การศึกษาองศาการเคลื่อนไหวของคอและหลังส่วนบนขณะทำงานของผู้ช่วยทันตแพทย์
Abstract
ผู้ช่วยทันตแพทย์เป็นวิชาชีพหนึ่งที่ลักษณะท่าทางในการทำงาน วิธีการทำงานและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก (Musculoskeletal disorders) วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาองศาการเคลื่อนไหวของคอและหลังส่วนบนขณะทำงานช่วยข้างเก้าอี้ของผู้ช่วยทันตแพทย์ วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยประชากรเป้าหมายในการศึกษาเป็นผู้ช่วยทันตแพทย์หญิง จำนวน 9 คน เก็บข้อมูลองศาการเคลื่อนไหวของคอและหลังส่วนบนทั้ง 2 แกนการเคลื่อนไหวคือแกนก้ม-เงย และแกนซ้าย-ขวา โดยใช้เซนเซอร์วัดความเอียง (accelerometer sensor) ทำการติดตัวรับสัญญาณของเครื่องมือวัดความเอียง ชนิด 2 แกน โดยติดตัวรับสัญญาณที่บริเวณกึ่งกลางศีรษะ และที่บริเวณหลังส่วนบน ประมาณกระดูกสันหลังส่วนอกชิ้นที่ 4 ของผู้ช่วยทันตแพทย์ผู้เข้าร่วมงานวิจัยขณะช่วยทำงานข้างเก้าอี้ทันตแพทย์ที่ให้การรักษาผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเหงือกอักเสบ โดยการขูดหินน้ำลายทั้งปากโดยใช้เครื่องอัลตราโซนิค บันทึกองศาการเคลื่อนไหวบริเวณคอและหลังส่วนบนตลอดการรักษาผู้ป่วย นำข้อมูลที่ได้จากเซนเซอร์วัดความเอียง ซึ่งเป็นองศาของความเอียงเมื่อเทียบกับแกนโลกที่เก็บต่อเนื่องทุกวินาที มาประเมินผลในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมควบคุมท่านั่งทำงาน และวิเคราะห์ผลทางสถิติ ผลการศึกษา: การทำงานช่วยข้างเก้าอี้ของผู้ช่วยทันตแพทย์ผู้เข้าร่วมการทดลอง มีการก้มคอโดยเฉลี่ยร้อยละ 29.65±16.83 ของระยะเวลาทำงานทั้งหมด มีการเอียงคอทางซ้ายโดยเฉลี่ยร้อยละ 88.88±7.77 ของระยะเวลาทำงานทั้งหมด มีการก้มหลังส่วนบนโดยเฉลี่ยร้อยละ 83.87±26.59 ของระยะเวลาทำงานทั้งหมด มีการเอียงลำตัวไปทางซ้ายโดยเฉลี่ยร้อยละ 50.44±37.31 และขวาร้อยละ 49.44± 37.35 ของระยะเวลาทำงานทั้งหมด ขณะทำงานช่วยตำแหน่งคอและหลังส่วนบนจะมีการเคลื่อนไหวสองแกนไปพร้อมๆกัน พบว่า โดยเฉลี่ยร้อยละ 90 ของระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ที่ตำแหน่งคอจะก้ม 10.53±6.32 องศา และเอียงศีรษะไปทางซ้าย 28.83±9.89 องศา ขณะเดียวกันที่ตำแหน่งหลังส่วนบนจะก้ม 24.74±9.74 องศา และเอียงลำตัวไปทางซ้าย 10.55±9.36 องศา สรุป: การศึกษานี้พบว่าท่าทางในการทำงานของผู้ช่วยทันตแพทย์โดยเฉลี่ยร้อยละ 90 ของระยะเวลาในการปฏิบัติงาน เป็นการก้มคอและเอียงศีรษะไปทางด้านซ้าย พร้อมกับที่ตำแหน่งหลังส่วนบนจะก้มและเอียงลำตัวไปทางซ้าย ท่าดังกล่าวทำให้เกิดความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อ แนวกระดูกสันหลังจะไม่สามารถช่วยพยุงน้ำหนักของศีรษะและลำตัวได้อย่างเหมาะสม คำสำคัญ : ผู้ช่วยทันตแพทย์, ความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก, เครื่องมือวัดความเอียงDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
How to Cite
1.
ธนธรวงศ์ พ, ฑีฆะพันธ์ จ, ตันไชย อ. การศึกษาองศาการเคลื่อนไหวของคอและหลังส่วนบนขณะทำงานของผู้ช่วยทันตแพทย์. SWU Dent J. [Internet]. 2014 Sep. 18 [cited 2024 Dec. 22];5(1):86-93. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/4540
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น