ความสามารถในการปิดผนึกและความแนบสนิทของกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ที่ผสมโมโนแคลเซียมซิลิเกตเมื่อใช้เป็นวัสดุซ่อมรอยทะลุในบริเวณง่ามรากฟัน

Authors

  • บุณยนุช บุรพัฒน์ โรงพยาบาลหัวเฉียว 665 ถนนบำรุงเมือง เขตป้อมปราบฯ กรุงเทพฯ 10100
  • ปุณณมา ศิริพันธ์โนน สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ถนนฉลองกรุง กรุงเทพฯ 10520
  • จารุมา ศักดิ์ดี คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

Abstract

วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบความสามารถในการปิดผนึกและความแนบสนิทของกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ผสมโมโนแคลเซียมซิลิเกต (GIC-CS) และเอ็มทีเอ (MTA) โดยใช้แบบจำลองการรั่วซึมโปรตีนและกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ:ฟันกรามใหญ่ของมนุษย์ 95 ซี่นำมาทำให้เกิดรอยทะลุบริเวณง่ามรากฟัน เคลือบด้วยยาทาเล็บและขี้ผึ้งยกเว้นบริเวณรอยทะลุ อุดบริเวณรอยทะลุด้วยวัสดุ 3 ชนิดคือ MTA GIC-CS ผงต่อน้ำ1.7:1 (1.7:1GIC-CS) GIC-CS ผงต่อน้ำ1:1 (1:1GIC-CS) แบ่ งฟั นเป็ น2 กลุ่มกลุ่มละ 45 ซี่การทดลอง ที่ 1 นำฟันมาแบ่งเป็น 3 กลุ่มกลุ่มละ 15 ซี่ ทดสอบด้วยแบบจำลองการรั่วซึมโปรตีนที่เวลา 24 ชั่วโมง 7 วัน 14 วัน และ 28 วัน การทดลองที่ 2 แบ่งฟัน 45 ซี่เป็น 3 กลุ่ม ภายหลังการอุด 14 วันนำมาทำแบบจำลองด้วย เรซิ่น ประเมินความแนบสนิทด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด ผลการทดลอง: ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่ม MTA และ 1.7:1GIC-CS ในทั้งสองการศึกษา แต่สำหรับกลุ่ม 1:1GIC-CS พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกลุ่ม MTA สรุปผล: กลาสไอโอโนเมอร์ ซี เมนต์ ผสมโมโนแคลเซี ยมซิ ลิ เกตที่ใช้ อั ตราส่ วนผงต่อน้ำ1.7:1 มี ความสามารถในการปิดผนึกและความแนบสนิทเทียบเท่ากับเอ็มทีเอ ดังนั้นจึงอาจนำมาพัฒนาเพื่อนำมาใช้ซ่อมรอยทะลุได้ คำสำคัญ: โมโนแคลเซียมซิลิเกต กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ ความสามารถในการปิดผนึก ความแนบสนิทระหว่าง เนื้อฟันกับวัสดุ

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

บุณยนุช บุรพัฒน์, โรงพยาบาลหัวเฉียว 665 ถนนบำรุงเมือง เขตป้อมปราบฯ กรุงเทพฯ 10100

ทันตแพทย์

ปุณณมา ศิริพันธ์โนน, สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ถนนฉลองกรุง กรุงเทพฯ 10520

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

จารุมา ศักดิ์ดี, คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

อาจารย์

Downloads

How to Cite

1.
บุรพัฒน์ บ, ศิริพันธ์โนน ป, ศักดิ์ดี จ. ความสามารถในการปิดผนึกและความแนบสนิทของกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ที่ผสมโมโนแคลเซียมซิลิเกตเมื่อใช้เป็นวัสดุซ่อมรอยทะลุในบริเวณง่ามรากฟัน. SWU Dent J. [Internet]. 2016 Dec. 30 [cited 2024 Nov. 18];9(2):26-38. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/8261

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)