นตามปริมาณของสารแทนนิน โดยสารแทนนินเข้มข้น 16 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร มีผลให้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางบริเวณยับยั้งเชื้อสูงที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19.1 ± 0.9 มิลลิเมตร แต่ต่ำกว่าผลทดสอบที่ได้จากสารละลายคลอเฮกซิดีนกลูโคเนตร้อยละ 0.12 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางบริเวณยับยั้งเชื้อเท่ากับ 19.9 ± 1.2 มิลลิเมตร</p> <p><br /><strong>สรุป:</strong> สารสกัดแทนนินจากเปลือกมังคุดเข้มข้น 16 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส มิวแทนส์ ไม่ต่างจากผลการยับยั้งเชื้อของคลอเฮกซิดีนร้อยละ 0.12 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95</p> <p>&gt; ว.ทันต.มศว ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2566 หน้า 89-101.</p> <p>&gt; SWU Dent J. 2023;16(1): 89-101.</p> สิริรัตน์ บุญดิเรก, ปรมาภรณ์ จิ๋วพัฒนกุล แก้วมณี, ณัฐพล กิตติคุณเดชา, ณภัทร บุนนาค, ดนุธิดา สาเขตร์, สิริลักษณ์ ตีรณธนากุล Copyright (c) 2023 Srinakharinwirot University Dental Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/14041 Wed, 08 Mar 2023 00:00:00 +0000 แนวโน้มการใช้อะมัลกัมและความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายการลดการใช้อะมัลกัมของทันตแพทย์ในโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/15110 <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาแนวโน้มการใช้อะมัลกัมในโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และเพื่อทราบถึงความคิดเห็นของทันตแพทย์ผู้ปฏิบัติงานต่อการลดการใช้หรือเลิกใช้อะมัลกัม</p> <p><strong>วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ:</strong> ส่วนที่ 1 เป็นการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังจากแฟ้มประวัติผู้ป่วยที่ได้รับ การอุดฟันระหว่างปี พ.ศ. 2557-2561 ในระบบเวชระเบียน บันทึกความถี่และร้อยละของการใช้วัสดุอุดฟันชนิดต่าง ๆ ส่วนที่ 2 เป็นการสอบถามทันตแพทย์ผู้ปฏิบัติงาน เกี่ยวกับการใช้อะมัลกัมหรือวัสดุอุดฟันชนิดอื่น ๆ และความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายการลดการใช้อะมัลกัม</p> <p><br /><strong>ผลการทดลอง:</strong> พบการลดลงของการใช้อะมัลกัมอย่างต่อเนื่อง ทั้งในฟันน้ำนมและฟันแท้ โดยพบการ ใช้วัสดุอุดฟันอะมัลกัมคิดเป็นร้อยละ 19.07, 18.71, 15.11, 12.85 และ 11.95 ในช่วงปี พ.ศ. 2557-2561 ตามลำดับ จากแบบสอบถามพบว่าทันตแพทย์ส่วนใหญ่ยังคงใช้อะมัลกัม แม้จะรายงานการใช้ที่ลดลง แต่ก็มีความคิดเห็นว่าวัสดุอะมัลกัมยังคงมีความจำเป็น ในกรณีไม่สามารถควบคุมความชื้นได้ การมีข้อจำกัดเรื่องค่าใช้จ่ายและกรณีผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุสูง</p> <p><br /><strong>สรุป:</strong> ในระหว่างปี พ.ศ. 2557-2561 โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ มีแนวโน้มการใช้อะมัลกัมลดลง ทันตแพทย์ส่วนใหญ่รายงานการลดการใช้อะมัลกัม แต่ยังคงเห็นว่าอะมัลกัมมีความจำเป็นในบางกรณี</p> <p>&gt; ว.ทันต.มศว ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2566 หน้า 102-117.</p> <p>&gt; SWU Dent J. 2023;16(1): 102-117.</p> <p> </p> ขวัญชนก อยู่เจริญ, ภัทราธร กระจ่างสวัสดิ์, ธัญชนก เธียรกานนท์, มณฑิตา โตวรรธกวณิชย์, วรวัชร คงสกุล, นิรดา ธเนศวร Copyright (c) 2023 Srinakharinwirot University Dental Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/15110 Wed, 08 Mar 2023 00:00:00 +0000 ความสามารถในการปิดสีของเซรามิกชนิดลิเทียมไดซิลิเกตแคด/แคมบนพื้นหลังเรซินสีเหมือนฟันที่ต่างกัน https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/15111 <p><strong>จุดประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาความสามารถในการปิดสีของเซรามิกชนิดลิเทียมไดซิลิเกตแคด/แคม ความโปร่งแสงปานกลาง ที่ความหนาต่าง ๆ บนพื้นหลังเรซินสีเหมือนฟันที่ต่างกัน</p> <p><strong>วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ:</strong> ชิ้นงานถูกเตรียมโดยใช้บล็อกไอพีเอสอีแมกซ์แคด ความโปร่งแสงปานกลาง สี A2 แบ่งเป็น 4 กลุ่มตามความหนาแผ่นเซรามิกได้แก่ 0.5, 1.0, 1.5 และ 2.0 มิลลิเมตร กลุ่มละ 20 ชิ้น และแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มย่อยตามสีพื้นหลังเรซินสีเหมือนฟันได้แก่ ND3, ND5, ND7 และ ND9 (n = 5) นำแผ่นเซรามิกไปเคลือบผิวและเผา จากนั้นยึดเข้ากับแผ่นเรซินสีเหมือนฟันด้วยเรซินซีเมนต์ชนิดบ่มตัวสองรูปแบบวาริโอลิ้งค์เอสเทติก สีใส วัดค่าสีชิ้นงานด้วยเครื่องสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ หาค่าการเปลี่ยนแปลงของสีที่มองเห็นโดยเปรียบเทียบกับบล็อกอ้างอิง ทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการจับคู่แบบทูกีย์ โดยกำหนดระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 (p = 0.05) ร่วมกับการใช้เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนสีที่สามารถรับรู้ได้และเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนสีที่สามารถยอมรับได้ <br /><strong>ผลการทดลอง:</strong> เซรามิกมีค่าการเปลี่ยนแปลงของสีที่มองเห็นลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อมีความหนาเพิ่มขึ้น โดยมีค่าน้อยที่สุดในกลุ่มความหนา 0.5 มิลลิเมตร และมากที่สุดในกลุ่มความหนา 2.0 มิลลิเมตร พื้นหลังเรซินสีเหมือนฟันสี ND9 ส่งผลให้เซรามิกมีค่าการเปลี่ยนแปลงของสีที่มองเห็นมากที่สุด รองลงมาคือสี ND5, ND3 และ ND7 ตามลำดับ โดยไม่มีกลุ่มความหนาใดเลยที่มีค่าการเปลี่ยนแปลงของสีที่มองเห็นน้อยกว่าเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนสีที่สามารถยอมรับได้บนสี ND9</p> <p><br /><strong>สรุปผล:</strong> ความหนาของเซรามิกและสีพื้นหลังส่งผลให้เซรามิกชนิดลิเทียมไดซิลิเกตแคด/แคม ความ โปร่งแสงปานกลาง มีค่าการเปลี่ยนแปลงของสีที่มองเห็นแตกต่างกัน โดยกลุ่มการทดลองส่วนใหญ่มีค่าการเปลี่ยนแปลงของสีที่มองเห็นมากกว่าเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนสีที่สามารถยอมรับได้</p> <p>&gt; ว.ทันต.มศว ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2566 หน้า 118-133.</p> <p>&gt; SWU Dent J. 2023;16(1): 118-133.</p> วิทิตา อัครเอกจิตต์, วิบุลย์ ไพศาลกอบฤทธิ์, นทีธร พฤกษ์วัชรกุล, ณัฐพล กิตติคุณเดชา Copyright (c) 2023 Srinakharinwirot University Dental Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/15111 Wed, 08 Mar 2023 00:00:00 +0000 The Effect of Eight Types of Denture Adhesives on Retention of Milled Denture Base Acrylic Resin https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/15112 <p><strong>Objective:</strong> The retention of removable dentures is a primary concern for patients. Accordingly, this in vitro study aims to compare the retention strength of four commercial brands (eight formulations), offering cream type denture adhesives that can be brought in Thailand, on milled denture base acrylic resin.</p> <p><br /><strong>Material and methods:</strong> Eight milled acrylic resin molds were fabricated according to ISO10873:2021 and the retention strength of eight denture adhesives [Fittydent (Ft), Fixodent Original (FxO), Fixodent Microseal for Partials (FxM), Fixodent PLUS Best Foodseal Technology (FxFS), Fixodent Plus Best Hold (FxBH), Fixodent Ultra Max Hold (FxMH), Olivafix (O) and Polident (P)] were measured in each milled mold for ten times. All the data were analyzed independently by one-way analysis of variance (ANOVA) and post hoc test with a Least Significant Difference (LSD) multiple comparison test at a 95% level of significance.</p> <p><br /><strong>Results:</strong> The study found statistically significant (p &lt; 0.05) differences in mean retention strength between groups of denture adhesives. The Ft, O and P groups showed statistically significant (p &lt; 0.05) differences to every other group. There was no significant difference between Fixodent groups (FxO, FxM, FxFS, FxBH and FxMH). The lowest and the highest retention strength were found in the Ft and the FxFS groups respectively.</p> <p><br /><strong>Conclusions:</strong> According to ISO 10873:2021, the retention strength of denture adhesive should be more than 5 kPa. All tested adhesives have reached this threshold. All Fixodent groups have higher retention strength than Fittydent, Olivafix and Polident adhesives. There are no significant differences within the Fixodent group. Authors recommend Polident because it offers the best efficiency measured in kPa/THB or Fixodent Original because it offers the lowest cost per gram solution in the highest retention group.</p> <p>&gt; ว.ทันต.มศว ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2566 หน้า 134-147.</p> <p>&gt; SWU Dent J. 2023;16(1): 134-147.</p> Papatsara Veerapol, Mali Palanuwech Copyright (c) 2023 Srinakharinwirot University Dental Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/15112 Wed, 08 Mar 2023 00:00:00 +0000 ผลของความหนาของเซรามิกกลุ่มลิเทียมไดซิลิเกต สีของซีเมนต์ และวัสดุทำหลักยึดรากเทียมต่อสีของชิ้นงานบูรณะ https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/15113 <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาสีลิเทียมไดซิลิเกตชนิดโปร่งแสงปานกลางหลังบูรณะบนวัสดุทำหลักยึดรากเทียม ร่วมกับเรซินซีเมนต์</p> <p><br /><strong>วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ:</strong> แบ่งกลุ่มเซรามิก (ความหนา 1.00, 1.50, 2.00 และ 2.50 มิลลิเมตร) วัสดุ หลักยึดรากเทียม (ไทเทเนียม เซอร์โคเนีย ไทเทียมที่ผ่านกระบวนการอะโนไดซ์ 40, 50, 60 และ 70 โวลต์) และซีเมนต์เนกซัสทรี (สีขาว สีขาวทึบ และสีเหลือง) กลุ่มละ 7 ชิ้น โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย วางชิ้นเซรามิกบนวัสดุทำหลักยึดรากเทียม โดยมีซีเมนต์คั่นกลาง วัดสีด้วยเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ บันทึกค่าด้วยระบบซีไออี และคำนวณค่าความแตกต่างของสี การวิเคราะห์ทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนและทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยวิธีทดสอบทูกี (α = .05)</p> <p><br /><strong>ผลการทดลอง:</strong> ปัจจัยทดสอบทั้งหมดมีผลต่อค่าความแตกต่างของสีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าความ แตกต่างของสีที่น้อยที่สุดคือเซรามิกหนา 2.50 มิลลิเมตรบนเซอร์โคเนียร่วมกับซีเมนต์สีขาวทึบและสีเหลือง(1.41 ± 0.07 และ 1.36 ± 0.13 ตามลำดับ) และไทเทเนียมร่วมกับซีเมนต์สีขาว (2.03 ± 0.16)</p> <p><br /><strong>สรุป:</strong> เซอร์โคเนียและไทเทเนียมที่ผ่านกระบวนการอะโนไดซ์ 50 โวลต์สามารถปิดสีหลักยึดรากเทียมเมื่อ บูรณะด้วยเซรามิกหนาตั้งแต่ 1.50 มิลลิเมตรร่วมกับซีเมนต์เนกซัส ทรีสีขาว สีขาวทึบและสีเหลืองให้ค่าความแตกต่างของสีในระดับน้อยกว่า 5.50</p> <p>&gt; ว.ทันต.มศว ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2566 หน้า 148-163.</p> <p>&gt; SWU Dent J. 2023;16(1): 148-163.</p> ธนโชติ พยุงรัตน์, มะลิ พลานุเวช Copyright (c) 2023 Srinakharinwirot University Dental Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/15113 Wed, 08 Mar 2023 00:00:00 +0000 การเปรียบเทียบการใช้ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์กับการวิเคราะห์ทางชีวกลศาสตร์ในห้องปฏิบัติการในการศัลยกรรมแก้ไขความผิดปกติของกระดูกขากรรไกร https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/15114 <p>การศัลยกรรมแก้ไขความผิดปกติของกระดูกขากรรไกร มีเทคนิคการศัลยกรรมตัดกระดูกที่หลากหลายและ พัฒนามาอย่างต่อเนื่องเป็นทศวรรษ การทำให้เกิดผลสำเร็จของการรักษา จำเป็นต้องมีเทคนิคที่มีความถูกต้องสูงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการหายของบาดแผลและลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นภายหลังการรักษา ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ถูกนำมาใช้ในการศัลยกรรมช่องปากและกระดูกขากรรไกร เพื่อใช้ในการประเมินชีวกลศาสตร์บริเวณที่ทำการผ่าตัดกระดูกได้ ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์มีการใช้งานอย่างกว้างขวางสำหรับการประเมินความเค้นและความเครียดของแบบจำลองเสมือน เนื่องจากมีการใช้งานที่ง่ายและไม่เกิดการรุกรานต่อสิ่งทดลอง ในอีกมุมหนึ่งยังมีวิธีการวิเคราะห์ทางชีวกลศาสตร์ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งได้ข้อมูลที่เป็นรูปธรรมและน่าเชื่อถือ แต่จะมีค่าใช้จ่ายและระยะเวลาทำที่มากกว่า วัตถุประสงค์ของบทความปริทัศน์นี้ คือการทบทวนวรรณกรรมและอภิปรายระหว่างสองวิธีของการวิเคราะห์ทางกลศาสตร์ในการศัลยกรรมแก้ไขความผิดปกติของกระดูกขากรรไกรล่างโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเน้นถึงประโยชน์และข้อจำกัดระหว่างการใช้ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์และการวิเคราะห์ชีวกลศาสตร์ในห้องปฏิบัติการในการศัลยกรรมแก้ไขความผิดปกติของกระดูกขากรรไกรได้</p> <p>&gt; ว.ทันต.มศว ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2566 หน้า 164-175.</p> <p>&gt; SWU Dent J. 2023;16(1): 164-175.</p> ณฤษพร ชัยประกิจ, สิริภัทรา พัชนี, กำพล บุญศิริเศรษฐ, สรธร สุนทรพรประภา, อวิรุทธ์ คล้ายศิริ Copyright (c) 2023 Srinakharinwirot University Dental Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/15114 Wed, 08 Mar 2023 00:00:00 +0000 กองบรรณาธิการ (Editorial Board) ว.ทันต.มศว ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) พ.ศ. 2566 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/15092 <p><strong>บทบรรณาธิการ</strong></p> <p>&gt; สวัสดีปีใหม่ประจำปี พ.ศ. 2566 ผู้อ่านทุกท่านครับ สำหรับวิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ฉบับที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2566 ซึ่งเป็นฉบับแรกของปีนี้ ทางกอง บรรณาธิการได้คัดสรรผลงานทางวิชาการที่หลากหลายและมีคุณภาพมาเผยแพร่เช่นเดิมครับ อันประกอบไปด้วยบทวิทยาการจำนวน 11 บทความ ครอบคลุมสาขาปริทันตวิทยา ทันตกรรมผู้สูงอายุ ทันตกรรมบูรณะและทันตกรรมประดิษฐ์ และชีววิทยาช่องปาก และบทความปริทัศน์จำนวน 1 บทความในสาขาศัลยศาสตร์ช่องปากครับ</p> <p>&gt; ในปีนี้ทางวิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้มีการปรับเปลี่ยนกองบรรณาธิการใหม่ ผมจึงขออนุญาตใช้โอกาสนี้ในการแนะนำตัวอย่างเป็นทางการแก่ผู้อ่านทุกๆท่านครับ ผมชื่อ อ.ทพ.ดร.ชัชพันธุ์ อุดมพัฒนากรครับ ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ รับหน้าที่เป็นบรรณาธิการใหม่ตั้งแต่เดือนกันยายนครับ ผมยังคงต้องเรียนรู้สิ่งต่างๆเพิ่มเติมอีกมาก อย่างไรผมขอฝากเนื้อฝากตัวกับท่านผู้อ่านทุกท่านด้วยครับ</p> <p>&gt; ในฐานะตัวแทนของกองบรรณาธิการฯ ผมขอขอบพระคุณผู้นิพนธ์ทุกท่านที่ได้มอบความไว้วางใจให้วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นช่องทางในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และผมขอขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่ได้อุทิศและทุ่มเทแรงกายใจในการพิจารณาบทความทางวิชาการให้ถูกต้องและเป็นไปตามมาตรฐานครับ วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ยังคงเปิดรับบทความทางวิชาการประเภทต่างๆ ทั้งบทความวิจัย บทความปริทัศน์ และรายงานผู้ป่วยที่น่าสนใจตลอดทั้งปีครับ จึงขอเชิญชวนผู้นิพนธ์ทุกท่านส่งบทความทางวิชาการมาเผยแพร่เพื่อสร้างองค์ความรู้ทางทันตกรรม ตามช่องทางที่ได้แนะนำไว้ในช่วงแรกของวิทยาสารฯ ครับ</p> <p>&gt; สุดท้ายนี้ผมขออำนวยพรให้กองบรรณาธิการทุกท่าน ท่านผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นิพนธ์และผู้อ่านทุกท่าน มีแต่ความสุขกายสุขใจ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และคิดสมหวังในทุกๆสิ่งตามที่ท่านปรารถนาตลอดทั้งปีนี้ครับ แล้วพบกันอีกครั้งในฉบับที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2566 ครับ อาจารย์ทันตแพทย์ ดร.ชัชพันธุ์ อุดมพัฒนากร บรรณาธิการวิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</p> <p> </p> <p>๐ อาจารย์ทันตแพทย์ ดร.ชัชพันธุ์ อุดมพัฒนากร</p> <p>๐ บรรณาธิการวิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ</p> <p> </p> <p><em>&gt; ว.ทันต.มศว ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2566 หน้า 1-10.</em></p> <p><em>&gt; SWU Dent J. 2023;16(1): 1-10.</em></p> <p> </p> วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Copyright (c) 2023 Srinakharinwirot University Dental Journal https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/15092 Wed, 08 Mar 2023 00:00:00 +0000