ความแข็งแรงพันธะผลักออกของกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ที่มีโมโนแคลเซียมซิลิเกตผสม

Authors

  • ลัดดา เกียรติปานอภิกุล กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ถนนเจริญกรุง แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม กทม. 10120
  • ปุณณมา ศิริพันธ์โนน สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ถนนฉลองกรุง กทม. 10520
  • จารุมา ศักดิ์ดี ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110 โทรศัพท์ 02-649-5212

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบค่าความแข็งแรงพันธะผลักออก (push-out bond strength) ของกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ที่มีโมโนแคลเซียมซิลิเกตผสม (จีไอซีซีเอส) เปรียบเทียบกับเอ็มทีเอ เมื่อแช่ในสารละลายฟอสเฟตบัฟเฟอร์ซาไลน์ ที่ระยะเวลา 3 วัน 7 วัน และ 28 วัน วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: เตรียมฟันตัดหน้าบนจำนวน 60 ซี่ ตัดฟันในส่วนกลางของรากฟันเป็นแผ่นในแนวนอนออกเป็น 2 แผ่น ให้ได้ความหนาของรากฟันประมาณ 2 มิลลิเมตร จะได้ชิ้นงานจำนวน 120 ตัวอย่างโดยชิ้นงานจะถูกแบ่งแบบสุ่มเป็น 4 กลุ่มย่อย กลุ่มละ 10 ตัวอย่าง โดยกลุ่มที่ 1: จีไอซีซีเอสในสารละลายฟอสเฟตบัฟเฟอร์ซาไลน์, กลุ่มที่ 2 : จีไอซีซีเอสในน้ำกลั่น, กลุ่มที่ 3 : เอ็มทีเอในสารละลายฟอสเฟตบัฟเฟอร์ซาไลน์ และกลุ่มที่ 4 : เอ็มทีเอในน้ำกลั่น โดยจะทิ้งไว้เป็นเวลา 3 วัน 7 วัน และ 28 วัน จากนั้นทดสอบค่าความแข็งแรงพันธะผลักออกด้วยเครื่องทดสอบสากล และวิเคราะห์รูปแบบความเสียหายของวัสดุ (Mode of bond failure)ภายใต้กล้องสเตอริโอไมโครสโคป (stereomicroscope) ด้วยกำลังขยาย 40 เท่า นำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติทดสอบด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยทูคี่เอชเอสดีเทสต์ (Tukey’s HSD test) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และใช้สถิติพรรณนาวิเคราะห์รูปแบบความเสียหายของวัสดุ ผลการทดลอง: ค่าความแข็งแรงพันธะผลักออกของจีไอซีซีเอสในสารละลายฟอสเฟตบัฟเฟอร์ซาไลน์และน้ำกลั่น มีค่าน้อยกว่าเอ็มทีเอในทุกช่วงเวลาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่าเมื่อแช่ชิ้นงานในสารละลายเป็นเวลา 28 วัน ค่าความแข็งแรงพันธะผลักออกมากขึ้นในทุกกลุ่มการทดลอง และทุกกลุ่มการทดลองส่วนใหญ่มีรูปแบบความเสียหายของวัสดุที่เกิดขึ้นทั้งสองส่วน (mixed failure) ในทุกช่วงเวลาที่ทำการทดสอบ สรุปผล: ค่าความแข็งแรงพันธะผลักออกของจีไอซีซีเอสในสารละลายฟอสเฟตบัฟเฟอร์ซาไลน์ มีค่าน้อยกว่าเอ็มทีเอในทุกช่วงเวลา แต่เมื่อระยะเวลาในการบ่มสารนานขึ้น ค่าความแข็งแรงพันธะผลักออกจะมีค่ามากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตามลำดับ คำสำคัญ : กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ที่มีโมโนแคลเซียมซิลิเกตผสม เอ็มทีเอ ความแข็งแรงพันธะผลักออก

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ลัดดา เกียรติปานอภิกุล, กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ถนนเจริญกรุง แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม กทม. 10120

ทันตแพทย์ชำนาญการ

ปุณณมา ศิริพันธ์โนน, สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ถนนฉลองกรุง กทม. 10520

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

จารุมา ศักดิ์ดี, ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110 โทรศัพท์ 02-649-5212

อาจารย์

Downloads

How to Cite

1.
เกียรติปานอภิกุล ล, ศิริพันธ์โนน ป, ศักดิ์ดี จ. ความแข็งแรงพันธะผลักออกของกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ที่มีโมโนแคลเซียมซิลิเกตผสม. SWU Dent J. [Internet]. 2016 Aug. 15 [cited 2024 Nov. 18];9(1):24-3. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/7847

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)