การศึกษาทางคลินิกของการกำจัดคราบจุลินทรีย์และแผลเหงือกถลอกของขนแปรงสีฟันปลายเรียวเล็กทั้ง 2 ข้าง

Authors

  • ตามเสด็จ เกาศัลย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย
  • พัชรพล ทีฆอริยภาคย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย
  • ยสวิมล คูผาสุข ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปากและปริทันตวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย
  • วรุณี เกิดวงศ์บัณฑิต ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปากและปริทันตวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย

Abstract

การศึกษาทางคลินิกเพื่อประเมินประสิทธิภาพของการกำจัดคราบจุลินทรีย์ และการเกิดแผลเหงือกถลอกของแปรงสีฟันขนแปรงปลายเรียวเล็กทั้ง 2 ข้าง ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของขนแปรงต่างกัน (0.013 มม.สำหรับแปรงสีฟันทดสอบและ 0.015 มม.สำหรับแปรงสีฟันควบคุม) ศึกษาในอาสาสมัครจำนวน 19 คนอายุเฉลี่ย 20.12 ปี โดยแบ่งการศึกษาเป็นสองรอบ แบ่งกลุ่มอาสาสมัครออกเป็นสองกลุ่มโดยการสุ่มเพื่อให้แปรงสีฟันทดสอบหรือควบคุม ก่อนการศึกษาในแต่ละรอบให้ขูดหินน้ำลายและขัดฟันจนสะอาด ให้อาสาสมัครงดการทำความสะอาดในช่องปากทุกชนิด รวมถึงการแปรงฟัน การใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดช่องปากอื่นๆ และน้ำยาบ้วนปากเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ก่อนการศึกษา ย้อมฟันและเหงือกด้วยสีย้อมมิรา-ทู-ทัน บันทึกค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์และการเกิดแผลเหงือกถลอกก่อนและหลังการแปรงฟัน ด้วยแปรงสีฟันที่สุ่มให้และวิธีโมดิฟายด์บาสนาน 2 นาที เว้นระยะ 2 สัปดาห์ ทำเช่นเดียวกันนี้โดยใช้แปรงสีฟันคนละชนิดกับที่ได้รับครั้งแรก ผลการศึกษาด้วยดับเบิ้ลบลายด์แรนดอมไมซ์แบบไขว้กัน พบค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์เมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังแปรงฟันของแปรงสีฟันทั้ง 2 ชนิด มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างแปรงสีฟันทดสอบและแปรงสีฟันควบคุม เมื่อศึกษาเฉพาะบริเวณพบว่าแปรงสีฟันทดสอบขนปลายเรียวเล็กทั้ง 2 ข้างขนาด 0.013 มม. มีประสิทธิภาพในการกำจัดคราบจุลินทรีย์น้อยกว่าแปรงสีฟันควบคุมขนปลายเรียวเล็กทั้ง 2 ข้างขนาด 0.015 มม. อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และไม่พบการเกิดแผลเหงือกถลอกจากการใช้แปรงสีฟันทั้ง 2 ชนิด เส้นผ่านศูนย์กลางของขนแปรงสีฟันปลายเรียวเล็กทั้ง 2 ข้างที่ลดลงจาก 0.015 มม. เป็น 0.013 มม. ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพในการกำจัดคราบจุลินทรีย์และไม่ก่อให้เกิดแผลเหงือกถลอก แปรงสีฟันทั้ง 2 ชนิด มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการกำจัดคราบจุลินทรีย์เหนือเหงือก คำสำคัญ: คราบจุลินทรีย์, แผลเหงือกถลอก, สุขอนามัยในช่องปาก, การแปรงฟัน, แปรงสีฟัน

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ยสวิมล คูผาสุข, ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปากและปริทันตวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

วรุณี เกิดวงศ์บัณฑิต, ภาควิชาเวชศาสตร์ช่องปากและปริทันตวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย

รองศาสตราจารย์

Downloads

How to Cite

1.
เกาศัลย์ ต, ทีฆอริยภาคย์ พ, คูผาสุข ย, เกิดวงศ์บัณฑิต ว. การศึกษาทางคลินิกของการกำจัดคราบจุลินทรีย์และแผลเหงือกถลอกของขนแปรงสีฟันปลายเรียวเล็กทั้ง 2 ข้าง. SWU Dent J. [Internet]. 2014 Sep. 18 [cited 2024 Dec. 22];5(1):12-23. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/4533

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)