โฟโตไดนามิคเทอราปีเพื่อการรักษาทางปริทันต์
Abstract
มีการศึกษาวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีในด้านต่างๆสําหรับการรักษาทางปริทันตวิทยามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อค้นหาวิธีที่มีประสิทธิภาพ ทําให้เกิดผลที่ดีในระยะยาว รวมถึงเกิดผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยน้อย ที่สุด โฟโตไดนามิคเทอราปีถือเป็นวิธีหนึ่งที่กําลังเป็นที่สนใจของนักวิจัย และทันตแพทย์เฉพาะทางหลายๆ สาขารวมถึงทันตแพทย์ทั่วไป และถูกนํามาใช้ในการศึกษาวิจัยและการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ งานทบทวนวรรณกรรมฉบับนี้ได้รวบรวมการศึกษาตั้งแต่ปี ค.ศ.1992 จนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ นักวิจัยและทันตแพทย์ผู้สนใจ ใช้เป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูล สามารถนําไปพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ให้เกิดงานวิจัย ความต่อเนื่องในการศึกษาวิจัยและสามารถนําไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย โดยงานทบทวนวรรณกรรมฉบับนี้ได้ถูกรวบรวมไว้ในหัวข้อเรื่อง หลักการพื้นฐานทางโฟโตไดนามิคเทอราปี การวิจัยเกี่ยวกับโฟโตไดนามิคเทอราปีเพื่อใช้ในการรักษาโรคปริทันต์ รวมถึงผลิตภัณฑ์โฟโตไดนามิคเทอราปีที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า การใช้โฟโตไดนามิคเทอราปีซ้ำมากกว่า 1 ครั้งในการรักษาโรคปริทันต์อักเสบขั้นคงสภาพให้ผลดีกว่าอย่างมีนัยสําคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการรักษาโดยการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟันเพียงอย่างเดียว เนื่องจากโฟโตไดนามิคเทอราปีมีประสิทธิภาพในการลดเชื้อที่เป็นสาเหตขุองโรคปริทันต์อักเสบ ช่วยลดการมีเลือดออกจากการโพรบ รวมถึงอาจจะช่วยลดความลึกของร่องลึกปริทันต์และเพิ่มระดับการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์ ถึงแม้ว่าโฟโตไดนามิคเทอราปียังไม่สามารถแทนที่การขูดหินน้ำลายและเกลารากฟันได้ อย่างไรก็ตามโฟโตไดนามิคเทอราปียังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยังมีการศึกษาระยะยาวค่อนข้างน้อย จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่จะศึกษาเพิ่มเติมต่อไป คำสำคัญ : โฟโตไดนามิคเทอราปี โรคปริทันต์อักเสบ การขูดหินน้ำลายและเกลารากฟันDownloads
Downloads
How to Cite
1.
อัครทิวา ภ, ศรีสุวรรณฑา ร, เหล่าศรีสิน ณ. โฟโตไดนามิคเทอราปีเพื่อการรักษาทางปริทันต์. SWU Dent J. [Internet]. 2016 Dec. 30 [cited 2025 Apr. 8];9(2):39-64. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/8262
Issue
Section
บทความปริทัศน์ (Review articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น