การเปรียบเทียบลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาของเส้นใยคอลลาเจนในเนื้อเยื่อรอบตัวฟันกรามล่างซี่ที่สามคุดกับโอกาสในการเกิดเนื้องอกหรือถุงน้ำโดยใช้สีย้อมพิโครซิเรียสเรดร่วมกับกล้องจุลทรรศน์ชนิดโพลาไรซ์

Authors

  • ศิริวรรณ ส่งวัฒนา ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
  • สรสัณห์ รังสิยานนท์ ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
  • มานิสา ศรีชลเพ็ชร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

Abstract

บทคัดย่อ ปัจจุบันมีหลายการศึกษาที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อบริเวณฟันกรามล่างซี่ที่สามคุดกับการเกิดเป็นเนื้องอกและถุงน้ำที่มีต้นกำเนิดเกี่ยวข้องกับฟัน วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะทางคลินิกและลักษณะของเส้นใยคอลลาเจนในเนื้อเยื่อรอบตัวฟันกรามล่างซี่ที่สามคุดที่สัมพันธ์กับลักษณะของเส้นใยคอลลาเจนในเนื้อเยื่อยึดต่อของเนื้องอก และถุงน้ำที่มีต้นกำเนิดเกี่ยวข้องกับฟัน วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ เก็บข้อมูลส่วนบุคคลและลักษณะทางคลินิกของกลุ่มผู้ป่วยที่มีฟันกรามล่างซี่ที่สามคุดและเข้ามารับการรักษาที่ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 95 คน นำชิ้นเนื้อพาราฟินบล็อกจากการตัดเก็บเนื้อเยื่อรอบตัวฟันฝังคุดซี่ดังกล่าว จำนวน 95 ชิ้น โดยแบ่งชิ้นเนื้อจากพาราฟินบล็อกออกเป็น 2 กลุ่ม ตามลักษณะทางจุลพยาธิวิทยา  ได้แก่ กลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นถุงน้ำและกลุ่มที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นถุงน้ำ โดยกำหนดกลุ่มควบคุมบวกในการศึกษาครั้งนี้ คือ เนื้องอกอะมีโลบลาสโตมาและเคอราโตซิสติก โอดอนโตเจนิกทูเมอร์ จากนั้นนำชิ้นเนื้อจากพาราฟินบล็อกมาย้อมด้วยสีไพโครซิเรียสเรด และอ่านแปลผลภายใต้กล้องจุลทรรศน์ชนิดโพลาไรซ์ โดยจำแนกลักษณะสีสะท้อนของเส้นใยคอลลาเจนในเนื้อเยื่อ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ (1) ชิ้นเนื้อที่สะท้อนแสงโพลาไรซ์เป็นสีส้ม-แดง (2) สีเขียว-เหลือง และ (3) สีส้ม-แดงและสีเขียว-เหลืองในสัดส่วนที่เท่าๆ กัน ผลการศึกษา พบว่าเนื้อเยื่อในกลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นถุงน้ำ จะมีพื้นที่สะท้อนแสงโพลาไรซ์ออกมาเป็นสีเขียว-เหลือง และให้ผลเหมือนกับในกลุ่มควบคุมบวก ส่วนในกลุ่มที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นถุงน้ำนั้น จะมีพื้นที่สะท้อนแสงโพลาไรซ์ออกเป็นสีส้ม-แดง นอกจากนี้ยังพบว่าในกลุ่มเนื้อเยื่อที่เลือกมาศึกษาและมีการเปลี่ยนแปลงเป็นถุงน้ำนั้น พบมีความสัมพันธ์กับลักษณะทางคลินิกของฟันคุดและอาการที่เกี่ยวข้องกับฟันคุด ได้แก่ระดับความลึกของฟันคุดที่ความลึก B ลักษณะของเหงือกที่ปกคลุมฟันคุด ประวัติอาการปวดและบวมทั้งที่เคยมีประวัติหรือไม่มีประวัติอาการดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป  เส้นใยคอลลาเจนในเนื้อเยื่อรอบตัวฟันกรามล่างซี่ที่สามคุดในกลุ่มที่พบมีการเปลี่ยนแปลงเป็นถุงน้ำนั้น มีลักษณะการสะท้อนแสงโพลาไรซ์เหมือนกับเส้นในคอลลาเจนในเนื้อเยื่อยึดที่พบในเนื้องอกและถุงน้ำที่มีต้นกำเนิดเกี่ยวข้องกับฟัน ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดของการเกิดเป็นเนื้องอกหรือถุงน้ำของเนื้อเยื่อรอบตัวฟันกรามซี่ที่สามคุดกรณีที่พบการเปลี่ยนแปลงทางจุลพยาธิวิทยาเป็นถุงน้ำ คำสำคัญ: เนื้อเยื่อรอบตัวฟันกรามล่างซี่ที่สามคุด เส้นใยคอลลาเจน สีย้อมพิเศษไพโคซิเรียสเรด กล้องจุลทรรศน์ชนิดโพลาไรซ์

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ศิริวรรณ ส่งวัฒนา, ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

สรสัณห์ รังสิยานนท์, ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

รองศาสตราจารย์

มานิสา ศรีชลเพ็ชร์, ภาควิชาศัลยศาสตร์และเวชศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

อาจารย์

Downloads

How to Cite

1.
ส่งวัฒนา ศ, รังสิยานนท์ ส, ศรีชลเพ็ชร์ ม. การเปรียบเทียบลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาของเส้นใยคอลลาเจนในเนื้อเยื่อรอบตัวฟันกรามล่างซี่ที่สามคุดกับโอกาสในการเกิดเนื้องอกหรือถุงน้ำโดยใช้สีย้อมพิโครซิเรียสเรดร่วมกับกล้องจุลทรรศน์ชนิดโพลาไรซ์. SWU Dent J. [Internet]. 2015 Jun. 30 [cited 2024 Dec. 27];8(1):12-26. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/5418

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)