ผลของสารหน่วงการแข็งตัวต่อลักษณะการไหลของวัสดุพิมพ์ พอลิอีเทอร์
Abstract
บทคัดย่อวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของความยาวที่แตกต่างกันของสารหน่วงความแข็งตัวพอลิอีเทอร์ต่อลักษณะการไหลของวัสดุพิมพ์พอลิอีเทอร์วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: ทดสอบวัสดุพิมพ์พอลิอีเทอร์ชนิดหนืดปานกลางโดยผสมและไม่ผสมสารหน่วงความแข็งตัวพอลีอีเทอร์ ความยาวของสารหน่วงความแข็งตัวที่แตกต่างกันจาก 0 0.5 1.0 1.5 และ 2 เท่าของความยาวของพอลิอีเทอร์เบสและคะตะลิสต์ กลุ่มละ 20 ชิ้น ด้วยการทดสอบครีบฉลามทุกๆ ช่วง 30 วินาที(30 60 90 และ 120 วินาที) ที่อุณหภูมิห้อง (32 ± 2 °C) รวมรอยพิมพ์ทั้งสิ้น 100 ชิ้น แล้วนำความสูงของครีบไปวิเคราะห์ด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง และเปรียบเทียบเชิงซ้อนทีละคู่ด้วยสถิติทูกีที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95ผลการทดลอง: จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของความสูงของครีบในแต่ละความยาวของสารหน่วงความแข็งตัว เวลาในการทดสอบ และพบความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของสารหน่วงความแข็งตัวและเวลาในการทดสอบ (P<0.05) ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่มความยาวของสารหน่วงความแข็งตัวที่ยาวกว่า (1.5 และ 2 เท่า) ที่เวลา 30 วินาที และไม่พบความแตกแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่มความยาวของสารหน่วงความแข็งตัว 0.5 และ 1.0 เท่า ที่เวลา60 วินาที กลุ่มที่มีสารหน่วงความแข็งตัวที่ยาวที่สุดมีความสูงของครีบมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญที่เวลา 90 วินาที(P<0.05)สรุปผล: สารหน่วงความแข็งตัวที่ยาวกว่า เวลาการไหลจะนานกว่า ดังนั้นสารหน่วงความแข็งตัวพอลิอีเทอร์สามารถปรับปรุงลักษณะการไหลของวัสดุพิมพ์พอลิอีเทอร์ได้ ในการประยุกต์ใช้ทางคลินิกนั้น สารหน่วงความแข็งตัวพอลิอีเทอร์สามารถนำมาใช้เพื่อยืดเวลาการไหลทำให้มีลักษณะการไหลของวัสดุพิมพ์พอลิอีเทอร์ดีขึ้นคำสำคัญ: พอลิอีเทอร์ สารหน่วงความแข็งตัว ลักษณะการไหล การทดสอบครีบฉลามDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
How to Cite
1.
เอี่ยมจิรกุล ณ. ผลของสารหน่วงการแข็งตัวต่อลักษณะการไหลของวัสดุพิมพ์ พอลิอีเทอร์. SWU Dent J. [Internet]. 2015 Dec. 24 [cited 2024 Dec. 22];8(2):11-8. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/6972
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น