ผลของเอชเอ็มจีบี1และไลโปโพลีแซคคาไรด์ของพอร์ไฟโรโมแนส จินจิวาลิสต่อการหลั่งเอ็มเอ็มพี-1 ในเซลล์สร้างเส้นใยเหงือกและเอ็นยึดปริทันต์มนุษย์

Authors

  • ประพัฒน์ ประเดิมดุษฎีพร คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • ดวงพร ศรีสุภาพ ภาควิชาโอษฐ์วิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • นิรดา ธเนศวร ภาควิชาโอษฐ์วิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
  • ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

Abstract

เอชเอ็มจีบี1 ถูกพบครั้งแรกเป็นโปรตีนในนิวเคลียส ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมการแสดงออกของแมสเซนเจอร์อาร์เอ็นเอเอชเอ็มจีบี1 เมื่อถูกหลั่งออกภายนอกเซลล์จะทำหน้าที่เสมือนไซโตไคน์ ถูกพบในน้ำเหลืองเหงือกและเนื้อเยื่อปริทันต์ของผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบ มีการแสดงออกของยีนและการหลั่งเอชเอ็มจีบี1 หลังกระตุ้นเซลล์สร้างเส้นใยเหงือกและเอ็นยึดปริทันต์ด้วยไลโปโพลีแซคคาไรด์ของพอร์ไฟโรโมแนส จินจิวาลิส การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของเอชเอ็มจีบี1 ต่อการเกิดพยาธิสภาพของโรคปริทันต์ โดยศึกษาผลการกระตุ้นเซลล์สร้างเส้นใยเหงือกและเอ็นยึดปริทันต์ในการหลั่งเอ็มเอ็มพี-1 ด้วยเอชเอ็มจีบี1 ร่วมกับไลโปโพลีแซคคาไรด์ของพอร์ไฟโรโมแนส จินจิวาลิส เปรียบเทียบกับกระตุ้นด้วย เอชเอ็มจีบี1 หรือไลโปโพลีแซคคาไรด์ของพอร์ไฟโรโมแนส จินจิวาลิสเพียงอย่างเดียว โดยเพาะเลี้ยงเซลล์ทั้งสองชนิดจากเนื้อเยื่อของฟันที่ไม่แสดงรอยโรคของการอักเสบจากผู้ป่วย 2 ราย กระตุ้นเซลล์ทั้งสองชนิดด้วยเอชเอ็มจีบี1 ร่วมกับไลโปโพลีแซคคาไรด์ของพอร์ไฟโรโมแนส จินจิวาลิส หรือเอชเอ็มจีบี1 หรือไลโปโพลีแซคคาไรด์ของพอร์ไฟโรโมแนส จินจิวาลิส โดยมีสภาวะไม่ได้กระตุ้นเป็นกลุ่มควบคุมลบ ภายหลังการกระตุ้น 48 ชั่วโมงนำอาหารเลี้ยงเชื้อมาตรวจหาปริมาณเอ็มเอ็มพี-1 ด้วยวิธีอีไลซา และตรวจสอบการแสดงออกของแมสเซนเจอร์อาร์เอ็นเอ ด้วยวิธีเรียลไทม์ รีเวอร์สทรานสคริปเทส-พีซีอาร์ที่ 4 ชั่วโมง วิเคราะห์ความแตกต่างทางสถิติของความเข้มข้นเอ็มเอ็มพี-1 ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและเปรียบเทียบรายคู่ด้วยสถิติแบบทีและวิเคราะห์การแสดงออกของแมสเซนเจอร์อาร์เอ็นเอด้วยสถิติเชิงพรรณา จากการทดลองพบว่าเซลล์ทั้งสองชนิดมีการหลั่งเอ็มเอ็มพี-1 ในกลุ่มที่ได้รับการกระตุ้นด้วยสารทั้งสองชนิดร่วมกันมากกว่ากลุ่มอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01) และเซลล์สร้างเส้นใยเอ็นยึดปริทันต์มีการแสดงออกของแมสเซนเจอร์อาร์เอ็นเอเมื่อได้รับการกระตุ้นด้วยเอชเอ็มจีบี1 ร่วมกับไลโปโพลีแซคคาไรด์ของพอร์ไฟโรโมแนส จินจิวาลิสหรือกระตุ้นด้วยสารอย่างใดอย่างหนึ่งมากกว่ากลุ่มควบคุม การศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าการกระตุ้นเซลล์สร้างเส้นใยเหงือกและเอ็นยึดปริทันต์ด้วยเอชเอ็มจีบี1 ร่วมกับไลโปโพลีแซคคาไรด์ของพอร์ไฟโรโมแนส จินจิวาลิสสามารถเพิ่มการหลั่งเอ็มเอ็มพี-1 มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ 48 ชั่วโมงหลังการกระตุ้น คำสำคัญ : เอชเอ็มจีบี1 โรคปริทันต์อักเสบ เซลล์สร้างเส้นใยของเหงือกมนุษย์ เซลล์สร้างเส้นใยของเอ็นยึดปริทันต์มนุษย์ เอ็มเอ็มพี-1

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ประพัฒน์ ประเดิมดุษฎีพร, คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

นิสิตหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต เอกปริทันตวิทยา ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์

ดวงพร ศรีสุภาพ, ภาควิชาโอษฐ์วิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

อาจารย์ ภาควิชาโอษฐ์วิทยา

นิรดา ธเนศวร, ภาควิชาโอษฐ์วิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาโอษฐ์วิทยา

ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน, ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

รองศาสตราจารย์ ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์และทันตกรรมประดิษฐ์

Downloads

How to Cite

1.
ประเดิมดุษฎีพร ป, ศรีสุภาพ ด, ธเนศวร น, เหล่าศรีสิน ณ. ผลของเอชเอ็มจีบี1และไลโปโพลีแซคคาไรด์ของพอร์ไฟโรโมแนส จินจิวาลิสต่อการหลั่งเอ็มเอ็มพี-1 ในเซลล์สร้างเส้นใยเหงือกและเอ็นยึดปริทันต์มนุษย์. SWU Dent J. [Internet]. 2014 Sep. 18 [cited 2024 Dec. 22];4(1):40-51. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/4528

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)