ฤทธิ์ต้านจุลชีพของสารสกัดหยาบจากใบพญาวานรต่อเชื้อก่อโรคทางทันตกรรม
Abstract
โรคฟันผุและโรคปริทันต์อักเสบยังคงเป็นโรคมีความชุกสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับโรคทางทันตกรรมอื่นๆ เชื้อที่มีบทบาทสำคัญต่อการก่อโรค ได้แก่ สเตร็ปโตคอคคัส มิวแทนส์ (Streptococcus mutans) แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus species) ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคฟันผุและ แอกกริเกทิแบกเทอร์ แอกทิโนไมซีเทมคอมิแทนส์ (Aggregatibacter actinomycetemcomitans) ซึ่งเป็นหนึ่งในเชื้อก่อโรคปริทันต์อักเสบ วิธีการหนึ่งที่ใช้สำหรับการรักษาโรคทั้งสองดังกล่าวคือการลดจำนวนเชื้อก่อโรคโดยการใช้สารเคมีหรือยา อย่างไรก็ดีเนื่องจากสารเคมีหรือยานั้นมีความเป็นพิษต่อเซลล์สูงกว่าเมื่อเทียบกับการใช้สารชีวภาพ เช่น สมุนไพร ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงสนใจที่จะทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อก่อโรคในช่องปากของสารสกัดหยาบจากสมุนไพรใบพญาวานร โดยใช้วิธีดิสดิฟฟิวชั่น (disc diffusion method) ซึ่งจากการทดลองแสดงผลการยับยั้งเชื้อ สเตร็ปโตคอคคัส มิวแทนส์ เมื่อทดสอบด้วยสารสกัดหยาบที่ความเข้มข้น 1:1 และเชื้อแลคโตบาซิลลัส ที่ความเข้มข้น 1:1, 1:10, 1:100, 1:1,000 และไม่พบผลของการยับยั้งเชื้อ แอกกริเกทิแบกเทอร์ แอกทิโน ไมซีเทมคอมิแทนส์ จากการศึกษาครั้งนี้จึงสรุปได้ว่า สารสกัดหยาบจากใบพญาวานรมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส มิวแทนส์ และเชื้อแลคโตบาซิลัส แต่ไม่พบผลในการยับยั้งเชื้อแอกกริเกทิแบกเทอร์ แอกทิโน ไมซีเทมคอมิแทนส์ คำสำคัญ: แอกกริเกทิแบกเทอร์ แอกทิโนไมซีเทมคอมิแทนส์, แลคโตบาซิลัส, พญาวานร, สเตร็ปโตคอคคัส มิวแทนส์Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
How to Cite
1.
จิ๋วพัฒนกุล ป, กวีวงศ์ประเสริฐ พ, ไพศาลก อบฤทธิ์ ว, วงศ์สุรสิทธิ์ ท. ฤทธิ์ต้านจุลชีพของสารสกัดหยาบจากใบพญาวานรต่อเชื้อก่อโรคทางทันตกรรม. SWU Dent J. [Internet]. 2014 Sep. 18 [cited 2025 Jan. 22];5(1):34-41. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/4535
Issue
Section
บทวิทยาการ (Original articles)
License
เจ้าของบทความต้องมอบลิขสิทธิ์ในการตีพิมพ์แก่วิทยาสาร โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรแนบมาพร้อมบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ ตามแบบฟอร์ม "The cover letter format" รวมทั้งต้องมีลายมือชื่อของผู้เขียนทุกท่านรับรองว่าบทความดังกล่าวส่งมาตีพิมพ์ที่วิทยาสารนี้แห่งเดียวเท่านั้น