การไหลเวียนกระแสโลหิตในเหงือกที่อยู่รอบฟันเขี้ยวบนแท้ของมนุษย์ในระหว่างที่ถูกแรงดึงทางทันตกรรมจัดฟัน

Authors

  • พลพิทยา วรชาติ ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็กและทันตกรรมป้องกัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • กมลภัทร จรรยาประเสริฐ ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็กและทันตกรรมป้องกัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

Abstract

บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ : ของการศึกษานี้เพื่อศึกษาที่เกิดขึ้นต่อการไหลเวียนโลหิตบริเวณเหงือก (Gingival bloodflow, GBF) ของฟันเขี้ยวบนมนุษย์ เมื่อรับแรงทางทันตกรรมจัดฟันวัสดุอุปกรณ์และวิธีการ : โดยทำการศึกษาในฟันเขี้ยวบนจำนวน 31 ซี่จากผู้ป่วย 17 ราย ชาย 3 คนและหญิง 14 คน ช่วงอายุ 17 - 20 ปี ซึ่งมารับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันที่คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และต้องมีการถอนฟันกรามน้อยซี่ที่หนึ่งร่วมในการจัดฟันด้วย การวัดจะทำที่บริเวณเหงือกยึดด้านไกลกลางซึ่งเป็นด้านที่รับแรงกด (P) และด้านใกล้กลางซึ่งเป็นด้านที่รับแรงดึง (T) ของฟันเขี้ยวที่จะวัดโดยเครื่องวิเคราะห์การไหลเวียนของโลหิตด้วยเลเซอร์ (Laser Doppler Flowmetry) ในขณะทำการวัดจะปกคลุมบริเวณโดยรอบหัววัดด้วยแผ่นยางสีดำเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน การบันทึกค่ากระแสโลหิตจะทำตั้งแต่ก่อนรับแรงจากยางดึงฟัน และทันทีที่ใส่ยางดึงฟันโดยมีแรงเท่ากับ 300 กรัม ดึงจากฟันกรามมายังฟันเขี้ยวด้านเดียวกันจากนั้นทำการบันทึกผลต่อเนื่องในวันที่ 1 วันที่ 3 วันที่ 7 วันที่ 14 วันที่ 21 และวันที่ 28 โดยใช้ยางเส้นเดิมตั้งแต่วันแรกจนเสร็จการทดลองผลการศึกษา : ค่า GBF ด้านแรงกด (P0 = 226.380 ± 116.546, P1 = 254.612 ± 90.695,P3 = 190.306 ± 58.408, P7 = 214.851 ± 87.377, P14 = 189.9645 ± 63.379, P21 = 179.687 ± 75.886,P28 = 190.512 ± 60.229 P.U.) และด้านแรงดึง (T0 = 170.661 ± 69.999, T1 = 226.422 ± 84.279,T3 = 171.8935 ± 59.215, T7 = 193.338 ± 66.164, T14 = 184.248 ± 61.429, T21 = 175.606 ± 55.067,T28 = 175.525 ± 53.717 P.U.) ซึ่งพบว่ามีค่าเพิ่มขึ้นในวันแรก และลดลงใกล้เคียงค่าอ้างอิงในวันถัดไปอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05, One way RM ANOVA and Dunnett’s method) แรงของยางที่ใช้ในการดึงฟันจะลดลงจากวันแรกไปจนถึงวันสุดท้าย (เริ่มต้น = 300 กรัม วันที่ 1 = 190.8065 ± 40.1475 กรัม วันที่ 3 = 163.709± 33.440 กรัม วันที่ 7 = 145.9677 ± 32.3372 กรัม วันที่ 14 = 130.7742 ± 27.1461 กรัม วันที่ 21 =121.7742 ± 26.4117 กรัมและวันที่ 28 = 105.8065 ± 28.4925 กรัม P<0.05)สรุป : GBF มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในวันแรกๆแต่สามารถกลับมาใกล้เคียงปกติภายใน 28 วัน และGBF ทางด้านแรงกดจะมีค่ามากกว่าทางด้านแรงดึงตลอดระยะเวลาทดลอง แสดงให้เห็นว่าการอักเสบที่บริเวณเหงือกเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในวันแรกๆ ของการดึงฟันและการอักเสบทางด้านแรงกดจะมากกว่าด้านแรงดึง คำสำคัญ: ฟันเขี้ยว การไหลเวียนโลหิตบริเวณเหงือก ด้านที่รับแรงกด ด้านที่รับแรงดึง เครื่องวิเคราะห์การไหลเวียนของโลหิตด้วยเลเซอร์ แผ่นยางกันนํ้าลายสีดำ

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

พลพิทยา วรชาติ, ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็กและทันตกรรมป้องกัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นาวาโท

กมลภัทร จรรยาประเสริฐ, ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็กและทันตกรรมป้องกัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

Downloads

How to Cite

1.
วรชาติ พ, จรรยาประเสริฐ ก. การไหลเวียนกระแสโลหิตในเหงือกที่อยู่รอบฟันเขี้ยวบนแท้ของมนุษย์ในระหว่างที่ถูกแรงดึงทางทันตกรรมจัดฟัน. SWU Dent J. [Internet]. 2014 Sep. 19 [cited 2024 Sep. 27];7(1):24-3. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/4601

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)