การศึกษาเปรียบเทียบถึงประสิทธิภาพของวิธีการเสริมทางคลินิกเพื่อช่วยในการตรวจและวินิจฉัยรอยโรคก่อนมะเร็งและรอยโรคมะเร็งในช่องปาก

Authors

  • สรสัณห์ รังสิยานนท์ ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันต แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ถนนสุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • สิริบังอร พิบูลนิยม โขวิฑูลกิจ ภาควิชาทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนโยธี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
  • สินีภัทร ตลึงจิต ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันต แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ถนนสุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • เปี่ยมกมล วัชโรทยางกูร ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันต แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ถนนสุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

Abstract

บทคัดย่อ วิธีการวินิจฉัยโรคมะเร็งในช่องปากในปัจจุบันใช้การตรวจทางคลินิกร่วมกับการตัดเนื้อเยื่อจากรอยโรคเพื่อส่งตรวจด้วยลักษณะทางจุลพยาธิวิทยา ซึ่งผู้ตรวจต้องมีความชำนาญสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ลักษณะของรอยโรคที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งไม่ชัดเจน หรือในกรณีที่เป็นรอยโรคก่อนมะเร็งยิ่งทำให้ผู้ตรวจอาจมองข้ามไปได้เทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันได้เสนอวิธีการต่าง ๆ เพื่อใช้เสริมในการตรวจวินิจฉัยมะเร็งช่องปากนอกเหนือไปจากการตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจด้วยลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาให้มีความไวและแม่นยำมากขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบด้านความไวและจำเพาะและความแม่นตรงของวิธีการเสริม 2 วิธี คือการใช้ระบบออโต้ฟลูออเรสเซ้นส์ ด้วยเครื่องเวลสโคป และการย้อมสีเนื้อเยื่อด้วยสีโทลูอิดีนบลู ในผู้ป่วยที่มีรอยโรคของเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากที่สงสัยเป็นรอยโรคก่อนมะเร็งและรอยโรคมะเร็งในช่องปาก ผลการศึกษาพบว่าจากผู้ป่วยทั้งสิ้น 20 คน เป็นผู้ป่วยเพศชาย 10 คน (50%) และหญิง 10 (50%) อย่างละเท่า ๆ กัน ผู้ป่วยมีอายุอยู่ในช่วง35-76 ปี (อายุเฉลี่ยเท่ากับ 58.1 ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 3.16) โดยผลการตรวจชิ้นเนื้อด้วยลักษณะทางจุลพยาธิวิทยา พบลักษณะของอีพิธีเลียมดิสเพลเซีย 5 รายและมะเร็งชนิดสความัสเซลล์คาร์ซิโนมา 3 รายส่วน 12 รายที่เหลือเป็นรอยโรคที่ไม่จัดอยู่ในกลุ่มรอยโรคก่อนมะเร็งและมะเร็ง เมื่อเปรียบเทียบถึงความไวความจำเพาะและความแม่นตรงของทั้งสองวิธี พบว่า การใช้เครื่องเวลสโคปมีค่าความไวเท่ากับ 62.5% ความจำเพาะเท่ากับ 25% และค่าความแม่นตรงเท่ากับ 40% สำหรับวิธีการย้อมเนื้อเยื่อด้วยสีโทลูอิดีนบลูพบค่าความไวเท่ากับ 87.5% ความจำเพาะเท่ากับ 50% และค่าความแม่นตรงเท่ากับ 65% จากการคำนวณค่าการทำนายโรคเมื่อผลทดสอบเป็นบวก สำหรับเวลสโคป เท่ากับ 35.71% และของโทลูอิดีนบลูเท่ากับ 53.85% และทั้งสองวิธีดังกล่าวมีค่าการทำนายโรคเมื่อผลทดสอบเป็นลบ เท่ากับ 50% และ 85.71% ตามลำดับ โดยสรุปจากผลการวิจัยที่ได้ในครั้งนี้ พบว่าการใช้โทลูอิดีนบลูมีค่าความไว ความจำเพาะและความแม่นตรงที่สูงกว่าวิธีการใช้เวลสโคปอย่างไรก็ตามการศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเบื้องต้นทางคลินิกเพื่อพัฒนาวิธีเสริมในการตรวจและคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งและมะเร็งในช่องปาก โดยการนำเครื่องมือเสริมทางคลินิกมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการรักษาผู้ป่วยทางคลินิกต่อไป คำสำคัญ: วิธีเสริม รอยโรคก่อนมะเร็ง รอยโรคมะเร็ง เวลสโคป โทลูอิดีนบลู

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

สรสัณห์ รังสิยานนท์, ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันต แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ถนนสุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

รองศาสตราจารย์

สิริบังอร พิบูลนิยม โขวิฑูลกิจ, ภาควิชาทันตกรรมทั่วไปขั้นสูง คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนโยธี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

รองศาสตราจารย์

สินีภัทร ตลึงจิต, ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันต แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ถนนสุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

อาจารย์

เปี่ยมกมล วัชโรทยางกูร, ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันต แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ถนนสุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

อาจารย์

Downloads

How to Cite

1.
รังสิยานนท์ ส, โขวิฑูลกิจ สพ, ตลึงจิต ส, วัชโรทยางกูร เ. การศึกษาเปรียบเทียบถึงประสิทธิภาพของวิธีการเสริมทางคลินิกเพื่อช่วยในการตรวจและวินิจฉัยรอยโรคก่อนมะเร็งและรอยโรคมะเร็งในช่องปาก. SWU Dent J. [Internet]. 2015 Dec. 24 [cited 2024 Dec. 22];8(2):49-67. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/6985

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)