ผลของโฟโตไดนามิกเสริมการรักษาโรคปริทันต์อักเสบเรื้อรัง
Abstract
บทคัดย่อวัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลทางคลินิกและการเปลี่ยนแปลงปริมาณเชื้อก่อโรคปริทันต์ระหว่างการขูดหินนํ้าลายและเกลารากฟันร่วมกับโฟโตไดนามิกเทอราพีกับการขูดหินนํ้าลายและเกลารากฟันเพียงอย่างเดียววัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: อาสาสมัคร 25 คนเข้าร่วมการวิจัยซึ่งเป็นแบบแบ่งส่วนช่องปาก จับฉลากสุ่มเลือกตำแหน่งทดลองและควบคุมอย่างละ 25 ตำแหน่งซึ่งได้รับการขูดหินนํ้าลายและเกลารากฟันร่วมกับโฟโตไดนามิกเทอราพี และ การขูดหินนํ้าลายและเกลารากฟันอย่างเดียว บันทึกค่าความลึกของร่องลึกปริทันต์ค่าการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์และตำแหน่งจุดเลือดออกที่เริ่มต้น 1 เดือนและ 3 เดือน และติดตามการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเชื้อก่อโรคปริทันต์ที่เริ่มต้นและ 3 เดือน ด้วยวิธีเรียลไทม์พีซีอาร์ผลการศึกษา: ไม่พบความแตกต่างของปริมาณเชื้อก่อโรคปริทันต์, ค่าความลึกของร่องลึกปริทันต์และค่าการยึดเกาะของอวัยวะปริทันต์ระหว่างกลุ่มทดลองและควบคุมยกเว้นตำแหน่งจุดเลือดออกที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P=0.024สรุป: การใช้โฟโตไดนามิกเทอราพีร่วมกับการขูดหินนํ้าลายและเกลารากฟันลดตำแหน่งจุดเลือดออกลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ผลทางคลินิกและปริมาณเชื้อก่อโรคไม่แตกต่าง คำสำคัญ: โฟโตไดนามิกเทอราพี โรคปริทันต์อักเสบเรื้อรัง เรียลไทม์พีซีอาร์Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
How to Cite
1.
ชาญสุไชย พ, วงศ์สุรสิทธิ์ ท, ทวีบูรณ์ บ, ตีรณธนากุล ส. ผลของโฟโตไดนามิกเสริมการรักษาโรคปริทันต์อักเสบเรื้อรัง. SWU Dent J. [Internet]. 2014 Sep. 19 [cited 2024 Dec. 22];7(1):35-46. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/4602
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น