ประสิทธิภาพในการใช้แปรงสีฟันหน้าตัดตรงและหน้าตัดซิกแซก
Abstract
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการกำจัดคราบจุลินทรีย์ของแปรงสีฟันหน้าตัดตรงและหน้าตัดซิกแซก วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: อาสาสมัคร 40 คน มีสภาพเหงือกปกติหรือเป็นโรคเหงือกเหตุคราบจุลินทรีย์ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน กลุ่มที่หนึ่งและสองใช้ Colgate® Slim Soft และ ZigZag ตามลำดับ กลุ่มที่สามและสี่ใช้ Oral-B® Indicator Complete และ All-Rounder Gum-Protect ตามลำดับ แปรงฟันด้วยแปรงสีฟันที่จัดให้ 2 สัปดาห์แล้วจึงมาตรวจดัชนีสภาพเหงือก ดัชนีคราบจุลินทรีย์ Approximal Plaque Index (API) และ Turesky Modification of the Quigley - Hein Plaque Index (TMQHPI) ก่อนและหลังการแปรงฟัน มีระยะเว้นจากการทดลอง 1 สัปดาห์แล้วจึงสลับแปรงสีฟัน ทำการทดลองและวัดค่าซ้ำ เปรียบเทียบค่าดัชนีก่อนและหลังแปรงในแปรงแบบดียวกัน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลต่างของแปรงสีฟันแบบตรงและซิกแซกโดยใช้ Wilcoxon signed-rank test ผลการศึกษา: ดัชนีทั้งหมดเมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังแปรงของแปรงสีฟันสี่แบบมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างแปรงแต่ละแบบ โดยแปรงหน้าตัดตรงมีแนวโน้มในการกำจัดคราบจุลินทรีย์เหนือกว่าอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: แปรงสีฟันทั้งแบบตรงและซิกแซก ของทั้ง 2 ยี่ห้อ สามารถกำจัดคราบจุลินทรีย์ได้ไม่แตกต่างกัน คำสำคัญ: คราบจุลินทรีย์ แปรงสีฟัน ขนแปรงสีฟัน ดัชนีสภาพเหงือก ดัชนีคราบจุลินทรีย์Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
How to Cite
1.
กำจรฤทธิ์ อ. ประสิทธิภาพในการใช้แปรงสีฟันหน้าตัดตรงและหน้าตัดซิกแซก. SWU Dent J. [Internet]. 2016 Dec. 30 [cited 2024 Nov. 18];9(2):11-25. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/8260
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น