ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางคลินิกและลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาของเนื้อเยื่อรอบ ฟันกรามล่างซี่ที่สามคุด
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางคลินิกที่เกี่ยวข้องกับฟันกรามล่างซี่ที่สามคุดและการเกิดพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อรอบตัวฟันซี่ดังกล่าว วิธีการศึกษาคือนำเนื้อเยื่อรอบตัวฟันกรามล่างซี่ที่สามคุดภายหลังการผ่าตัดฟันฝังคุดออก มาศึกษาด้วยลักษณะทาง จุลพยาธิวิทยาโดยแบ่งเป็นกลุ่มที่พบการอักเสบอย่างเดียวและกลุ่มที่มีพบการอักเสบร่วมกับพยาธิสภาพอื่น ตัวอย่างเช่น การเกิดเป็นถุงน้ำ หรือ พบการเกิดเนื้องอกที่มีต้นกำเนิดเกี่ยวข้องฟัน เป็นต้น ร่วมกับเก็บข้อมูลทางคลินิกของผู้ป่วยที่พบเกี่ยวข้องกับการมีฟันกรามล่างซี่ที่สามคุด โดยแบ่งข้อมูลทางคลินิกดังกล่าวเป็นกลุ่มที่ไม่ปรากฏอาการทางคลินิก กลุ่มที่มีการอักเสบเล็กน้อย และกลุ่มที่มีฝาเหงือกรอบฟันคุดอักเสบ ผลการศึกษาพบว่าจากชิ้นเนื้อทั้งหมดที่นำมาศึกษาจำนวน 74 ชิ้น เป็นกลุ่มที่ไม่ปรากฏอาการทางคลินิก ทั้งหมด 41 (55%)ชิ้น พบลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาเป็นแบบมีการอักเสบอย่างเดียว จำนวน 11 (26.83%) ชิ้น และเป็นแบบที่มีการอักเสบร่วมกับพยาธิสภาพอื่น จำนวน 30 (73.17%) ชิ้น ส่วนกลุ่มที่มีการอักเสบทางคลินิกเล็กน้อย มีทั้งหมด 30 (41%) ชิ้น พบลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาเป็นแบบมีการอักเสบอย่างเดียว จำนวน 6 (20%) ชิ้น และเป็นแบบที่มีการอักเสบร่วมกับพยาธิสภาพอื่น จำนวน 24 (80%) ชิ้น ในกลุ่มที่มีฝาเหงือกรอบฟันคุดอักเสบ มีทั้งหมด 3(4%) ชิ้น พบลักษณะเป็นแบบที่มีการอักเสบร่วมกับพยาธิสภาพอื่นทุกชิ้น (100%) นอกจากนี้ยังพบแนวโน้มที่สูงขึ้นในของลักษณะที่มีการอักเสบร่วมกับพยาธิสภาพอื่นในกรณีที่ผู้ป่วยเคยมีประวัติอาการปวดและ/หรือบวมที่สัมพันธ์กับการมีฟันคุดมาก่อน จากข้อมูลพบว่าในกลุ่มที่ไม่ปรากฏอาการทางคลินิกและมีการอักเสบร่วมกับพยาธิสภาพอื่นทั้งหมดจำนวน 30 ชิ้น พบว่าเป็นผู้ป่วยที่เคยมีอาการปวด 8 (26.67%)ราย และเคยบวม 2 (6.67%) ราย ส่วนในกลุ่มที่มีการอักเสบทางคลินิกเล็กน้อยและมีลักษณะการอักเสบร่วมกับพยาธิสภาพอื่น จำนวน 24 ชิ้น จะเคยแสดงอาการปวด 15 (62.50%) รายและบวม 9 (37.50%) ราย สำหรับในกลุ่มที่มีฝาเหงือกรอบฟันคุดอักเสบพบว่าผู้ป่วยเคยมีอาการปวดมาก่อนทุกราย สรุปผลการศึกษาในครั้งนี้ได้ว่า ลักษณะจุลพยาธิวิทยาที่ผิดปกตินั้น สามารถพบได้ทั้งในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการหรือไม่มีอาการทางคลินิก แต่จะพบแนวโน้มความผิดปกติทางจุลพยาธิวิทยาที่สูงขึ้นในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปวดและบวมที่มีสาเหตุจากฟันคุดมาก่อน โดยยังพบอีกว่าในกลุ่มผู้ป่วยที่มีเหงือกที่มีการอักเสบเล็กน้อยรวมกับอาการฝาเหงือกรอบฟันคุดอักเสบจะพบมีความสัมพันธ์อย่างสูงต่อการเกิดความผิดปกติทางจุลพยาธิวิทยา ดังนั้นการตรวจและซักประวัติทางคลินิกรวมทั้งการส่งตรวจชิ้นเนื้อเยื่อรอบฟันคุดเพื่อวิเคราะห์ด้วยลักษณะทางจุลพยาธิวิทยา จึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสนใจในการประเมินร่วมกับการรักษาฟันคุดให้กับผู้ป่วย คำสำคัญ : ลักษณะทางจุลพยาธิวิทยา อาการทางคลินิก ฟันกรามล่างซี่ที่สามคุดDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
How to Cite
1.
ส่งวัฒนา ศ, รังสิยานนท์ ส, กิตติ์เรืองพัชร ก. ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางคลินิกและลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาของเนื้อเยื่อรอบ ฟันกรามล่างซี่ที่สามคุด. SWU Dent J. [Internet]. 2014 Sep. 18 [cited 2025 Jan. 22];5(1):42-55. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/4536
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น