ผลต่อการดูดซับฟลูออไรด์ในผิวเคลือบฟันปกติและผิวฟันที่จำลองสภาวะฟันผุภายหลังจากการใช้โซเดียมฟลูออไรด์เจลของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Authors

  • ณัฐวุธ แก้วสุทธา ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็กและทันตกรรมป้องกัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ
  • สถาพร นิ่มกุลรัตน์ สาขาวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 63 ถ.รังสิต-นครนายก อ.องครักษ์ นครนายก

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างในการถูกดูดซับฟลูออไรด์ในผิวเคลือบฟัน ภายหลังจากการใช้โซเดียมฟลูออไรด์เจลที่ผลิตจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒที่ความเข้มข้นร้อยละ 1.1และร้อยละ 2.0  ในผิวเคลือบฟันปกติ และผิวเคลือบฟันที่จำลองสภาวะฟันผุ โดยเป็นการศึกษาในห้องปฏิบัติการโดยคัดเลือกฟันกรามแท้ของมนุษย์ที่ไม่มีรอยผุจำนวน 20 ซี่ มาเป็นตัวอย่างในการทดสอบ  แบ่งฟันเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ซี่ โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย คือ กลุ่มที่บริเวณผิวเคลือบฟันปกติ และกลุ่มผิวเคลือบฟันมีการจำลองสภาวะฟันผุ ฟันในแต่ละกลุ่มจะถูกทดสอบด้วยโซเดียมฟลูออไรด์เจล ความเข้มข้นร้อยละ 1.1 และร้อยละ 2.0 เป็นเวลา 4 นาที จากนั้นจะนำฟันตัวอย่างมาทดสอบการดูดซับฟลูออไรด์ด้วยวิธีเอซิดเอ็ซ-ไบออฟซี ทำการวัดปริมาณความเข้มข้นของฟลูออไรด์และมวลแคลเซียมด้วยเครื่องวิเคราะห์อิออนในสารละลาย และเครื่องสเปคโทรโฟโตมิเตอร์ชนิดวัดการดูดซับอะตอม บันทึกค่าความเข้มข้นของฟลูออไรด์และการดูดซับฟลูออไรด์ที่ผิวเคลือบฟัน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ  และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยการทดสอบแบบทูกีย์ (Tukey HSD) และการทดสอบที (t-test) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษาพบว่า ค่าความเข้มข้นของฟลูออไรด์ในผิวเคลือบฟัน หลังการทดสอบด้วยโซเดียมฟลูออไรด์ทั้งความเข้มข้นร้อยละ 1.1 และ ร้อยละ 2.0 ทั้งในผิวเคลือบฟันปกติและผิวฟันที่จำลองสภาวะฟันผุ มีค่าสูงขึ้นและแตกต่างจากความเข้มข้นของฟลูออไรด์เบื้องต้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) นอกจากนี้ พบว่า การใช้โซเดียมฟลูออไรด์เจลที่มีความเข้มข้นร้อยละ 2 นั้น ทำให้เกิดการดูดซับฟลูออไรด์ในผิวเคลือบฟันสูงกว่า โซเดียมฟลูออไรด์เจลความเข้มข้นร้อยละ 1.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และการดูดซับฟลูออไรด์ในผิวเคลือบฟันที่มีการจำลองสภาวะฟันผุมีค่าสูงกว่าผิวฟันปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.001) คำสำคัญ:โซเดียมฟลูออไรด์, การดูดซับฟลูออไรด์, การทดสอบเอซิดเอ็ช-ไบออฟซี

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ณัฐวุธ แก้วสุทธา, ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็กและทันตกรรมป้องกัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สุขุมวิท 23 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ

ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็กและทันตกรรมป้องกัน

สถาพร นิ่มกุลรัตน์, สาขาวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 63 ถ.รังสิต-นครนายก อ.องครักษ์ นครนายก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์  สาขาวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม

Downloads

How to Cite

1.
แก้วสุทธา ณ, นิ่มกุลรัตน์ ส. ผลต่อการดูดซับฟลูออไรด์ในผิวเคลือบฟันปกติและผิวฟันที่จำลองสภาวะฟันผุภายหลังจากการใช้โซเดียมฟลูออไรด์เจลของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. SWU Dent J. [Internet]. 2014 Sep. 18 [cited 2025 Jan. 22];4(1):28-39. Available from: https://ejournals.swu.ac.th/index.php/swudentj/article/view/4527

Issue

Section

บทวิทยาการ (Original articles)