การศึกษาเปรียบเทียบตำแหน่งของศีรษะขณะทำงานของทันตแพทย์ที่มีอาการปวดและไม่มีอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงาน

Authors

  • พรสวรรค์ ธนธรวงศ์ ภาควิชาทันตกรรมทั่วไป คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ถนนสุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
  • เบญญาดา ธีระอัตถเวช ภาควิชาทันตกรรมทั่วไป คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ถนนสุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Abstract

วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาเปรียบเทียบตำแหน่งของศีรษะขณะทำงานของทันตแพทย์ที่มีอาการปวดและไม่มีอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงานในกลุ่มทันตแพทย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิธีการศึกษา: ประชากรเป้าหมายในการศึกษาเป็นทันตแพทย์ จำนวน 19 คน ออกแบบการศึกษาเป็น Cohort study ทันตแพทย์กลุ่มที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงาน จำนวน 9 คน กลุ่มที่ไม่มีอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงาน จำนวน 10 คน บันทึกข้อมูลตำแหน่งของศีรษะทั้ง 2 แกนการเคลื่อนไหวคือแกนก้ม-เงย และแกนซ้าย-ขวา หน่วยเป็นองศา โดยเครื่องมือวัดเสมือนจริง (Virtual Instrument)  ประกอบด้วย เซนเซอร์วัดความเอียง (Inclinometer sensor) การ์ดรับส่งสัญญาณผ่านคอมพิวเตอร์ (Data Acquisition) และโปรแกรม LabVIEW โดยติดเซนเซอร์อยู่ที่กึ่งกลางที่คาดผมที่คาดบนศีรษะของทันตแพทย์ผู้เข้าร่วมวิจัย ทางกลุ่มผู้วิจัยจัดหาอาสาสมัครที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเหงือกอักเสบ และมีความประสงค์จะรับการรักษาโรคเหงือกอักเสบโดยการขูดหินน้ำลาย ให้ทันตแพทย์ผู้เข้าร่วมงานวิจัยขูดหินน้ำลายทุกตำแหน่งในช่องปากของอาสาสมัคร โดยเครื่องขูดหินน้ำลายอัลตร้าโซนิก (ultrasonic scaler) บันทึกองศาการเคลื่อนไหวของตำแหน่งศีรษะตลอดการทำงาน จากนั้นนำข้อมูลมาประเมินผลและวิเคราะห์ผลทางสถิติ ผลการศึกษา: ค่าองศาการเคลื่อนไหวของการก้มศีรษะที่ควอไทด์ที่ 1, 2 และ 3 ของทันตแพทย์กลุ่มที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงาน เท่ากับ 51.3, 58.8 และ 61.6 องศาตามลำดับ ส่วนในกลุ่มที่ไม่มีอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงาน เท่ากับ 49.9, 56.7 และ 60.6 องศา ค่าองศาการเคลื่อนไหวของการเอียงศีรษะที่ควอไทด์ที่ 1, 2 และ 3 ของกลุ่มทันตแพทย์ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงาน เท่ากับ เอียงศีรษะทางซ้าย 3.1 ทางขวา 0.9 และ 5 องศาตามลำดับ ในกลุ่มที่ไม่มีอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงานค่าองศาการเคลื่อนไหวของการเอียงศีรษะทางขวาเท่ากับ 3.9, 5.1 และ 12.6 องศาตามลำดับ เมื่อทดสอบทางสถิติด้วย Mann-Whitney U Test พบว่าค่าองศาการเคลื่อนไหวของศีรษะของมุมก้ม-เงยและเอียงศีรษะขณะทำงานของทันตแพทย์ทั้ง 2 กลุ่ม ไม่แตกต่างกัน (p < 0.05) สรุปผลการศึกษา: ค่าองศาที่ได้จากการก้มและเอียงศีรษะของกลุ่มที่ไม่มีอาการปวดและกลุ่มที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงาน ทั้งสองกลุ่มมีค่าไม่แตกต่างกัน คำสำคัญ: Musculoskeletal disorders, Ergonomic, Inclinometer, Dentist

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

พรสวรรค์ ธนธรวงศ์, ภาควิชาทันตกรรมทั่วไป คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ถนนสุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

อาจารย์

เบญญาดา ธีระอัตถเวช, ภาควิชาทันตกรรมทั่วไป คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ถนนสุขุมวิท 23 คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

อาจารย์

Downloads

How to Cite

1.
ธนธรวงศ์ พ, ธีระอัตถเวช เ. การศึกษาเปรียบเทียบตำแหน่งของศีรษะขณะทำงานของทันตแพทย์ที่มีอาการปวดและไม่มีอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงาน. SWU Dent J. [Internet]. 2014 Sep. 18 [cited 2024 Dec. 22];5(1):65-76. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/4538

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)